งานศึกษา 1 > ตอนที่ 3 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน : การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3


การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3

งานศึกษา 1 > ตอนที่ 3 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน : การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3

ตอนที่ 3 นี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึงคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นิดนึงนะค่ะ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Computer-assisted Instruction หรือที่เรียกว่า CAI  ซึ่ีงในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีความหมายว่า การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย แต่ถ้าเป็นประเทศทางยุโป จะใช้คำว่า Computer-based Training หรือ CBT ที่หมายถึง การสอนโดยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก นอกจากนั้นยังมี CAL (Computer-aided Learning) ที่หมายถึง การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย และ CBE (Computer-based Education) ที่หมายถึง การเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการให้ด้วย

     ซึ่งในความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น สรุปแล้ว หมายถึง สื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ ด้วยการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์เพื่อขยายขอบเขตความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสามารถในการสอนของครู ด้วยสื่อประสม (Multimedia) ตัวอย่างสื่อประสม ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้ในเนื้อหาที่ผู้สอนเตรียมให้ในสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ โดยที่สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้เองตามการนำเสนอของบทเรียน ทำให้ผู้เรียนได้รับผลตอบกลับทันทีเมื่อเรียนจบ ทำให้ผู้เรียนได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ของตน พร้อมทราบผลทันที ผู้เรียนก็จะสามารถตรวจสอบความเข้าใจของตนเองได้ว่าตนนั้นเข้าใจหรือไม่ ถ้าเข้าใจก็ผ่านไปบทเรียนถัดไป ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็เรียนซ้ำบทเรียนเดิมได้ทันที ไม่ต้องอายใคร และสามารถทำได้อย่างมีสมาธิด้วยค่ะ

     เมื่อเห็นถึงประโยชน์และความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้วนั้น ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องคำนึงถึงคุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ด้วยค่ะ

     1. สารสนเทศ หรือ information หมายถึง เนื้อหาสาระ (Content) ที่ได้รับการเรียบเรียงจากผู้สร้าง หรือผู้สอนได้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือได้รับทักษะตามที่ผู้สร้างกำหนดวัตถุประสงค์ได้ ซึ่งอาจเป็นการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ กันไป หรือหลากหลายตามเนื้อหา และได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยที่ผู้เรียนอาจได้รับเนื้อหา สาระ ทักษะต่าง ๆ ด้วยการปฏิบัติ จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน หรืออาจอยู่ในรูปของเกม และสถานการณ์จำลองก็ได้ เช่นกัน ทั้งนี้ผู้เรียนอาจได้ฝึกทักษะการคิด การจำ การสำรวจสิ่งรอบ ๆ ตัว ทำให้ผู้เรียนสนุกสนานเพลิดเพลินได้

     2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) เป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากทุกคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าว ต้องออกแบบให้ยืดหยุ่น ผู้เรียนสามารถมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนได้

     3. การโต้ตอบ (Interaction) เป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด

     4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate feedback) เพื่อช่วยเป็นแรงเสริมให้ผู้เรียน พร้อมทั้งต้องมีการทดสอบเพื่อประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหา หรือทักษะตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และควรอนุญาตให้ผู้เรียนตรวจสอบผลการเรียนของตนได้ตามต้องการ

     ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ไม่ยากเกินไปนะค่ะ แล้วพบกันใหม่ในตอนต่อไปค่ะ ^__^    

หมายเลขบันทึก: 441331เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2011 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากนะคะ ไม่ต้องอ่านเองอ่านแค่นี้ก็สรุปได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท