พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ตามรอยพระยุคลบาท


วันที่ 14 พฤษภาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ การประชุมชาวพุทธนานาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 8 ประจำปี 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุม

การประชุมเริ่มต้นด้วยการเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์นานาชาติ ติดตามด้วยสาส์นแสดงความชื่นชมยินดีจากบุคคลสำคัญทั่วโลก เช่น สาส์นจากนายบันคีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ(United Nation) ดร.โนวลีน เฮเซอร์ เลขาธิการสำนักงานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) คุณไอรีนา บูโควา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาชาติ (UNESCO) ฯพณฯ ดี.เอ็ม. ชยรัตเน นายกรัฐมนตรีประเทศศรีลังกา นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดถึงผู้นำทางพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก

สำหรับปาฐกถาพิเศษในการประชุมในวันนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับเชิญให้มาแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ตามรอยพระยุคลบาท" โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเข้าพระทัยในหลักพุทธธรรมอย่างแจ่มแจ้ง อีกทั้งยังทรงนำหลักพุทธธรรมประยุกต์ในพระราชกรณียกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์ทรงใช้หลักอริยสัจ 4 เป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่ราษฏรภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบ กล่าวคือ ทรงศึกษาปัญหาให้เห็นสภาพที่แท้จริง ค้นหาสาเหตุของปัญหานั้น ทรงวางเป้าหมายในการแก้ปัญหา และทรงค้นหาวิธีการที่จะจัดการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งลงมือปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยพระปัญญาอันแหลมคมเหมาะสมยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น การจัดการกับปัญหาน้ำเน่าเสียและปัญหาผักตบชวา ในคลองที่จังหวัดสมุทรปราการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงชี้ให้เห็นปัญหาพักตบชวาที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ไม่มีออกซิเจนในน้ำ อีกทั้งมีน้ำเสียถูกปล่อยลงสู่คลอง ทำให้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย สัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำก็ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ เกิดปัญหาทางสุขภาวะแก่ทั้งคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ พระองค์ได้รับสั่งให้ดำเนินการแก้ไขโดยปรับพื้นที่ให้พักตบชวาอยู่ในพื้นที่จำกัด เว้นพื้นที่น้ำให้แสงอาทิตย์สามารถส่องลงถึงพื้นน้ำได้ ซึ่งเป็นการเต็มออกซิเจนให้น้ำ อีกทั้งใช้ผักตบชวาได้ใช้รากเป็นตัวจับสารแขวนลอยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำเน่าเสีย ไม่นานหลังจากทรงดำเนินการน้ำในคลองก็เริ่มใสขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นการใช้หลักธรรมชาติบำบัด โดยทรงใช้ศัพท์ว่า “ใช้อธรรมสู้กับอธรรม” แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเข้าพระทัยลึกซึ้งในหลักพุทธธรรม กระทั่งสามารถนำหลักพุทธธรรมนั้นมาประยุกต์กับหลักธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม

ภาคบ่ายนอกจากจะมีการกล่าวสุนทรพจน์โดยผู้นำทางพระพุทธศาสนาและผู้นำทางการเมืองจากทั่วโลกแล้ว ได้มีการสรุปรวมผลการนำเสนอบทความในกลุ่มย่อยทั้งหกกลุ่ม และการอ่านแถลงการณ์ปฏิญญากรุงเทพมหานคร2011/2554 โดยพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุม มีสาระสำคัญเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการแก้ไขปัญหา รำลึกถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกัน ระหว่างองค์กรและปัจเจกบุคคลต่างๆ จากพระพุทธศาสนาทุกนิกาย รวมทั้งการเรียกร้องให้ชาวพุทธทั่วโลกได้ตื่นตัว นำหลักพุทธธรรมไปใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วย

ในการจัดการประชุมวันนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากส่วนกลางให้ดำเนินการจัดนิทรรศการเรื่อง “พุทธศิลปกรรมเพื่อการจัดการกับปัญหาโลกร้อน” ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ซึ่งมีทั้งภาพวาดเกี่ยวกับกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดสาธิตการวาดภาพ การทำลายรดน้ำ โดยนิสิตสาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ซึ่งนับว่าได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมการประชุมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งจากการเข้าชมนิทรรศการ การถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก หรือแม้แต่การสอบถามคณาจารย์และนิสิตถึงหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการซื้อภาพวาดของนิสิตที่สาธิตในการจัดแสดงนิทรรศการไว้เป็นที่ระลึก

หมายเลขบันทึก: 439573เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นมัสการครับ...

ไปมอสโคมาเป๋นใดพ่องครับ...

น่าสนใจมาก ในหลายๆมิติ เช่น ความเป็นสังคมนิยมแปรรูป การดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยม ค่านิยมทางศาสนา การเปิดรับโลกกว้าง อาจไม่ได้เขียนเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด แต่มีบางประเด็นที่เขียนในบันทึกแล้ว ลองอ่านเพิ่มเติมได้นะ

นมัสการครับอาจารย์

ตอนนี้ผมสนใจเรื่องการต่อสู้กับโลกาภิวัตน์

ไปเจอหมู่บ้านหนึ่งที่บ้านเกิด (ดอยมูเซอ จ.ตาก) สู้กับโลกาภิวัตน์ได้มันส์มาก ๆ

พัฒนาโครงร่างวิจัยไปขอทุนแล้ว (แต่ไม่มีทุนก็จะทำ)

เดี๋ยวส่ง proposal ให้อาจารย์ช่วย comment หน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท