วิชาการกับการจนมุมทางปัญญา เมื่อผมต้องยอมรับว่าผมโง่


เมื่อวาน ผมได้มีโอกาสสนทนากับนักวิชาการอาวุโส สี่ท่านในเวลาเดียวกัน ข้อเสนอของผมที่มีต่อวงสนทนา ก็คือ เราไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองไทยได้ถ้าเราไม่แก้ที่ทัศนคติที่มีต่อการเมือง ผมเสนอว่า แท้จริงแล้วเราต้องทำให้คนรุ่นใหม่ รู้และตระหนักว่า การเมืองคือระบบการจัดสรรผลประโยชน์ว่าใครจะได้อะไรเมื่อไหร่อย่างไร และวิชาสังคมศึกษา ต้องมีบทบาทในการทำให้เด็กรุ่นใหม่รู้ว่า ผลประโยชน์ในสังคม มีอยู่มากมายที่ไหนมีผลประโยชน์ร่วมกันที่นั่นก็จะมีการเมืองเสมอ....

พูดก็พูดผมกำลังจะบอกท่านว่า... การเมืองและอำนาจมันไม่ได้มีศูนย์กลาง แต่มันแพร่กระจายไปทั่วสังคม...

หนึ่งในผู้อาวุโสท่านหนึ่งจึงย้อนถามผมว่า...คำว่า Politic หมายถึงอะไร มาจากคำว่าอะไร ... ผมตอบท่านว่า politic มาจากคำว่า Polis ที่แปลว่าเมือง ท่านถามผมต่อว่าแล้วเมือง มีลักษณะอย่างไร ผมตอบว่าเมืองเป็นชุมชนของมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ(ถึงตอนนี้ผมก็เริ่มงง ๆ ว่ามันจะเกี่ยวกับการเมืองของผมตรงไหน) ท่านบอกว่าไม่ใช่เมืองคือชุมชนที่มีกำเเพงล้อมรอบ ตรงกับคำว่า ปุระ และ บุรี นั่นเอง ท่านจึงสรุปว่า "ที่คุณพูดว่าการเมืองเป็นสิ่งที่แพร่กระจายแทรกซึมไปในทุก ๆ ที่ ที่มีผลประโยชน์ของสังคมนั่นผิด ! เพราะที่ใดไม่มีกำแพงล้อมรอบที่นั่นไม่ใช่การเมือง"

อ้าวเหรอ เขาคิดกันอย่างนั้นเหรอ ถ้าอย่างนั้นเราก็คงถึงคราวอับจนปัญญาที่จะแก้ต่างแล้วหล่ะ เพราะเราถูกสอนมาว่า  คนที่คิดคนละพาราไดม์ ไม่ควรไปเถียงกันให้เสียเวลา เพราะเถียงไปก็ไม่มีทางรู้เรื่อง

เมื่อวานผมจึงออกมาจากวงสนทนา ในฐานะคนโง่ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้

คำสำคัญ (Tags): #การเมือง
หมายเลขบันทึก: 440748เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2011 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท