ในการจับภาพ KM ศูนย์อนามัยที่ 8 ผมในฐานประธาน KM คนปัจจุบัน ได้นำเสนอภาพรวมการจัดการความรู้ของศูนย์อนามัยที่ 8 ซึ่งได้นำเสนอคร่าว ๆ ดังนี้คือ
จุดเริ่มต้นของการจัดการความรู้เกิดจากการจัดกิจกรรม OD ซึ่งเป็นที่นิยมการจัดกิจกรรมในสมัยเมื่อปี พ.ศ.2545-2548 เป็นอย่างมาก ศูนย์อนามัยที่ 8 ก็ได้ไปจัดกิจกรรมเช่นกัน ปีละหลายรุ่น ทั่วทั้งองค์กร แต่ผลที่ได้จะอยู่ในช่วงแรก ๆ เท่านั้นต่อมาเจ้าหน้าที่ศูนย์ ฯ ก็เป็นแบบเดิม ต่อมาทางผู้บริหารได้กำหนดให้ศูนย์ ฯ จัดโครงการการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศขึ้นมา ซึ่งนโยบายในตอนนี้จะใช้เครื่อง TQM เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร มีการจัดประชุม อบรม หาวิทยากรมาให้ความรู้ จนกระทั้งศูนย์อนามัยที่ 8 สามารถผ่านการประเมิน ISO 9000 มาได้ ซึ่งต่อมาภาครัฐได้กำหนดให้มีการพัฒนาองค์กรภาครัฐด้วย PMQA จนถึงปัจจุบันนี้
ต่อมาศูนย์ ฯ ได้รับองค์ความรู้ในเรื่อง KM จากกรมอนามัย จึงได้ปรับบทบาทของการพัฒนาองค์กรดังกล่าวมาเป็นคณะกรรมการจัดการความรู้ ซึ่งจะมีคณะกรรมการ PMQA เป็นผู้ประเมินผลคุณภาพองค์กรตามปัจจัยทั้ง 7 ข้อ
ในระยะเริ่มต้นของการจัดการความรู้ คระกรรมการจัดการความรู้ (KM teams) ได้กำหนดให้มีการให้ความรู้ในเรื่อง KM แก่เจ้าหน้าศูนย์ ฯ ทุกคน โดยสิ่งที่เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความรู้คือรู้ว่า KM คืออะไร , ความรู้มีกี่แบบ , Model ปลาทู , เรื่องการเล่า , การบันทึก , การถอดบทเรียน
ในระยะต่อมาเริ่มมีการให้ความรู้ในเรื่องการสร้างกลุ่มการเรียนรู้ (Cop) จากนั้นมีการทดลองการจัดความรู้จากลุ่ม Cop ที่กำหนดขึ้น ปัญหาก็คือเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ยังไม่เข้าใจว่า KM ทำอย่างไร ผลที่ได้คืออะไร และไม่สามารถบูรณาการ KM ไปกับงานอื่น ๆ ได้ คณะกรรมการ KM จึงได้หาแนวคิอในการปรับการจัดการความรู้ขึ้นมาใหม่คือจะต้องทำแนวการทำงาน KM ของศูนย์ ฯ ขึ้นมาใหม่ และในช่วงแรกต้องหาคนที่เป็นแกนนำในการสร้างความรู้ในหน่วยงานขึ้นมา เพื่อชักจูงให้ทำงานร่วมและเรียนรู้ร่วมไปด้วยกัน
ในการสร้างแกนนำการจัดการความรู้ เราเรียนว่า KMB (Knowledge management builder) ซึ่งเป็นตัวแทนของทุกหน่วยงานในองค์กร (ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าหน่วยงาน) จากนั้นมีการอบรมเรื่องการทำ KM ให้เนียนกับเนื้องาน และสร้าง KM model วึ่งใช้เป็นแนวการทำ KM ขององค์กรขึ้นมา
นอกจากนั้น KM teams ยังได้มีการสร้างแรงจูงใจโดยการจัดตลาดนัดการจัดการความรู้ของศูนย์ ฯ ทุก ๆ ปี โดยจะมีการประกวดคัดเลือกองค์ความรู้ที่ดีเด่น ซึ่งตั้งแต่ปี 2550 มีผลงานการจัดการความรู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
ในปี 2554 หลังจากที่ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้เรื่องการจัดการความรู้มานานพอควรจนได้รับรางวัลในระดับกรมอนามัยมาแล้ว จึงได้กำหนดให้การจัดการความรู้เป็น 1 ในกิจกรรมบังคับที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ ฯ ทุกคน ต้องใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน ซึ่ง KM teams จะได้มีการประเมิน ควบคุมกำกับ และวัดผล ในโอกาสต่อไป
ท่านใดสนใจ อยากคุยกับเจ้าของผลงาน ตัวเป็นๆ
วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ เรามีนัดเปิดบ้าน KM ที่ศูนย์อนามัยที่ ๘ จ. นครสวรรค์
ครั้งนี้เราจัดที่นครสวรรค์ โปรแกรมตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. ผู้สนใจต้องจัดการเดินทางมาเอง
ติดตามการเปิดรับสมัครใน www.kmi.or.th หรือ
สมัครได้ทันทีที่ คุณชมพูเนกข์ ตั้งสุวรรณวงศ์ โทร. 02-511 5758 ต่อ 28 Fax 02-511 5759
Email: chomphunake@kmi.or.th
ค่าสมัครเข้าร่วมเพียงท่านละ 900 บาท (เลี้ยงอาหารกลางวัน และอาหารว่าง ๒ มื้อ)
รับจำนวนจำกัด สมัครก่อนได้ก่อนครับ
สำหรับหน่วยงานในจังหวัดใกล้เคียง จ. นครสวรรค์ โอกาสดี มีไม่บ่อยอย่าพลาดนะครับ
สำนักงาน KM กรมอนามัย และทีม สคส. จะทำหน้าที่อำนวยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วยครับ
studios Xiong enamel enamel enamel form movement ETA Even the most discerning