การทำงานของทันตาภิบาล


ทันตาภิบาล

หน้าที่ความรับผิดชอบของทันตาภิบาล 

1. งานป้องกันและส่งเสริมทันตสุขภาพ

                1) ให้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ 

               เป็นการให้บริการป้องกันและส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์โดยการทำงานผสมผสานไปพร้อมๆกับงานส่งเสริมสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง    โดยกิจกรรมที่ทำเช่น การตรวจสุขภาพช่องปาก    การฝึกควบคุมคราบจุลินทรีย์ในหญิงตั้งครรภ์  เป็นต้น      รวมทั้งการดำเนินงานเชิงรุกนอกสถานบริการ เช่น การออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้การป้องกันและส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และมารดา เป็นต้น

                2) ให้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กวัยก่อนเรียนที่คลินิกเด็กดี(Well Baby Clinic) และบริการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล

               เป็นการให้บริการป้องกันและส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กปฐมวัยทั้งในคลินิกเด็กดี    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาล  กิจกรรมที่ทำควรครอบคลุม การตรวจสุขภาพช่องปาก    การฝึกและส่งเสริมการแปรงฟัน   การควบคุมพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสม    และการให้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ  เป็นต้น      รวมทั้งการดำเนินงานเชิงรุกนอกสถานบริการ เช่น การออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้การป้องกันและส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กปฐมวัย   การร่วมกับครูผู้ดูแลเด็กจัดกิจกรรมทางทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

               3) ให้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กประถมศึกษาและเด็กมัธยมศึกษา(ถ้ามี)

               เป็นการให้บริการป้องกันและส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กประถมศึกษาและเด็กมัธยมศึกษา   โดยเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องทั้งในด้านกิจกรรมการตรวจสุขภาพช่องปาก    การส่งเสริมการแปรงฟัน การควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม    เป็นต้น      รวมทั้งการจัดบริการรองรับการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน เช่น การบริการเคลือบหลุมร่องฟัน การให้ฟลูออไรด์ตามความเหมาะสม  การอุดฟัน  ขูดหินปูน เป็นต้น

         4) ให้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพแก่ประชาชนวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ  

               เป็นการให้บริการป้องกันและส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มประชาชนวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ    โดยเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ กิจกรรมที่ทำอาจเป็นการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพผ่านชมรม หรือเครือข่ายสุขภาพต่างๆในชุมชน   เป็นต้น     

2.  งานบริการทางทันตกรรม     

การบริการทางทันตกรรมจะต้องเป็นการจัดบริการทางทันตกรรมที่ทันตาภิบาลดำเนินการภายใต้ความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมเท่านั้น โดยสามารถให้บริการได้ดังนี้

                 2.1) ทันตกรรมป้องกัน

                         - ใช้สารฟลูออไรด์เพื่อป้องกันโรคฟันผุ

                         - ใช้สารเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันโรคฟันผุ

                         - ขูดหินปูนและทำความสะอาดฟันเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ

                  2.2) ทันตกรรมบำบัด

                         - ตรวจวินิจฉัยและคัดแยกโรคภายในช่องปาก

                         - อุดฟันชนิดไม่ซับซ้อนด้วยวัสดุอุดฟัน

                         - ถอนฟันที่ขึ้นปกติซึ่งไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อน

                         - รักษาโรคเหงือกอักเสบโดยการขูดหินปูน

                   2.3) ทันตกรรมบำบัดฉุกเฉิน

                         - บำบัดฉุกเฉินทางทันตกรรมเบื้องต้นเพื่อลดความเจ็บปวด เช่น การจ่ายยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ

            - การช่วยเหลือฉุกเฉินเบื้องต้นเนื่องจากการรักษาทางทันตกรรม ทั้งในช่วงก่อน

              ระหว่างและหลังการรักษา  เช่น ภาวะเลือดออกมาก หมดสติ เป็นต้น

                         - การส่งต่อทางทันตกรรม

3. งานทันตสาธารณสุขในชุมชน

               เน้นการสนับสนุนตามหลักสาธารณสุขมูลฐาน โดยผสมผสานไปกับงานสาธารณสุขอื่นๆ โดย      

               1) ร่วมวางแผนปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขชุมชนในพื้นที่รับผิดชอ

               2) ประชุมหรืออบรม อสม. ให้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในหมู่บ้าน

               3) สนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ โดยมี อสม.และผู้นำชุมชนเป็นผู้ดำเนินการหลัก


4. งานด้านบริหารจัดการและวิชาการ

1)    จัดทำแผนปฏิบัติงานด้านทันตสาธารณสุขประจำปี

2)    การบริหารงานพัสดุทันตกรรม และการบำรุงรักษาครุภัณฑ์ทางทันตกรรม

              3) การจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ ได้แก่  การรวบรวม  วิเคราะห์ผล  สรุปข้อมูล และการรายงาน หรือเผยแพร่ข้อมูลทางทันตสาธารณสุข   การนำข้อมูลไปประเมินผลการปฏิบัติงาน    ตลอดจนให้การส่งเสริม  สนับสนุนการจัดทำข้อมูลข่าวสาร และการประเมินผลงานทันตสาธารณสุขในระดับตำบล

4) การวางแผน/จัดทำโครงการพิเศษต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพในพื้นที่

             5) ดำเนินการศึกษาค้นคว้าและร่วมวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านทันตสาธารณสุขในตำบล/ อำเภอ/จังหวัด/ประเทศ                        

       

       

--->ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง เวลา 14.48 น. กำลังทำการบ้านเกี่ยวกับการทำบล็อก ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. กับการทำบล็อกกับอาจารย์ขจิต ฝอยทองคะ

ทศวรรตทันตาภิบาล

หมายเลขบันทึก: 440484เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท