หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

พลาสติก (๑๘) : เจ้าตัวร้าย


ภาชนะพลาสติกใส่อาหาร ยิ่งนิ่มเท่าไร ยิ่งส่งผลให้พาทาเลตปนในอาหารได้มากเท่านั้น ภาชนะจะดียังไง ก็มีโอกาสที่พาทาเลตจะปนเปื้อนในอาหาร เพราะว่าที่หลุดง่ายเป็นจากโครงสร้างเคมีของตัวมันเอง DEHP ละลายในไขมัน เมื่ออยู่กับไขมันจึงละลายออกมาปนเปื้อนง่าย อาหารที่มีไขมัน เมื่อใช้พลาสติกห่อหุ้มโดยเฉพาะพลาสติกยืด จึงเป็นแหล่งก่อโรคที่คนไม่สำเหนียก พาทาเลตเข้าตัวคนแล้วไม่ออกฤทธิ์ทันทีนั้น แต่สะสมและก่อกวนจนกระทั่งอวัยวะรวน กลายเนื้อตัวเองจนเป็นมะเร็ง

พลาสติกรอบตัวมีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าไม้จิ้มฟันยันเรือรบ  เมื่อพลาสติกใกล้ตัวมาก ก็จำเป็นต้องรู้จักตัวร้ายๆไว้  ไดออกซินเป็นก๊กแรกที่ชวนให้ทำความรู้จักกันบ้างแล้ว แต่ยังไม่ลึก

PVC มีหลายพันรูปแบบ หากรู้จักมากขึ้นก็จะระวัง “พาทาเลต Pthalate” ซึ่งเป็นสารก่อโรคที่อยู่ในเนื้อของมันได้เพิ่มขึ้น

เวลาผลิต PVC มีสารที่เรียกว่า “Plasticzers” ถูกเติมลงไปเพื่อทำให้พลาสติกอ่อนตัวหรือยืดหยุ่น ตามความต้องการใช้งาน พาทาเลตคือเจ้าตัวนี้แหละ

สัดส่วนที่ถูกเติมอยู่ราวๆ 40% โดยน้ำหนัก  อเมริกามีกฎว่าให้เติมไม่เกิน 30%  ไม่รู้เหมือนกันว่าบ้านเรามีกฏหรือเปล่า

พาทาเลตที่รู้แล้วว่าก่อมะเร็ง มีชื่อเรียกว่า DEHP หรือ Di (2-ethylhexyl) Phthalate  มันเป็นตัวที่ทำให้พลาสติกยืดได้ มีความอ่อนตัวจนพับได้

ถุงพลาสติก พลาสติกห่ออาหาร ฟิล์มยืดห่อสำหรับอาหาร ของเล่นเด็ก ใช้ DEHP ในกระบวนการผลิต

พาทาเลตยังก่อกวนระบบฮอร์โมนเพศของคนด้วย ผลนี้ทำให้ผู้ชายมีอัณฑะฝ่อลงนะจะบอกให้ ตัวมันมีพิษต่อตับ ก่อนจะก่อมะเร็งด้วยจำไว้ให้ดีนะจ๊ะ นะจ๊ะ

DEHP ละลายในไขมัน เมื่ออยู่กับไขมันจึงละลายออกมาปนเปื้อนง่าย

อาหารที่มีไขมัน เมื่อใช้พลาสติกห่อหุ้มโดยเฉพาะพลาสติกยืด จึงเป็นแหล่งก่อโรคที่คนไม่สำเหนียก

พาทาเลตเข้าตัวคนแล้วไม่ออกฤทธิ์ทันทีนั้น แต่สะสมและก่อกวนจนกระทั่งอวัยวะรวน กลายเนื้อตัวเองจนเป็นมะเร็ง

ภาชนะพลาสติกใส่อาหาร ยิ่งนิ่มเท่าไร ยิ่งส่งผลให้พาทาเลตปนในอาหารได้มากเท่านั้น

ภาชนะจะดียังไง ก็มีโอกาสที่พาทาเลตจะปนเปื้อนในอาหาร เพราะว่าที่หลุดง่ายเป็นจากโครงสร้างเคมีของตัวมันเอง

พาทาเลตเข้าร่างกายคนเหมือนสารเคมีตัวอื่นๆ คือ เข้าทางการกิน หายใจ และสัมผัสผิวหนัง

น่าจะทำความรู้จักไว้หน่อยว่าอะไรบ้างที่มีพาทาเลตอยู่ เผื่อได้เจอเหตุฉุกเฉินเมื่อไร จะได้ดูแลตัวเองได้ ตัวอย่างที่พอรวบรวมมาได้ก็มี

กลุ่มภาชนะใส่อาหาร : ขวด ชาม ฟิล์มยืดห่ออาหาร ถุงพลาสติก

กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ : พื้นวอลเปเปอร์ เส้นขอบสระน้ำ พรมปูพื้น  ผ้าคลุมโน๊ตบุ๊ค  ตะกร้าในเครื่องล้างชาม ผ้ากันตัวไรหรือเห็บ

กลุ่มแต่งกาย : ชุดทำสวน รองเท้า

กลุ่มเครื่องมือทางการแพทย์ : สายให้น้ำเกลือ ให้เลือด สายสวน ท่อสำหรับระบาย ถุงใส่เลือด

กลุ่มของใช้เด็กเล็ก : ขวดนม ของเล่น ของขบเคี้ยวเล่น หนังฟอกปลอม

กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : สายเคเบิล วัสดุก่อสร้าง ลวด แผ่นกระเบื้องไวนิล  วัสดุทำพื้น ผ้าใบ เครื่องมือต่าง ๆ ผ้าใบกันน้ำ

กลุ่มยานพาหนะ : ยานพาพนะที่มีตีนตะขาบสำหรับขนส่งอาหาร ชิ้นส่วนรถยนต์

มีอีกเรื่องที่ควรรู้ พาทาเลตมักจะอยู่ที่ผิวเคลือบของสิ่งของ การเคี้ยว การอมจึงเป็นพฤติกรรมที่ส่งมันเข้าตัวได้

ตรงนี้ขอย้ำต่อ ฝากดูแลเด็กๆด้วย ดูแลอย่าให้เอาพลาสติกใส่ปากอมหรือเคี้ยวเล่นนา

หมายเลขบันทึก: 439952เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2011 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณหมอเจ๊มากครับที่ส่งสัญญาณเตือนเรื่อง Phthalate และ PVC ผมเริ่มสำรวจตู้เย็นและโต๊ะกินข้าวที่บ้าน โชคดีที่ไม่พบ Phthalate ภาชนะส่วนมากเป็น Melamine , Polyethylene (PE) และ Polypropylene (PP) ซึ่งไม่มี phthalate หรือเป็น phthalate-free plastic ครับ

หลายปีก่อน เคยเห็นญาติซึ่งมาเฝ้าผู้ป่วยที่โรงพยาบาลน่าน เขาหิ้วแกลลอนน้ำมันเครื่องบรรจุน้ำมาดื่ม ผมตกใจมากจึงไปขอแกลลอนยาน้ำ Polyethylene (PE) มาให้ "ความไม่รู้" เป็นปัญหาใหญ่ในชนบทครับ แกลลอนน้ำมันเครื่องเป็น Polyethylene (PE) แต่น้ำมันที่ปะปนมากับน้ำดื่มนั้น อันตรายกว่า Phthalate หลายเท่า

หลายปีผ่านไป ไม่ทราบว่าชาวบ้าน "รู้" และเลือกภาชนะบรรจุน้ำดื่มที่ปลอดภัยมากขึ้นแล้วหรือยัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท