บทที่ ๑


สสารและพลังงาน

 

ธาตุคือปรากฏการณ์ของอวกาศ

ธาตุ ๖ ได้แก่ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ และวิญญาณธาตุ ในความเห็นผู้วิจัย น่าจะแบ่งออกเป็นแค่ ๒ ธาตุ คือ ๑) อากาศธาตุ และ ๒) วิญญาณธาตุ เท่านั้น ดังที่จะอธิบายดังนี้

     ๑. อากาสธาตุ : เป็น ธาตุที่ให้กำเนิดธาตุทั้ง ๔ เมื่อมองในมุมมองของวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะนำทฤษฎีสตริง (String Theory) มาจับ ในทฤษฎีนี้เชื่อว่าสรรพสิ่งที่เป็นทั้งสสารและพลังงานเกิดมาจากเส้นใยเล็ก ๆชื่อว่า เส้นใยอวกาศ หรือ Fabric Space การเกิดของอีเลกตรอน โปรตอน และนิวเคลียส เกิดจาก ควาร์ก และในควาร์กก็เกิดจากเส้นใยที่เต้นเร่า ๆ พันกันเป็นปม ทำให้เกิด ควาร์กนั่นเอง จากนั้นก็เป็นอะตอม โมเลกุลและสสาร  

                    สสารและแร่ธาตุต่าง ๆ มีคุณสมบัติของธาตุทั้ง ๔ คือ ปฐวี เป็นธาตุที่มีลักษณะที่แข็ง อาโป เป็นธาตุที่มีลักษณะไหลลื่น วาโย เป็นลักษณะเป็นก๊าซ และเตโช เป็นลักษณะที่ให้ความร้อนได้หรืออาจเรียกว่าเป็นความร้อนแฝง ซึ่งมีอยู่ในธาตุทุก ๆ ธาตุในจักรวาล

                    ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ว่าด้วยเรื่อง กาล-อวกาศ (Time –Space) กล่าวว่า อวกาศมีตัวตน เพราะสังเกตได้จากแสงเดินทางตามอวกาศ (Space) ซึ่งจะเห็นได้ชัดเมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุที่มีมวลมาก จะโค้งงอตามอวกาศที่ยุบลงไปจากมวลของดาวดวงนั้น ทำให้แสงเดินทางอ้อมวัตถุนั้น ๆ

 

 

ภาพลำแสงโค้งงอเมื่อผ่านวัตถุขนาดใหญ่

                    ๒. วิญญาณธาตุ : เป็นธาตุที่เราเรียกว่าธาตุรู้ หรือจิต นั่นเอง ซึ่งมีเจตสิกเป็นองค์ประกอบถึง ๕๒ ลักษณะ ในทางพรพุทธศาสนาเชื่อว่าวิญญาณหรือจิตนั้นมีจริง และเป็นส่วนหนึ่งในปรมัตถธรรมหรือความจริงทั้ง ๔ ได้แก่ รูป จิต เจตสิก และนิพพาน

                    ดังนั้นจากการวิเคราะห์ตามปรมัตถธรรมแล้ว รูป หมายถึง อวกาศ คือ อากาสธาตุ และ จิตกับเจตสิก คือวิญญาณธาตุ ถ้าว่าตามปรมัตถธรรมยังขาดนิพพาน ซึ่งในคัมภีร์กล่าวว่านิพพานเป็นธาตุอย่างหนึ่ง ดังพุทธพจน์ว่าไว้

                     “. . . คราวที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แผ่นดินนี้  ก็ไหวสั่นสะเทือน    เลื่อนลั่น    นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่    ๘    ที่ทำให้ เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง” [๑]

                    “. . . แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้    เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้” [๒]

                    เมื่อมองภาพที่ใหญ่ขึ้นจักรวาลคือรูป ส่วนจิตคือส่วนของนาม สภาวะนิพพานคือสภาวะที่ไร้การปรุงแต่งหรือปรุงแต่งไม่ได้ การปรุงแต่งควรหมายถึงการปรุงแต่งทางรูป หมายถึงจิตไปเสพย์ภพชาติ หรือเรียกว่าจักรวาล กลไกของการเสพย์มีความวิจิตรพิสดารมาก และจิตไม่มีกาลเวลาตามโลกและจักรวาล ไม่คิดยึดกับสถานที่ (อวกาศ) เช่นตายแล้วเกิดเลยไม่ว่าดินแดนนั้นจะไกลขนาดไหนก็ไปเกิดโดยทันทีที่ตายลงไป ตายที่ประเทศไทยไปเกิดอีกซึกโลกหนึ่งทันทีแม้แต่แสงยังเดินตามไม่ทัน

                    จากเหตุผลที่กล่าวมานี้จิตจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจักรวาล เป็นเพราะจิตที่มีกิเลสครอบงำจึงยึดมั่นในภพภูมิที่เกิดและตามวิบากในส่วนหนึ่ง การที่จะหลุดทางพันธนาการได้นั้นต้องอาศัยนิพพานธาตุ ซึ่งทางพระพุทธศาสนา มีวิธีการ คือ สติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เห็นในไตรลักษณ์ แล้วจิตจะคลายความยึดมั่นในจักรวาลเพราะเกิดวิมุตติ เกิดวิราคะเองโดยอัตโนมัติ   

 

 

 

 

 

 



[๑] ที.ม. (ไทย)  ๑๐/๑๗๑/๑๑๘

[๒] อํ. ม. (ไทย) ๒๓/๑๙/๒๕๐.

คำสำคัญ (Tags): #ปรมัตถธรรม
หมายเลขบันทึก: 440419เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท