การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เขตสาธารณสุขที่ 14 (นครชัยบุรินทร์)


สรุปรายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 

โครงการ  พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 

และภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เขตสาธารณสุขที่ 14 (นครชัยบุรินทร์)

(เขต 14 นครชัยบุรินทร์ คือ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.บุรีรัมย์  และ จ.สุรินทร์)

วันที่ 2-4 พฤษภาคม 2554   ณ. โรงแรมสบายโฮเทล  จ.นครราชสีมา

  • ผู้เข้าร่วมประชุม    จากในพื้นที่สาธารณสุขเขต 14 นครชัยบุรินทร์
    • บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.)ใน 3 จังหวัดๆ ละ 2 แห่ง รวม 6 แห่ง
    • บุคลากรที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. ในเขตอำเภอเดียวกับ 6 รพช. ข้างต้น รวม 24 แห่ง  
    • บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั้ง 3 จังหวัด รวม 34 คน

         (ขาด จ.สุรินทร์เพราะมีความไม่สงบชายแดนห้ามเจ้าหน้าที่ออกนอกพื้นที่)                                     

  • บุคลากรศูนย์อนามัยที่ 5 ที่รับผิชอบโครงการวิจัยฯ และประเมินรับรองมาตรฐาน  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ HPH plus รวม 12 คน

รวมทั้งหมดประมาณ 46 คน เป็น ส่วนหนึ่งของ แกนนำเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เขตสาธารณสุขที่ 14 (นครชัยบุรินทร์)

สรุปการกล่าวรายงาน และเปิดงาน      โดย  นางจารุวรรณ  จงวนิช และ นายแพทย์อมร แก้วใส
    • ชี้แจงวัตถุประสงค์ และความสำคัญ ของโครงการฯ  กำหนดการ และกิจกรรมต่างๆ   ในการประชุมสัมมนา
    • ความสำคัญ ความสำเร็จ ของการส่งเสริมสุขภาพของประเทศในทุกระดับสถานบริการเสริมกับการรักษา ป้องกัน และฟึ้นฟูสุขภาพ
    • นโยบาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่จะเน้นการส่งเสริมสุขภาพเป็นหลัก จะเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะโรงพยาบาลระดับอำเภอและระดับจังหวัด
    • การประเมินรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ( HPH ) ในโรงพยาบาลระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ครบทุกแห่งเป็นการเรียนรู้ การส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญ ที่จะเชื่อมโยงถึงการส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็น ภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เขตสาธารณสุขที่ 14 (นครชัยบุรินทร์)
    • ความหมายของ Health Promotion, การส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย, Health Promoting Hospital, Ottawa Charter to Bangkok Charter for Health Promotion.

การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เขตสาธารณสุขที่ 14 เป็นเรื่องสำคัญหลักในการประชุมสัมมนาครั้งนี้

  • สรุปคำบรรยายเรื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จากนโยบายสู่การปฏิบัติ

                 โดย   เภสัชกร สุรัติ  ฉัตรไชยาฤกษ์     ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข   

  • การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การเมือง โครงสร้างของประชากร การประกันสุขภาพ  พฤติกรรมสุขภาพ  และการรับบริการที่เปลี่ยนไป มีผลต่อ ระบบบริการสุขภาพอย่างมาก และเชื่อมโยงกัน
  • การยกระดับ สอ. 9,762 แห่งเป็นรพ.สต.เป็นจุดเปลี่ยน ระบบสาธารณสุขครั้งสำคัญ ที่จะพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย     การเปลี่ยนแปลง   สอ. เป็น รพ.สต.  อาจต้องใช้เวลานานเหมือน เปลี่ยนศูนย์การแพทย์และอนามัยเป็นรพ.ชุมชนในอดีต
  • ควรเอางานเป็นที่ตั้ง มากกว่าคิดว่า รพ.สต.เป็นของใคร ต่อไปนี้ไม่มีสถานีอนามัยแล้ว มีแต่ รพ.สต. แม้การเมืองจะเปลี่ยนแปลงเพราะดำเนินการทางนโยบายเป็นทางการไปมากแล้ว การเปลี่ยนป้ายเป็นเพียงก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลง
  • โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็ง  นับว่าเป็นปัญหามากขึ้น แม้เราทำได้ดีขึ้นในการคัดกรอง  แต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทำอย่างไรให้ผู้ป่วย มา รพ.ใหญ่น้อยลง ไปรพ.สต. มากขึ้น  เพื่อลดค่าใช้จ่าย  และ พุดคุยเข้าใจโรคได้มากขึ้น มีกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากขึ้น ทั้งใน รพ.สต. และในชุมชน
  • การส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มเป้าหมายหลัก คือกลุ่มแม่และเด็กวัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง และกลุ่มสถานที่เช่น ครัวเรือน โรงงาน โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก เป็นต้น อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศ
  • รพ.สต.  มีรั้วตำบลเป็น รั้วของโรงพยาบาล เตียงที่บ้านผู้ป่วย คือเตียงของโรงพยาบาล มีทีมสหวิชาชีพต่างๆ  เช่นพยาบาลวิชาชีพ  หรือพยาบาลเวชปฏิบัติ  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทันตภิบาล นักกายภาพ ร่วมดูแลสุขภาพคนในตำบล โดยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน  
  •     เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค  คือยกระดับสุขภาพให้ดีขึ้น เช่น   ทำให้เกิดการออกกำลังกาย การเลือกกินอาหารที่ไม่ทำลายสุขภาพ   มีความเชื่อมโยงถึง ระบบบริการสุขภาพกับโรงพยาบาลชุมชน และทุกภาคส่วน
  •    การทำงาน ของ รพ.สต.จะผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ รพ.สต. มีองค์ประกอบกรรมการบริหาร รพ.สต. 3 ส่วนคือ ฝ่ายท้องถิ่น ฝ่ายชุมชนและฝ่ายเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นเลขานุการ ไม่ใช่ รพช. ย่อส่วน
  • ควรมีรูปแบบดำเนินการที่ดี  ด้านบริหารจัดการ  กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม  ความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย การจัดบริการสุขภาพ โดยเฉพาะด้าน การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค   ระบบการส่งต่อ โครงสร้างพื้นฐาน ด้านอาคารสถานที่  สาธารณูปโภค ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ Video Conference
  สรุปคำบรรยาย แนวคิดการพัฒนางานสาธารณสุขยุคใหม่
โดย นายแพทย์วินัย  วิริยะกิจจา    อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • กล่าวให้กำลังใจ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ให้มีความสุข กับการทำงานให้ดีขึ้น โดยอยู่กับชาวบ้านอย่างมีความสุข โดยแข่งขันกับตัวเอง ยึดถือความถูกต้องตามบริบทท้องถิ่นและใช้ทางสายกลาง ควรตามสังคมให้ทันเช่น ตามเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้
  • สุขกับการเป็นลูกน้อง และหัวหน้าที่ดี ไม่ควรไปกังวลอดีต หรืออนาคตมาก ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด มีการเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้สังคม และเรียนรู้วิชาการ ชีวิตจะมีค่าจากการทำงาน  และเล่าประสบการณ์การทำงานสาธารณสุขในอดีต

 

  • สรุปการอภิปรายหมู่มุมมองการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

-     โดยประธานชมรมผู้อำนวยการ รพ.สต.  เขต 14       

       นางปราณี   ประไพวัชรพันธ์  ผู้อำนวยการ รพ.สต. นาราก   อ.  ครบุรี  จ.นครราชสีมา 

 

  • รู้สึกดีที่มีคำว่า ส่งเสริมสุขภาพ ใน รพ.สต.เพื่อบรรจบกับงานซ่อมสุขภาพ  ตามนโยบาย ที่ให้คุณค่าต่อสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนเป็นอย่างมาก
  •  การยกระดับคุณภาพได้โดย หลักบริหารและวิชาการมาสนับสนุน โดยรู้จักและเข้าใจ โดย ทบทวนเนื้อหาความรู้เดิม เกณฑ์มาตรฐานต่างๆ แนวทางของ สปสช.และหลักการคุณภาพ เทียบกับที่อื่น นำมาสร้างคุณค่าร่วมกับเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน โดยใช้หลัก  Ottawa Charter
  • เมื่อถามชาวบ้านในชุมชนเรื่องสุขภาพ ตอบว่าความพอดีกันของคนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราคือสุขภาพ เมื่อเข้าใจกันดีจึงออกแบบงานตามกลุ่มอายุ โดยศึกษาจากหน่วยงานวิชาการต่างๆ  รวมเป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการให้ประชาชน  
  • ออกแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชน เพื่อประชาชนดูแลตนเองได้สุขภาพดี ได้ออกแบบงานหลายอย่าง และมีการทบทวนงานเป็นระยะๆ เป็นระบบไป และวางเป็นแนวทางให้ทุกคนปฏิบัติโดยร่วมมือกับทางรพช. มีแนวทางการนำร่องการส่งเสริมสุขภาพระดับครอบครัว ที่เชื่อมกับ Family folder

-          โดยประธานชมรมสาธารณสุขอำเภอ  เขต 14                       

     นายวัชรา   เชวงกูล   สาธารณสุขอำเภอปากช่อง  จ.นครราชสีมา

  • ความก้าวหน้าของ ผอก.รพ.สต.จะเป็นระดับ 8 ซึ่งจะมาจากนักวิชาการ  สาธารณสุขอำเภอจะได้ระดับ 8 ความภูมิใจในอดีตงานหมออนามัยเช่นส้วม100 % โรคฝีดาษ พยาธิบางอย่างหมดไป นโยบายปัจจุบัน 4 มิติคือ รักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และมีนโยบายงานใหม่ คืองานคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายซึ่งจะยาก
  • การส่งเสริมสุขภาพ  มีกลยุทธ์ของ Ottawa  คือการชี้นำ  การเพิ่มขีดความสามารถ และการไกล่เกลี่ยเช่นโรงงานกับสุขภาพ ไม่เพียงกลุ่มวัยเท่านั้นควรจะเป็นทั้งชุมชนที่เกี่ยวข้องควรมีนโยบายสาธารณะ  และอปท. มีส่วนร่วม มีการดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อมต่างๆตามสถานที่สาธารณะ  เช่น บ้าน วัด โรงเรียน  ตลาด ปั้มน้ำมัน สถานที่ท่องเที่ยวเป็นต้น
  • การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาพตนเองตามคำจำกัดความการส่งเสริมสุภาพ เช่น กรรมการต่างๆ ให้มีนโยบายสาธารณะที่ชัดเจน ด้านส่งเสริมสุขภาพ จัดการกับปัญหาตนเองได้ วัดได้ มีคุณภาพ วางแผนดำเนินการได้ ก็จะทำงานส่งเสริมสุขภาพได้ผลดี
  • ปรับบทบาทเจ้าหน้าที่ ให้มีสำนึกด้านการส่งเสริมสุขภาพ มากกว่าการรักษาตั้งรับ ปัจจุบันงานรักษามีมากขึ้นทุกแห่ง การเยี่ยม Home ward ยังไม่ได้เงินจาก สปสช. แต่รพช.ได้แล้ว
  • การพัฒนาคนให้มีทักษะต่อชีวิตดี เช่นติดเหล้า การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ การลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกาย ไม่เสี่ยง เจ้าหน้าที่จัดการกับความเครียดได้

-          โดยผอก. รพ.ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ   นายแพทย์ประทีป  เมฆประสาน   

  • บทบาทรพช.ต้องสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงให้ รพ.สต. โดยสลายขั้ว รพช. และสสอ.ให้ได้ก่อนเป็นเชิงหน้าที่ สนับสนุนในเรื่อง คน เงิน ของ สถานที่ และทิศทางการทำงาน งานรักษาทำให้ชาวบ้านเห็นผลเร็ว เป็นเรื่องที่เราจัดให้ ถ้าดีจะได้รับความไว้ใจเพื่อความร่วมมือทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพได้ ที่ชาวบ้านต้องทำเอง รพช.เป็นผู้สนับสนุนความรู้
  • การปรับปรุงอาคาร จะเห็นผลได้ชัดและรวดเร็ว ในความรู้สึกของชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ควรดีกว่าที่บ้านจึงน่าเชื่อถือ ให้เจ้าหน้าที่เห็นความก้าวหน้า  และมีค่าตอบแทนที่ ใกล้เคียงกับโรงพยาบาลชุมชน ยาก็ควรเหมือนกัน
  • ด้านส่งเสริมสุขภาพ อาศัยความร่วมมือจากคนในพื้นที่ทุกภาคส่วน  จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนเอง   และ อบต.มีแผนของตำบล โดยร่วมคิดหาวิธีการเอง เจ้าหน้าที่เป็นผู้แนะนำทางวิชาการ เพราะ อบต.ต้องดูแลประชาชนโดยหน้าที่อยู่แล้ว
  • การบริหารจัดการด้าน IT รวมทั้งอำเภอ ในงานบริการข้อมูลสาธารณสุขและด้านการเงินการบัญชี การพัสดุ เพื่อลดงาน ของจนท. รพ.สต. ให้สะดวกและมีเวลาทำงานด้านคุณภาพบริการสร้างนำซ่อมได้ดีขึ้น

-          โดย รศ.ดร. นายแพทย์องอาจ  วิพุธศิริ    

  • รพช. เป็นพี่เลี้ยงอย่างจริงจัง ที่สำคัญมาก คือ  ON THE JOB TRAINNING   ของเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต.ในด้านเทคนิคที่ใช้ความรู้ทางสุภาพมาก อาจต้องมีหลักสูตรเฉพาะในอนาคต
  •  รพ.สต.เป็นงานหนักมาก จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำจน    เกิดเป็นแผนที่เห็นชอบร่วมกันในผู้เกี่ยวข้อง ให้เป็นเรื่องเดียวกับ COMMUNITY DIAGNOSIS
  • การส่งเสริมสุขภาพแบ่งตามกลุ่มอายุ อะไรต้องทำก่อน อะไรทำทีหลัง หรือพร้อมกัน  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเช่น การกินอาหารและการออกกำลังกายให้ถูกต้อง เป็นเรื่องหลักในการควบคุมโรคเรื้อรังที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ขึ้น มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นในทุกแห่ง จะมีแผนในชุมชนอย่างไร จะวัดผลอย่างไร
  •  สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยวันที่ 2 พค. 54 รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่พึงประสงค์ เขตสาธารณสุขที่14” นครชัยบุรินทร์ 
  • o      การบริหารจัดการ เจ้าหน้าที่ไม่พอควรมีตามเกณฑ์ สมควรส่งคนในพื้นที่ไปเรียน ภูมิทัศน์ยังไม่สวยงามไม่สะดวกบริการ ควรปรับปรุง มีหัวหน้าหลายคน คือ สสอ. นายอำเภอ  และ ผอก.รพช. อาจสับสนบทบาท  ไม่คล่องตัวในการใช้เงิน และไม่เพียงพอ  ตัวชี้วัดที่กำหนดมาบางส่วนไม่สอดคล้องกับ   ที่ประชาชนและพื้นที่ต้องการ ควรให้มีรถประจำทุกแห่ง

    o      การบริการรักษา  ผู้รับบริการมาก ยังขาดทั้งเจ้าหน้าที่และความรู้   ควรให้มีแพทย์ มาตรวจทุกสัปดาห์ ควรมีการร่วมกำหนดมาตรฐานการรักษาโรคที่พบบ่อย ให้เหมือนกันและเชื่อมกับทีมงานทาง รพช.

    o      การบริการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย  ยังไม่ครอบคลุม มีบางแห่งแตกต่างกัน ในส่วน แม่และเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน วัยสูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส แบ่งเป็น  กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย จะขาดวัยทำงาน  

    o      ด้านวิชาการ ขาดการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ขาดความรู้ทาง IT ควรมีประชุมวิชาการ กับ รพช. สัปดาห์ละ1วัน ควรเพิ่มกรอบเวชภัณฑ์ ให้โทรปรึกษาแพทย์ได้สะดวก

    o      การประสานเครือข่ายและการส่งต่อ   ยังไม่สะดวก ยังขาดรถ EMS  และมีความล่าช้า  ควรเร็วกว่าเดิม ควรลดขั้นตอนการติดต่อประสานงานเครือข่าย และการส่งต่อ

    • สรุปการศึกษาดูงาน  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน จ. พิจิตร
    • ฟังบรรยายการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ตามมาตรฐาน TQA จนได้รับรางวัลระดับ TQCและนำมาบูรณาการงานคุณภาพอื่นๆได้ เช่น HA PMQA HPH  มีความซับซ้อนมาก เหมาะกับผู้แทนโรงพยาบาลที่คิดว่าจะรับการประเมิน TQA ต่อไป ได้เรียนรู้แนวคิด และลักษณะงานบริการของโรงพยาบาลที่เป็นแบบอย่าง
    • ฟังบรรยายแนวทางการดำเนินงานของ รพ.สต.วังหว้า  ซึ่งใช้ กระบวนการ PCA  (Primary Care Award)  เป็นแนวดำเนินการร่วมกับ การทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์  ทำความเข้าใจ และ ปรับให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน มีคณะกรรมการสุขภาพระดับตำบล จัดแบ่งชุมชนเป็น 74 คุ้ม และอีก 11กลุ่ม อสม.ตามภารกิจ มีแผนงานตามกลุ่มวัยและภารกิจ 7 กลุ่ม  การประเมินผลพบว่า ในตอนแรกยังขาดความเป็นเจ้าของโดยชุมชนบ้างก่อนจะได้เกิดร่วมคิดอย่างแท้จริง   พบว่าเมื่อเป็นรพ.สต.แล้ว งานซ่อมมีมากขึ้น งานสร้าง ก็ต้องทำมากขึ้น งานซ่อมที่ดี  จะสนับสนุนงานสร้างที่ดีได้ง่ายขึ้น มีข้อสังเกตคือ    โรคจากพฤติกรรมบางอย่าง น่าจะไม่รักษาฟรี เช่น เมาสุรามาขอฉีดยา
 
    • รวบรวมรายละเอียดจากใบแสดงความคิดเห็นรายบุคคล  ของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา

    (จำนวน 33 ใบความคิดเห็น ขาดความคิดเห็นของจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 5 ที่ร่วมประชุม)

    1.      งานบริการส่งเสริมสุขภาพในระดับ รพ.สต.ที่ทำแล้วมีความสุข
    • คลินิกส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย และภารกิจ ในสำนักงาน   8  คลินิก
    1. คลินิกฝากครรภ์    (โดยมีแนวทางปฏิบัติ ร่วมกับ รพช.)   
    2. คลินิกเด็กดี  (นมแม่ พัฒนาการเด็ก และวัคซีน)
    3. คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น (และให้คำปรึกษา)
    4. คลินิกวางแผนครอบครัว (รวมตรวจหลังคลอด มะเร็งปากมดลูกและเต้านม)
    5. คลินิกโรคเรื้อรัง และคัดกรองกลุ่มเสี่ยง (NCD เช่น DM HT HD ฯ)
    6. คลินิกไร้พุง DPAC (รวมงานโภชนาการขาดเกิน คนไทยไม่กินหวาน)
    7. คลินิกทันตสุขภาพ   
    8. คลินิกผู้สูงอายุ  
    • การส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยในชุมชนตามกลุ่มวัยและกิจกรรม  14 งาน
    1. เยี่ยมบ้าน (HHC) หญิงหลังคลอด  
    2. เยี่ยมบ้าน (HHC) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผุ้สูงอายุที่นอนติดเตียง  
    3. เยี่ยมศูนย์เด็กเล็ก
    4. เยี่ยมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  อนามัยโรงเรียน   
    5. การคัดกรองสุขภาพประชาชน หากลุ่มเสี่ยง ป่วย ปกติ เช่น เบาหวาน  ความดัน
    6.  การคัดกรองกลุ่ม เสี่ยงบุหรี่ ยาเสพติด ภาวะซึมเศร้า 
    7. งานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (DM HT HD)
    8. ชุมชนลด หวาน มัน เค็ม
    9. การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเต้านม   
    10. ชมรมสร้างสุขภาพ การออกกำลังกายในชุมชน  รำไม้พลอง  แอโรบิก  กีฬา
    11. หมู่บ้านจัดการสุขภาพ ภาคประชาชน
    12. งานชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรมกลุ่ม
    13. การคุ้มครองผู้บริโภค
    14. อนามัยสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย การควบคุมป้องกันโรค
    2.      ปัจจัยที่เอื้อให้งานด้านส่งเสริมสุขภาพประสบความสำเร็จ
    • มีการกำหนดขอบเขต ความสามารถ ศักยภาพแต่ละงานที่ชัดเจน ของเจ้าหน้าที่รพ.สต. ให้ทำได้และเข้าใจ รักที่จะทำ ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุน
    • การบริหารจัดการที่ดี คน เงิน ของ เป็นระบบมีประสิทธิภาพ ไม่ขาดแคลน
    • คนทำงานมีความสุข ชอบ สนุกกับการทำงานเชิงรุก สร้างความศรัทธาได้
    • ภาคีมีส่วนร่วมมือเช่น สสอ.สสจ.รพช.อปท. ตนเองและครอบครัว แกนนำ ผุ้นำชุมชน ประชาชน อสม.เข้มแข็ง มีจิตอาสา เข้าใจในวัตถุประสงค์ และเป้าหมายด้วยกัน
    • การอยากให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้   CUP หรือ รพช.ให้การสนับสนุนที่ดี
    • ผู้ร่วมงานไม่น้อยกว่า 3 คน ที่มีคุณภาพ ทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งมีความรัก และสามัคคีกัน มีความรู้ความสามารถ มีการวางแผนดำเนินงานที่ดี  แบ่งความรับผิดชอบชัดเจน
    • มีการสนับสนุนพัฒนาวิชาการเรียนรู้สู่ชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วม
    • ระบบบริการได้มาตรฐานที่กำหนด สถานที่ทำงานน่าอยู่เหมือนบ้าน
    • ทรัพยากรเพียงพอ เช่น คน เงิน ของ ยานพาหนะวัสดุอุปกรณ์
    • ผู้บริหารทุกส่วน ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ จริงใจ  สร้างแรงจูงใจ เช่น การเชิดชูให้เกียรติ รางวัลและให้ความสำคัญในงานส่งเสริมสุขภาพ นโยบาย เป้าหมาย แนวคิดนิ่งชัดเจน รู้วิธีบริหาร คน เงิน ยึดประโยชน์ และใช้แนวคิดชาวบ้านเป็นหลัก
    • ศรัทธายึดเหนี่ยวใจของประชาชน เช่นพระ สิ่งศักดิ์สิทธ์  
    • สื่อสาธารณะ โฆษณา เช่นรายการอโรคยา ฯ
    3.      ภาวะคุกคาม หรือปัญหาอุปสรรคที่ทำให้งานด้านส่งเสริมสุขภาพไม่ประสบความสำเร็จ
    • งานจร งานประจำมาก คนน้อย ไม่เป็นทีม งานขาดความต่อเนื่อง
    • ติดประชุม /อบรม/ศึกษาต่อมาก ค่าตอบแทนและแรงจูงใจน้อยแต่งานมาก
    • การติดต่อประสานงานที่ล่าช้า ขั้นตอนมาก  การไม่เป็นที่ยอมรับ ขาดขวัญกำลังใจ
    • เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความชำนาญ ทัศนคติ ทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ
    • งานรักษามากขึ้นปฏิเสธไม่ได้ ยังเป็นภาระอาจทำงานส่งเสริมได้น้อยลง
    • การเมืองในชุมชนแบ่งขั้ว ขัดแย้ง ทำให้วางตัวลำบาก
    • งาน ITซ้ำซ้อนยุ่งยากต้องkeyข้อมูลมาก ส่ง สสจ. สปสช.และ HosXP ในการคัดกรอง
    •  คนทำไม่ได้คิด คนคิดไม่ได้ทำ  การสื่อสารไม่ชัดเจน
    • ความล่าช้าของการบริหารจัดการ และการเงิน และงบประมาณจำกัด
    • การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสาธารณสุข ทุกระดับในอำเภอโดยเฉพาะ ผอก.รพ.สต.
    • ขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่ไม่เพียงพอ
    • อบต.ไม่เข้าใจกองทุนหลักประกันสุขภาพ ไม่อนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนให้
    • ชาวบ้านไม่สนใจ ไม่พึงพอใจ มองไม่เห็นว่าตนเองจะได้อะไรเพิ่มเพราะ   นโยบายไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจ ขาดความเป็นเจ้าของงาน
    • โครงสร้างอาคารสถานที่ไม่เพียงพอกับการทำงาน
    • ขาดอำนาจในการตัดสินใจในการทำงาน และการเงินที่คล่องตัว
    • งานส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เช่นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยเรื้อรังไม่ต่อเนื่องเพราะเจ้าหน้าที่ภาระงานมากไม่มีเวลาไปติดตามสนับสนุน
    4.      บางข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ
    • ถ้าจัดสรรเงิน ตามผลงานของเจ้าหน้าที่แต่ละคน ใช้งานแลกเงิน งานจะท้าทายมาก
    • ให้ศึกษาเกณฑ์มาตรฐาน PCA และนำเนื้อหาในเกณฑ์มาตรฐาน HPH-PLUS มาปรับให้เข้ากัน เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้มาตรฐานPCA ในการพัฒนารพ.สต.  
    • ใช้เกณฑ์มาตรฐานHPH-PLUS เพื่อทบทวนกิจกรรมงานส่งเสริมสุขภาพ การทำแผนงาน การติดตามงาน นำหัวข้อเป็นวาระการประชุม ในกองทุนสุขภาพตำบล หาโอกาสพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพร่วมกับ รพช. ที่ชำนาญเรื่อง HPH-PLUS อยู่แล้ว
    • คลินิกบริการส่งเสริมสุขภาพ ในแต่ละรพ.สต.อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน   ตามบริบท    และนโยบาย โดยมีแนวทางปฏิบัติร่วมกับรพช.ซึ่งมีทีมสหสาขาวิชาชีพครบสามารถทบทวนปรับปรุงให้สอดคล้องกัน อาจจะทุก 1-2 สัปดาห์ เช่นเดียวกับงานรักษาโรคพบบ่อย
    • จัดตั้ง  ชมรมสร้างสุขภาพ 4 กลุ่มวัยในตำบลเพื่อให้มีกิจกรรมตามกลุ่มวัย ที่เข้มแข็งโดยให้ อสม. 2 คน เป็นเลขานุการ แกนนำที่สำคัญในชุมชนเป็นกรรมการในแต่ละชมรม คือ
ชมรมแม่และเด็ก  ชมรมวัยเรียนวัยรุ่น  ชมรมวัยทำงาน  ชมรมผู้สูงอายุ   โดยให้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพต่างๆในชุมชน  ถูกจัดเข้าเป็นกิจกรรมของแต่ละชมรม   ตามความเหมาะ สม และร่วมเลือกจัดลำดับความสำคัญได้ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.เป็นผู้แนะนำทางวิชาการ จดขึ้นทะเบียนชมรม กับ อปท.และรพ.สต.เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณทำกิจกรรมต่างๆได้ง่าย  ถ้ามีการจัดการชมรมที่ดีอาจลดงานเจ้าหน้าที่ได้
  •  
    • ควรมีอาคารส่งเสริมสุขภาพ เพิ่มเติมจากตึกเก่า อาจสร้างแยกต่างหากหรือต่อเติมชั้นล่างออกไปอีก เพื่อใช้ทำกิจกรรมกลุ่มต่างๆเช่นออกกำลังกาย เรียนรู้เรื่องอาหารในกลุ่มเสี่ยง  กลุ่มป่วย ประชุมแกนนำชมรมตามกลุ่มวัย ประชุมกรรมการบริหารรพ.สต.ให้เหมาะสมกับการเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คำสำคัญ (Tags): #รพ.สต.เขต14
หมายเลขบันทึก: 441446เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท