บันทึกการทดลองจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการสร้างทักษะการวิจัยให้นิสิต ๑


เป้าหมายของมหาวิทยาลัยนเรศวรคือการ สร้างให้นิสิตเป็น ผู้เก่งงาน เก่งชีวิต เก่งพิชิตปัญหา

ปีนี้จะเป็นปีแรกที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร จะได้ นำหลักสูตรการจัดการเรียนการอสนโดยเน้นการสร้างทักษะความเป็นนักวิจัยให้กับ นิสิต ทั้งนี้เป็นไปตาม นโยบายของท่านอธิการบดีที่ต้องการสร้างให้นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรมีอัตตลัก ษ์ คือ "เก่งงาน เก่งชีวิต เก่งพิชิตปัญหา" 

ว่าที่จริงวิชานี้มีจุด เริ่มาจาก แนวความคิดเมื่อครั้งมีการแก้ไขหลักสูตร โดยความร่วมมือของอาจารย์สามท่าน คือ อาจารย์นุช( อ. สุดา  หวังสู่วัฒนา:ปัจจุบันท่านสมรส และปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้พิพากษาและ คุณแม่ที่น่ารักของลูกๆครับ ) อาจารย์อิศวร์ ( อ.ชลธี วัฒนเวชวิจิตร : ปัจจุบัน ท่านกำลังเตรียมสอบเป็นผู้พิพากษาครับ หลังจากไปเรียนจบปริญญาโทใบที่สองจากสหรัฐอเมริกาในสาขากฎหมายสิ่งแวดล้อม มา  อย่างไรก็ตามท่านยังเป็นอาจารย์ในดวงใจเด็กชาว มน.  อยู่เสมอครับ ) และผมเอง(อาจารย์ที่ชอบเขียนบันทึก ฝันค้างเพราะไม่ได้เป็นนักเขียนไส้เปียกตามที่ฝัน เลยต้องมาละเลงฝันใน FB ให้คนรำคาญ 5555555) ที่ต้องการผลักดันให้นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรหันเข้ามาสนใจปัญหารอบตัวมาก ขึ้น และตระหนักในภารกิจในการรับใช้สังคม  บังเอิญหลังจากการปรับปรุงหลักสูตรคราวนั้น รายวิชาที่ว่านี้ตรงกับความตั้งใจของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยชุดใหม่พอดี งานนี้ คณะนิติศาสตร์เลยให้ความสำคัญกับการสร้างทักษะความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย เบื้องต้นให้นิสิตครับ

 

ทั้งนี้ทีมงานในการดำเนินงานได้ร่วม ประชุมกำหนดทิศทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยท่านคณบดี( ผศ.ดร. บุญญรัตน์  โชคบันดาลชัย) และท่านรองคณบดีฝ่ายวิชาการ (ผ.ศ. จิรประภา มากลิ่น)ได้ให้ความสำคัญกับงานนี้โดยการเข้าร่วมประชุมกำหนดทิศทางตลอด เนื่องจาก โดยส่วนตัว ท่านคณบดี และท่านรองคณบดีเองก็มีนโยบายอยู่แล้วที่จะผลักดันให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่นอย่างแท้จริง  โดยเดิมทีท่านมุ่งจะให้การทำหัวข้อวิจัยนั้นตอบสนองปัญหากฎหมายพื้นฐานของคน ในท้องถิ่น 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง แต่ด้วยเ้หตุที่ ภารกิจของมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น ในขณะที่เรามุ่งตอบสนองสังคมท้องถิ่น เราก็จำเป็นที่จะต้องผลิตบัณฑิตให้มีความพร้อมในการศึกษาระดับสูงต่อไปด้วย ทำให้ท้ายสุดทิศทางในการสอนวิชานี้ จะเน้นให้นิสิตมีทักษะความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเบื้องต้น และสามารถอภิปราย วิเคราะห์ปัญหากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมายในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติต่อไป รวมทั้งสามารถนำทักษะการวิจัยมาเบื้องต้นมาประยุกต์ใช้กับ การแสวงหาคำตอบของปัญหากฎหมายในระดับต่างๆได้

งานนี้หากมีเกร็ดน่าสนใจอะไรผู้เขียนจะนำมาเรียนให้ทราบเพื่อขยายแนวความคิดนี้ต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 440624เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2011 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท