หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

พลาสติก (๙) : เสื่อมสลาย


“สลาย” มีความหมายว่า “หมดไป” เวลาพลาสติกสลายตัวมีความแตกต่าง และความเหมือน เหมือนกันตรงที่เมื่อสลายแล้วเล็กลงๆ ต่างกันตรงการปล่อยสารออกจากตัวเมื่อขนาดเล็กลงๆ จึงน่าสนใจการสลายตัวของพลาสติกไว้ เพื่อใช้จัดการมันเมื่อกลายเป็นขยะ

เคยใช้กาละมังพลาสติกมั๊ยค่ะ พอมันแตกแล้วเราทิ้งไว้ นานๆเข้ามันก็เปราะ ไปจับต้องมันเข้าบางชิ้นก็บิแตกติดมือ เมื่อรู้ว่าสารเคมีผลิตพลาสติกย่อยสลายได้พบมากว่า ๑๐ ปีแล้ว ก็สนใจว่ากาละมังนั้นเป็นพลาสติกย่อยสลายหรือเปล่า

จะดูยังไงว่าพลาสติกนั้นเป็นพลาสติกย่อยสลายได้  ตอนนี้ก็มีแค่เรื่องอายุการสลาย และเข้าถึงข้อมูลวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเท่านั้นเอง

พลาสติกที่ย่อยสลายได้จะย่อยตัวมันให้หมดไปภายใน ๑ ปี

เกินจากนี้ก็เป็นพลาสติกที่มีสารเคมีอันตรายแฝงอยู่ทั้งนั้น และใช้เวลานานมาก เช่น

โฟม ไม่ย่อยสลายเลย

ขวด ถุงพลาสติก ๔๕๐ ปี

รองเท้า ๒๕-๔๐ ปี

ถ้วยกระดาษเคลือบ ๕ ปี

จะเห็นว่ารู้อายุก็ไม่ช่วยให้คนมีโอกาสเลือกใช้พลาสติก เพราะจะรู้จักชนิด ต้องรอให้มันสลายตัว

ถ้ากลับไปที่เลือกด้วยตัวเลขกำกับที่เล่าไว้แล้ว ก็พบว่ายากตรงที่การกำกับมาตรฐานการผลิตของบ้านเรา และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตไม่ดี บรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายอย่างที่ออกมาในตลาดจึงไม่มีตัวเลขกำกับไว้

อย่างนี้จะใช้พลาสติกย่อยสลายได้ มีแต่ต้องเข้าถึงข้อมูลวัตถุดิบการผลิตจึงเลือกได้ก่อนใช้ หรือไม่ก็ต้องอาศัยความซื่อสัตย์ของผู้ผลิต ช่วยระบุว่าเป็นพลาสติกชนิดย่อยสลาย (จะเชื่อใน CSR ได้หรือ ????? ) เท่านั้นแหละ

สำหรับคนที่ไม่สนใจรี ไซเคิล มันยากตั้งแต่เริ่มต้นให้จำตัวเลข และประเภทแล้ว อย่างนี้น่าจะทำให้ง่าย แบบไม่ต้องจำ ระบุวันหมดอายุใช้งานของพลาสติกเหมือนตราอย.จะได้มั๊ยนี่

คนจะได้ไม่ต้องจำ และง่ายต่อการให้ความร่วมมือในการเลือกใช้พลาสติก ลดโลกร้อน

“สลาย” มีความหมายว่า “หมดไป”  เวลาพลาสติกสลายตัวมีความแตกต่าง และความเหมือน  เหมือนกันตรงที่เมื่อสลายแล้วเล็กลงๆ ต่างกันตรงการปล่อยสารออกจากตัวเมื่อขนาดเล็กลงๆ จึงน่าสนใจการสลายตัวของพลาสติกไว้ เพื่อใช้จัดการมันเมื่อกลายเป็นขยะ

การสลายตัวของพลาสติกมี ๕ รูปแบบ

๓ ใน ๕ เป็นการสลายตัวที่จุลินทรีย์เข้ามามีบทบาทในการทำให้หมดไป  ๒ ใน ๔ รูปแบบมีน้ำ หรือ แสงเข้ามาเกี่ยวข้อง  มาดูกันว่าเป็นยังไง

วิธีแรก   ใช้จุลินทรีย์ทำให้พลาสติกมีขนาดเล็กลงๆ ด้วยการไปเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของพลาสติก ภายใต้เวลาหนึ่งที่กำหนด ให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ( Biodegradable plastics)

วิธีที่ ๒   ใช้น้ำทำให้พลาสติกเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีก่อนแล้วต่อด้วยวิธีแรก ( Hydro-biodegradable plastics)

วิธีที่ ๓   ใช้แสงทำให้พลาสติกเปลี่ยนแปลงก่อนแล้วต่อด้วยวิธีแรก ( Photo-biodegradable plastics)

วิธีที่ ๔   ใช้น้ำทำให้พลาสติกเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีให้เปราะก่อน แล้วใช้ความร้อน (heat ageing ) หรือแสง (UV ageing) ทำให้แตกหัก (Bioerodable plastics)

วิธีที่ ๕    เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลาสติก ด้วยกระบวนการหมักร่วมไปกับขยะอินทรีย์ในสภาวะแวดล้อม ที่มีการใช้ออกซิเจนที่กำหนด ( Compostable plastics) ทำให้ภายใน ๑-๓ เดือน  พลาสติกกลายเป็นปุ๋ยผสม ใช้ปรับสภาพดินให้ร่วนซุยได้

ตัวอย่างขวดที่ย่อยสลายด้วยวิธีการที่ ๕

หมายเลขบันทึก: 439487เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...“สลาย” มีความหมายว่า “หมดไป”...

Perhaps, we should make clear the difference between

(a) 'breaking down into very small pieces' but every piece is still plastic (like iron), and

(b) 'degrading into smaller particles of different properties (like iron oxides), and some may be

(c) 'becoming raw materials (for re-use) in natural cycles

Obviously, it would be good for plastic bags to be of (c) type=หมดไป rather than (a) type=ไม่หมดไป. ;-)

  • สวัสดีค่ะคุณครู sr
  • ขอบคุณที่มาช่วยสร้างความชัดคมของความหมายเชิงภาษานะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท