ความผิดพลาดจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (CT Chest)


การให้ความเชื่อมั่นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำหนดไว้ ไม่สามารถเชื่อมั่นได้ 100% ต้องอาศัยความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ของบุคลากรมาประกอบ เพื่อทำงานร่วมกันอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

สวัสดีครับ

 

วันนี้ขอเสนอภาพที่ได้ไปร่วมเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ การตรวจ การทำงานต่อไป

 

 

ภาพที่ 1 เป็นภาพถ่าย เพื่อใช้สำหรับการวางแผนการตรวจ หรือที่เรียกกันว่า Scout (อาจเรียกชื่ออื่นๆ สำหรับเครื่อง Siemens คือ Topogram หรือ Philips คือ Serview) ก่อนที่จะทำสแกน (Scan)  

 

 

 

ภาพที่ 2 เป็นการกำหนดพื้นที่การสแกน คือ ในกรอบสี่เหลี่ยม ที่จะทำการตรวจและสร้างออกมาเป็นภาพตัดขวาง

 

 

โปรดสังเกต : กรอบสี่เหลี่ยมที่กำหนดสำหรับการสแกน มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการ คือ ทรวงอกและปอด

 

 

ภาพที่ 3 เป็นภาพตัดขวางที่เป็นตำแหน่งที่ต่ำที่สุดของการสแกน ซึ่งยังไม่ครอบคลุมอวัยวะที่ต้องการ คือ ปอด  

 

 3.1

 

ในภาพ 3.1 ต้องการแสดงรายละเอียดของเนื้อเยื่อทรวงอก เลือกใช้ WW 350 WC 60

ในภาพแสดงส่วนที่ก้อนเป็นสีเทา คือ ตับ

ส่วนที่ต่ำลงมาจากตับ สองข้างซ้ายและขวา คล้ายพระจันทร์เสี้ยว คือ ปอด

 

 

 3.2

 

ในภาพ 3.2 ต้องการแสดงรายละเอียดของเนื้อเยื่อปอด เลือกใช้ WW 1600 WC -300

ในภาพแสดงส่วนที่ก้อนเป็นสีขาว คือ ตับ

ส่วนที่ต่ำลงมาจากตับคล้ายพระจันทร์เสี้ยว คือ ปอด ที่มองเห็นรายละเอียดแขนงปอดเป็นจุดเป็นเส้น ชัดเจนขึ้น   

 

 

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น คือ การสแกนจริง ไม่ครอบคลุมเนื้อปอดทั้งสองข้าง แต่... ได้หยุดการสแกนไว้ที่ตำแหน่งนี้ เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้กำหนดไว้ใน ภาพที่ 2  (ภาพวางแผนครอบคลุมอวัยวะที่สนใจ แต่เมื่อสแกนเสร็จแล้ว ตำแหน่งไม่ครอบคลุมอวัยวะที่สนใจ เนื่องจากการหายใจเข้าออก การกลั้นใจของผู้รับบริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม)

 

 

  

ภาพที่ 4 เป็นภาพตัดขวาง เมื่อฉีดสารทึบรังสี (Contrast media) เข้าไปในร่างกาย และตำแหน่งนี้ ก็ยังใช้เป็นตำแหน่งที่ต่ำที่สุดของการสแกน โดยที่เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเครื่องไม่ได้เพิ่มพื้นที่ในการสแกนให้ครอบคลุมปอดทั้งหมด (ทำผิดซ้ำ)

 

 

 

 

 

ภาพที่ 5 แสดงการสร้างภาพในระนาบ Coronal และ Sagital ที่เรียกว่า MPR : Multipalna Reconstruction จะแสดงให้เห็นว่า ภาพตำแหน่งสุดท้ายที่ตรวจนั้น ไม่สามารถครอบคลุมบริเวณที่สนใจได้ทั้ง ขาดบริเวณส่วนล่างของปอด

 

 

                           Coronal

 

 

 

                              Sagital

 

 

ภาพที่ 6 คอมพิวเตอร์แสดงเส้นสมมุติของตำแหน่งที่สร้างภาพตัดขวาง (แสดงเป็นเส้นที่ตัดผ่านทรวงอกจากบนลงล่าง) ซึ่งภาพที่ได้จะสัมพันธ์กับภาพ Scout  ที่ดูเหมือนครอบคลุมทั้งปอด

 

แต่... ผลที่เกิดขึ้นจริง ภาพนั้นจะไม่ตรงกับความตำแหน่งอวัยวะของผู้รับบริการที่เป็นจริง เนื่องจากการหายใจเข้าออก และการกลั้นหายใจระหว่างการตรวจของผู้รับบริการ มีการเปลี่ยนแปลงขณะการสแกน

 

 

สาเหตุอาจเนื่องมาจาก... คอมพิวเตอร์จดจำคำสั่งเก่า (ตั้งแต่ Scout) แต่เมื่อผู้บริการขยับตัว หรือ หายใจเข้าออก หรือกลั้นหายใจ ไม่สม่ำเสมอ สามารถจะทำให้ตำแหน่งที่กำหนดไว้ ระหว่างคอมพิวเตอร์จดจำ และ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไม่ตรงกันได้

 

คอมพิวเตอร์รับคำสั่งจากมนุษย์

มนุษย์ต้องควบคุมคอมพิวเตอร์ อย่าพึ่งคอมพิวเตอร์มากนัก อย่าทำตัวเป็น คนกดปุ่ม เพียงอย่างเดียว

มนุษย์ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างความสำเร็จในอนาคต

 

 

สรุป

ความผิดพลาด :

1. การสแกนไม่ครอบคลุม ปอด (บริเวณที่สนใจ)

2. มีการสแกนซ้ำ โดยไม่ดูภาพที่ปรากฎว่า ครอบคลุมบริเวณที่สนใจทั้งหมดหรือไม่ 

 

การแก้ไข :

1. ควร ทำความเข้าใจกับผู้รับบริการ หรือ ฝึกซ้อมการควบคุมการหายใจ การกลั้นใจ ระหว่างการตรวจ หรือ ก่อนการตรวจจริง

2. เจ้าหน้าที่ ต้อง ตรวจสอบคุณภาพของภาพที่ปรากฎ ก่อนการฉีดสารทึบรังสี ทุกครั้ง 

3. เจ้าหน้าที่ ต้อง เพิ่มทักษะการสังเกต ให้ความสำคัญในการทำงานให้รอบครอบมากขึ้น

4. หากเจ้าหน้าที่พบว่า... พื้นที่ในการสแกนไม่ครอบคลุมบริเวณที่สนใจ ควรสแกนดำเนินการเพิ่มขึ้น ให้ครอบคลุมอวัยวะที่สนใจทั้งหมด

 

 

ข้อผิดพลาด เป็นครู ที่ดี อย่างหนึ่ง

เรียนรู้ความผิดพลาด เพื่อนำไปแก้ไข ข้อบกพร่อง เพื่อป้องกัน

ผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว พยายามอย่าทำให้เกิดซ้ำแล้ว ซ้ำอีก 

 

 

หมายเลขบันทึก: 440865เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท