คอมพวเตอร์ช่วยสอน


น่ารู้

การใช้บทเรียนและแบบฝึกทักษะคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำเร็จรูป

หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่จะฝึกฝนทักษะ เพราะสื่อ

การเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของปัญหา

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่ม

คุณภาพ และประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ด้วยบทบาทของเทคโนโลยี

สารสนเทศได้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐบาลมีนโยบายเร่งใช้

ICT (information and communication technology) เพื่อพัฒนาการศึกษาในทุกด้านและได้กำหนด

เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2547-2549) ที่จัดทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการ

และภาคเอกชนภายนอกที่เกี่ยวข้องและผู้แทนระดับ CIO (chief information officer) ของแต่ละกรม

ในกระทรวง ศึกษาธิการมีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการทำงานที่ชัดเจนยุทธศาสตร์ 4 ประการ

ที่แผนหลักนี้ระบุไว้เพื่อไปสู่ความสำเร็จ คือ 1) การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ 2) การใช้

ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา 3) การผลิตและการพัฒนาบุคลากร 4) การกระจาย

โครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา (อธิปัตย์ คลี่สุนทร, 2546)

ในด้านการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่าง

มีประสิทธิภาพ และในด้านกระบวนการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในรูปแบบที่หลากหลายในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

และได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามความสนใจของผู้เรียน

และสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า ครูและผู้บริหารทางการศึกษามีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อน

การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีสอนจากเดิมให้สามารถตอบสนอง

การพัฒนาของประเทศและความต้องการของสังคม (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2550)

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการเรียนการสอน

นักเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ทำการทดลองวิจัยเกี่ยวกับสื่อการสอนจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

ว่า สื่อการสอนเป็นช่องทางในการถ่ายทอดความรู้และความคิดระหว่างครูกับนักเรียน เป็นเครื่องมือ

ช่วยให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นและสามารถนำมาใช้กับผู้เรียนได้ทุกระดับชั้น ทำให้การเรียนการสอน

ได้ผลดีกว่าไม่ใช้สื่อ (เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์, 2545)จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน(กระทรวงศึกษาธิการ, 2549) “โรงเรียนดี มีคุณภาพ ก้าวไกลเทคโนโลยี บรรยากาศสิ่งแวดล้อมดี มีชุมชนร่วมคิดพัฒนา” โดยมุ่งเน้นคุณภาพนักเรียน ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์

คือ นักเรียนอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษและการค้นคว้า

สามารถใช้เทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ทำให้ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ

จัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ได้จัดให้นักเรียนเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น โปรแกรม

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอังกฤษชุด Tell me more บทเรียนภาษาอังกฤษทางอินเทอร์เนต มีการ

ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาพื้นฐานและวิชาเพิ่มเติม มีการเรียนรู้จากวีดิทัศน์ เป็นต้น

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษจากสื่อต่าง ๆ ที่กล่าวมา ผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนและจากผลการทดสอบแห่งชาติ ในวิชาภาษาอังกฤษ ปี 2549-2550 ยังอยู่ในเกณฑ์

ที่ไม่น่าพอใจ จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจากการสังเกตพบว่าผู้เรียนส่วนมากในระดับ

ช่วงชั้นที่ 3 และ4 ยังมีปัญหาเรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผู้เรียนยังขาดความรู้และทักษะที่จะนำ

คำศัพท์ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ การสอบเข้าเรียนในสถาบัน

ต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ ถ้าผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องสามารถ

ฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีจะทำให้ผู้เรียนเพิ่มพูนความรู้

ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน

เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าว การใช้บทเรียนและแบบฝึกทักษะคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำเร็จรูป

หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่จะฝึกฝนทักษะ เพราะสื่อ

การเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

ศศิฉาย ธนะมัย (2546) ได้กล่าวถึงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณค่าต่อการเรียน

การสอนที่สำคัญ ดังนี้

1. ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความช้าเร็วของตนเอง ตามความต้องการเรียน หรือ

ตามความสามารถและผู้เรียนจะปลอดจากอิทธิพลของครู จะเป็นการเรียนที่ตอบสนองความ

แตกต่างระหว่างบุคคลได้อย่างดี

2. ผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีทันใดจากบทเรียนตามที่ได้โปรแกรมไว้

3. สามารถสร้างโปรแกรมให้ดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ง่าย สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียน

อยากเรียนและตื่นตาตื่นใจกับรูปแบบต่าง ๆ ที่อยู่ในบทเรียน

4. สามารถรวมเอาเสียงดนตรี สีสันสวยงาม กราฟิกและความเคลื่อนไหวทำให้ดูเหมือน

ของจริงและเร้าใจสนับสนุนการสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อการเรียนรู้และทำการฝึกปฏิบัติ

5. ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง เนื่องจากความสามารถในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์

ทำให้การเรียนด้วยตนเองเป็นไปอย่างสะดวกง่ายดาย

6. สามารถควบคุมประเมินผลความก้าวหน้า ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน

ได้ทันทีเพราะคอมพิวเตอร์บันทึกการเรียนของผู้เรียนแต่ละบุคคลไว้

7. ในการเรียนการสอนแต่ละครั้งสามารถให้ความเชื่อถือแก่ผู้เรียนโดยไม่เปลี่ยนแปลง

ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยลดเวลาและทุ่นแรงผู้สอนทำให้ผู้เรียนบรรลุ

จุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ก็ดีกว่า หรือเท่ากับการเรียนตามปกติ

8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนและทำงานกับโปรแกรมได้อย่างกว้างขวาง

ช่วยในการฝึกซ้ำ ๆ ได้โดยไม่จำกัดตามต้องการของผู้เรียน

กิดานันท์ มลิทอง (2548) ได้กล่าวถึงคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่า

… การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้เป็นสื่อการสอนเพื่อให้มีการโต้ตอบกันได้

ในระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปได้

ในทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงให้แก่ผู้เรียน เช่นเดียวกับการเรียนการสอนระหว่างผู้สอน

กับผู้เรียนที่อยู่ในห้องปกติ บทเรียนซีเอไอจะมีรูปแบบต่าง ๆ ในแต่ละบทเรียนจะมีตัวอักษร

ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงประกอบด้วยในลักษณะสื่อประสมทำให้ผู้เรียน

สนุกไปกับการเรียนโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย…

จากที่กล่าวมา ทำให้ผู้ศึกษามีความสนใจในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี ว่าเมื่อผู้เรียนได้ศึกษาบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษแล้ว จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา

จังหวัดสระบุรี

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี หลังเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับคะแนน

ทดสอบก่อนเรียน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้สอนสามารถนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันที่มีประสิทธิภาพ มาใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี

2. ผลการวิจัยสามารถเป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์

ในเรื่องอื่น ๆ ใน วิชาภาษาอังกฤษและแขนงสาขาวิชาอื่น ๆ ได้ต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย

1. กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี

ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ปีการศึกษา 2550

2. ตัวแปรที่จะศึกษา

2.1 ตัวแปรต้น คือ การเรียนโดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

2.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง หลังจากเรียน

โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

นิยามศัพท์

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง โปรแกรมสำเร็จรูปที่เอื้ออำนวยต่อการเรียน

การสอน โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเสนอเนื้อหาและเป็นการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์

ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้จากการทำ

แบบทดสอบหลังจากเรียนโดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง บทเรียนที่มีประสิทธิภาพจาก

การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามเกณฑ์ 80/80 (เปรื่อง กุมุท, 2527) โดยมีข้อกำหนดดังนี้

80 ตัวแรก คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนเป็นร้อยละของผลการทดลองที่นักเรียนทั้งหมด

ทำแบบทดสอบไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 80 ที่ตั้งไว้

80 ตัวหลัง คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนร้อยละของจำนวนนักเรียน ที่ตอบคำถาม

ของข้อสอบแต่ละข้อถูกไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 80 ที่ตั้งไว้

หมายเลขบันทึก: 441326เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2011 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท