ครู VS หมอ


ครูคือผู้บำบัดรักษาพัฒนาทางด้านสติปัญญา หมอคือผู้บำบัดรักษาพัฒนาด้านสุขภาพด้านร่างกายรวมถึงจิตใจ

      อาชีพครู แม้จะได้รับการมองจากคนในสังคมปัจจุบันว่า เป็นวิชาชีพที่คนไม่มีทางเลือกแล้ว จึงต้องมาเรียนครู ซึ่งคำกล่าวเหล่านี้มันยิ่งทำให้ อาชีพครู ดูว่าต้อยต่ำ ไม่มีค่า แต่ที่จริงแล้ว หากย้อนกลับไปมองอย่างเป็นธรรม ก็ไม่สามารถค้นพบได้เลยว่า อาชีพใดในโลกนี้ที่ไม่มีครู แต่ครู ก็คือ ปุถุชน ครูไม่ได้หมายความจะต้องเก่งทุกเรื่อง หรือต้องเก่งกว่าศิษย์  ครู คือ ผู้ชี้แน่ะแนวทาง ผู้ให้แสงสว่าง ฉะนั้นเมื่อศิษย์ผู้มีปัญญาเป็นทุนเดิมแล้วได้นำเอาปัญญาที่อยู่ในตนมาผสมผสานกับสิ่งที่ครูชี้แน่ะ จึงได้พัฒนาตนเองขึ้นเป็นคนเก่ง เฉลียฉลาดเก่งกว่าครู ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่ศิษย์หลายคนไม่ได้คิดเช่นนั้น ตามที่เคยได้ยินมา ถ้าเก่ง ก็จะเยินยอว่าเด็กเก่งเด็กฉลาด พ่อ แม่ พี่น้องเก่งมาก่อน มีน้อยมากที่จะกว่ามาถึงครู ว่าครูสอนดี แต่เมื่อไรที่เด็กเรียนไม่เก่ง ก็จะโทษว่าครูไม่สอน ครูสอนไม่เป็น ครูไม่เก่งสอนไม่ได้เรื่อง ไม่เคยได้กล่าวว่าเพราะพ่อเพราะแม่ หรือเพราะตัวของเด็กเองเลย

      ถ้าหากมองอย่างใจเป็นธรรมอาชีพครู มีกระบวนการที่เป็นไปในทางเดียวกับหมอ

ครูบำบัดรักษาพัฒนาทางด้านสติปัญญา โดยผ่านวิธีการรักษา คือกระบวนจัดการเรียนรู้

หมอบำบัดรักษาพัฒนาด้านสุขภาพด้านร่างกายรวมถึงจิตใจ โดยผ่านวิธีการรักษา คือ การให้ยา การผ่าตัด การทำกายภาพบำบัด

มาดูกระบวนการของครูว่าเทียบได้อย่างไรกับหมอ

ขั้นแรกของครู  คือ  การรับเด็กเข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบ มีข้อมูลมีประวัติของเด็ก

ขั้นแรกของหมอ คือ การรับแฟ้มประวัติของคนไข้มาจากพยาบาลที่เก็บข้อมมูลเบื้องต้นมาให้

ขั้นที่ 2 ของครู  คือ เมื่อรับเด็กมาแล้วก็จะต้องมีการทดสอบความสามารถปัจจุบันของเด็ก เพื่อตรวจสอบและรับทราบข้อมูลของเด็กว่าคนไหนมีความสามารถ มีความบกพร่องตรงไหนอย่างไร

ขั้นที่ 2 ของหมอ คือ เมื่อถึงคิวคนไข้ไปก็ใช้วิธีการเครื่องมือทางการแพทย์ตรวจสอบคนไข้เพื่อหาสาเหตุและร่องรอย แล้วนำข้อมูลมาวินิจฉัยว่าน่าจะป่วยเป็นอะไร

ขั้นที่ 3 ของครู คือ ทราบข้อมูลพื้นฐานอาการของเด็กแต่ละคนแล้วก็ดำเนินการรักษาด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สนองต่อเด็กแต่ละคน

ขั้นที่ 3 ของหมอ คือ การสั่งยาตามโรคหรืออาการที่ตรวจพบของคนไข้

ขั้นที่ 4 ของครู คือ ควรจะมีการติดตามอาการของเด็กที่ได้รับการดำเนินการรักษาคนไหนอาการดีขึ้น คนไหนอาการไม่ดีขึ้น อาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่อีก

ขั้นที่ 4 ของหมอ คือ การนัดคนไข้เพื่อติดตามอาการ หากไม่ดีขึ้นก็ต้องเปลี่ยนยาใหม่

  ถ้ายอมรับและคิดตามไปด้วยจริงๆแล้วดูมันสอดคล้องและเข้าท่า

บทสรุปของครูกับหมอจะไม่เหมือนกันและเหมือนกันในบางกรณี

ถ้าเด็กได้ดี สรุปว่าเด็กมีพันธุกรรมดี

ถ้าคนป่วยหาย สรุปว่าหมอรักษาดี

ถ้าเด็กไปไม่ได้ สรุปว่า ครูสอนไม่ดี สอนไม่เป็น

ถ้าคนป่วยไม่หาย สรุปว่า หมอรักษาไม่ดี

  แต่ข้อที่น่าสังเกตและให้ความเป็นธรรม  เมื่อเราป่วยปวดเมื่อยแล้วไปพบหมอ หมอถามว่ากินยาอะไรอยู่บ้าง เราตอบว่ากินยาของแก้ปวดแก้ไข้ของแม่แล้ว หมอจะบอกเราว่าไม่ได้ แม้ว่าแม่เราจะมีอาการปวดเมื่อยเหมือนกับเรา แต่จะกินยาเหมือนแม่นั้นไม่ได้ เพราะว่า สาเหตุการปวดเมื่อยอาจจะไม่เกิดจากสิ่งเดียวกัน อายุ น้ำหนัก ความดัน อะไรๆของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ฉะนั้นยาของอีกคนหนึ่งกินแล้วหายอีกคนหนึ่งอาจจะหาย ไม่หาย หรืออาจจะเสียชีวิตก็ได้  พอมาถึงตรงนี้ก็อยากจะบอกให้คุณครูได้คิดนิดหนึ่งว่า นักเรียนของเราถ้าเปรียบกับคนป่วยของหมอ ก็จะพูดได้ว่า การที่ครูทำแผนการสอน กำหนดเนื้อหา สื่อ มา 1 ชุด แล้วนำมาจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนในชั้นจำนวน  40 คน เท่ากันพร้อมกัน ผลพบว่า นักเรียนครึ่งหนึ่งไม่พัฒนาตามที่คาดหวัง ก็เปรียบได้ว่านักเรียนของเราอาจจะอายุเท่ากัน หน้าตาดูดีเหมือนเพศเดียวกัน ฐานะทางครอบครัวเหมือนกัน จบชั้นเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าความสามารถและสติปัญญาของเขาจะเท่ากันและพัฒนาด้วยวิธีเดียวกันได้ ถ้าครูมีความคิดเหมือนหมอ คือ ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากนักเรียนของครูจะมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่อาจรับรองได้ว่า เมื่อนักเรียนดีขึ้น จะได้รับการสรุปว่า เพราะครูสอนดี แต่ครูต้องไม่ท้อ ครู คือ ผู้ปิดทองหลังพระอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 440823เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2011 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครูเสือมีความคิดเห็นเหมือนกับอาจารย์ และอยากเสริมต่อว่าว่าครูคือผู้ให้ หมอคือผู้รับ อาจารย์เห็นสัจธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท