computer


คอม

บทที่ 1

คอมพิวเตอร์พื้นฐาน

  •  

    กล่าวนำทั่วไป 

ปัจจุบันนี้คงเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า  “คอมพิวเตอร์”    ได้กลาย

เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราแล้ว “คอมพิวเตอร์” เข้ามามีบทบาทในงานต่าง ๆ

เกือบทุกด้านในสังคมมนุษย์

อัลวิน ทอฟเลอร์ นักวิชาการชาวอเมริกัน (ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Third Wave) ได้ทำนายไว้ว่า บรรยากาศของการทำงานในสำนักงานสำหรับอนาคตนั้น จะไม่รกรุงรังด้วยกระดาษ จะไม่มีการนำข้อมูลเข้าแฟ้มผิด ๆ อีกแล้ว ข้อมูลสถิติทางการตลาด การขาย การบัญชี ทุกอย่างจะทันสมัย ทันเวลา การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีขีดความสามารถสูง เช่น

ü    สามารถจัดเก็บข้อมูลจากจุดเกิดได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้รหัสแท่ง

ü    สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ๆ เอาไว้ใช้งาน หรืออ้างอิงได้

ü    สามารถคำนวณหาผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ü    สามารถสร้างผลลัพธ์ได้หลากหลายรูปแบบ

ü    สามารถส่งสารสนเทศ ข้อมูล หรือผลลัพธ์ที่ได้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

ความสามารถที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งรวมกันเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

 

 

 

  • คอมพิวเตอร์คืออะไร 

คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถทำงานได้เอนกประสงค์

ขึ้นอยู่กับคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่มนุษย์กำหนดให้ คอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้น

มาเพื่อวัตถุประสงค์หลักคือ การคำนวณค่าต่าง ๆ แทนมนุษย์  แต่การคำนวณ

นั้นจะต้องมีขั้นตอนที่สามารถพิสูจน์ได้ หรือ

คอมพิวเตอร์ คือ มนุษย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความเป็นเลิศในด้านการคิด

ตามขั้นตอน หรือโปรแกรมที่มนุษย์ธรรมดา (คน) กำหนดให้ มนุษย์อิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถดังนี้

ü   

 

อ่านข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว / อัตโนมัติ

ü    จดจำรายละเอียดของข้อมูลที่อ่านได้อย่างแม่นยำ 

ü    ดำเนินการคำนวณประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว

ü    สามารถแสดงผลข้อมูลได้ทุกรูปแบบ

ü    สามารถควบคุมอุปกรณ์อื่น หรือเครื่องมืออื่นได้

ü    ทำงานได้ตลอดเวลา ไม่มีข้อต่อรอง

ü    ทำงานในภาวะที่อันตรายแทนมนุษย์ได้

ü    สามารถทำงานที่มนุษย์อาจจะทำไม่ได้

 

  •  

     จุดด้อยของคอมพิวเตอร์ 

L  ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง จะทำงานตามที่มนุษย์สั่งเท่านั้น

L  มีอายุการใช้งานไม่แน่นอน เพราะเป็นอุปกรณ์ Electronic

L  ต้องระวังเรื่องความลับ และความปลอดภัยข้อมูล

L  มีผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ใช้

 

  • หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ 

          เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะอาศัยหลักการทำงานที่สอดคล้องกันอยู่ 4 อย่าง คือ

  1. รับข้อมูล และชุดคำสั่ง (หน้าที่ของ Input Unit)
  2. ประมวลผลข้อมูลที่ได้ ตามคำสั่งหรือชุดคำสั่ง (หน้าที่ของ CPU)
  3. แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว (หน้าที่ของ Output Unit)
  4. บันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูล เพื่อเรียกกลับมาใช้อีกครั้ง (หน้าที่ของ Memory Unit)

 

  • ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ 

1.  Input Unit หรือหน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ทำหน้าที่รับคำสั่งต่าง ๆ เข้าไปเก็บไว้ภายในเครื่อง เพื่อให้เครื่องดำเนินการประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการ โดยที่ข้อมูลและคำสั่งที่ป้อนเข้าไปนั้นต้องอยู่ในรูปแบบรหัส (Code) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านและรับรู้ได้ หน่วยรับข้อมูลถูกจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ

à       หน่วยรับข้อมูลแบบธรรมดา เป็นหน่วยที่รับข้อมูลโดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูลของคอมพิวเตอร์เท่านั้น เช่น

-         เครื่องอ่านบัตรเจาะรู (Card Reader)

-         เครื่องอ่านเทปกระดาษ (Paper Tape Reader)

-         เครื่องอ่านเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape Reader)

-         เครื่องอ่านแผ่นดิสก์แบบอ่อน (Diskette Drive หรือ Floppy Disk Drive)

-         เครื่องอ่านแผ่นดิสก์แบบแข็ง (Hard Disk Drive)

-         เครื่องอ่านแผ่นซี-ดี (CD-ROM Drive)

 

à       หน่วยรับข้อมูลแบบพิเศษ เป็นหน่วยที่รับข้อมูลจากตัวกลางซึ่งออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลโดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

-    เครื่องอ่านตัวอักษรที่เขียนด้วยหมึกแม่เหล็ก (Magnetic Ink Character Recognition : MICR) คือหน่วยรับข้อมูลที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลจากเอกสารที่พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ชนิดพิเศษที่ผสมด้วยสารแม่เหล็ก เช่น รหัสต่าง ๆ บนเช็คของธนาคารต่าง ๆ

-         เครื่องรับข้อมูลจากเอกสารโดยตรง เป็นเครื่องมืออ่านข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเอกสาร ในรูปของตัวพิมพ์ ลายมือ หรือเกิดจากการฝนด้วยดินสอ และอาจจะอยู่ในรูปของรหัสที่ออกแบบไว้เฉพาะ อุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่

 

  •  

    เครื่อง OCR : Optical Character Reader คืออ่านเอกสาร

ต่าง ๆ แล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เช่น Scanner

  • เครื่อง OMR : Optical Mark Reader เป็นหน่วยรับข้อมูล

ที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลที่ได้จากการฝนดินสอขนาด  2B เช่น

การสอบ,การลงทะเบียนของสถาบันการศึกษา

  •  

    เครื่องอ่านแถบสี (Bar Code Reader) เป็นหน่วยรับข้อมูลที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปรหัสแถบสีขาวสลับดำ (Bar Code) เช่น เครื่องอ่านตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ

 

à       หน่วยรับข้อมูลโดยตรง เป็นหน่วยที่รับข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยไม่ต้องผ่านสื่อข้อมูล เช่น

-         Keyboard หรือแป้นพิมพ์

-         Mouse คืออุปกรณ์ชี้ตำแหน่งในการป้อนคำสั่งด้วยการ Click, Double Click, Drag

-         Joystick คืออุปกรณ์ป้อนข้อมูลที่ ใช้ในการบังคับและควบคุมการเล่นเกมต่าง ๆ

-         Digital Camera : คือกล้องถ่ายภาพ Digital

-         Microphone : คืออุปกรณ์รับสัญญาณเสียง

-         เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM: Automatic Teller Machine)

 

2.  Central Processing Unit หรือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่เป็นสมองคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 3 ส่วน คือ

à  

CPU

 

CU

ALU

ALU : Arithmetic and Logical Unit เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ด้านการคำนวณค่าต่าง ๆ ตามคำสั่งที่ป้อนเข้ามา เช่น บวก ลบ คูณ หาร และการทำงานในรูปแบบของฟังก์ชันต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางด้านตรรกวิทยา (Logical) อีกด้วย

à  

 

 

Memory

Register

Control Unit (CU) หรือหน่วยควบคุม ทำหน้าที่ดูแลและประสานงานในการทำงานของหน่วยต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ ได้แก่การรับ-ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ ซึ่งการปฏิบัติงานของหน่วยควบคุมนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอนคือ

-    การอ่านและแปลคำสั่ง (Instruction Cycle) ในขั้นนี้ CU จะทำการแปลคำสั่งเป็นรหัสในการทำงาน เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได รหัสการทำงานดังกล่าวนี้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของ CPU

-    การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคำสั่ง (Execution Cycle) ในขั้นนี้ CU จะทำการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งจากขั้นตอน Instruction Cycle

à  

 

 

หน่วยความจำย่อย ทำหน้าที่เป็นที่พักข้อมูลไว้ชั่วคราว (Buffer) เพื่อประโยชน์ในการทำงานของตัวประมวลผลหรือ Processor ทำให้การประมวลผลนั้นเร็วยิ่งขึ้น หน่วยความจำย่อยในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น

-         Register ต่าง ๆ

-         Cache Memory

 

3.  Output Unit หรือหน่วยแสดงผล เป็นหน่วยที่นำเอาผลหลังจากที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วออกมาแสดงในงานลักษณะต่าง ๆ เช่น พิมพ์เป็นตัวอักษรและตัวเลขหรือตารางต่าง ๆ นอกจากนี้ผลที่ได้ยังสามารถเก็บไว้ในรูปที่อาจจะนำมาใช้ประมวลผลต่อไปได้อีก เช่น เจาะลงบัตรหรือบันทึกลงเทปและแผ่นดิสก์ หน่วยแสดงผลสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

à       หน่วยแสดงผลแบบธรรมดา

 

     เป็นหน่วยแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปของเอกสาร เช่น กระดาษ ซึ่งเครื่องที่แสดงผลในรูปแบบนี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 2 แบบคือ

  1. เครื่องพิมพ์แบบอิมแพค (Impact Printer) ใช้วิธีการพิมพ์

แบบกระแทก โดยการผ่านผ้าหมึกกระทบกับกระดาษพิมพ์

เช่น Dot-matrix Printer

2. 

 

เครื่องพิมพ์แบบนอนอิมแพค (Non-impact Printer) เป็นการพิมพ์โดยอาศัยเทคโนโลยีแบบใหม่แทนการตอกหัวพิมพ์ลงบนผ้าหมึก จึงทำให้พิมพ์ได้เร็วกว่าแบบอิมแพค เช่น Laser Printer, Inkjet Printer เป็นต้น

 

à       หน่วยแสดงผลแบบพิเศษ

 

 

เป็นหน่วยแสดงผลที่สามารถนำเอาผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น จอภาพ นอกจากนั้นยังเป็นส่วนแสดงผลที่สามารถนำเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นได้ด้วย เช่น เครื่องบันทึกแผ่นดิสก์ (Disk Drive), เครื่องวาด (Plotter) เป็นต้น

 

  1. Memory Unit เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ เอาไว้เพื่อส่งให้ส่วนประมวลผลกลางนำเอาไปใช้ในการประมวลผลข้อมูลแต่ละครั้ง สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

à       หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องติดต่อกับ CPU อยู่ตลอดเวลาเมื่อเครื่องถูกเปิดใช้งานอยู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

-    RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่จดจำข้อมูลไว้ได้ชั่วคราว ข้อมูลที่เก็บใน RAM นั้นผู้ใช้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาแต่เมื่อไฟดับข้อมูลเหล่านั้นจะหายหมด

-    ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้ค่อนข้างถาวร ข้อมูลเหล่านี้จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ อ่านมาใช้ได้อย่างเดียวเท่านั้น ส่วนมากจะเก็บคำสั่งที่เป็นโปรแกรมควบคุมระบบ เช่น ROM BIOS (Basic Input/Output System)

à       หน่วยความจำรอง (Secondary Memory) หรือสื่อข้อมูล เป็นหน่วยความจำที่เป็นที่เก็บข้อมูลเอาไว้เพื่อประโยชน์ในการเรียกลับมาใช้อีกครั้งในอนาคต เช่น Hard Disk , แผ่น Floppy Disk , แผ่นซีดีรอม เป็นต้น

 

  • ประเภทของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนมากแล้วเป็น Digital Computer ซึ่งมีหลักการทำงานที่คล้ายกัน จะแตกต่างก็แต่สมรรถนะในการทำงาน หรือความสามารถในการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ภายนอกเท่านั้น เมื่อพิจารณาในแง่นี้ เราสามารถแยกคอมพิวเตอร์ออกได้ดังนี้

à      

 

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

-         มีสมรรถนะสูงที่สุด (High Performance Computer)

-         สามารถคำนวณจุดทศนิยมได้หลายร้อยล้านจุด

-         เหมาะสำหรับงานวิจัยที่มีการคำนวณมาก ๆ เช่น   วิเคราะห์ภาพถ่าย

ทางอากาศ งานจำลองแบบโมเลกุล ปัจจุบันมีอยู่ในประเทศไทยคือรุ่น

Cray YMP ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

(NECTEC :National Electronics and Computer Technology Center)

 

 

 

à       เมนเฟรม (Mainframe)

-         มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 

-         เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก ๆ เช่น ธนาคาร

-         ราคาแพง ใช้งานยาก สามารถพ่วงต่อกับ Peripheral ได้มากมาย

 

 

 

 

 

à       มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)

-         มีสมรรถนะสูง แต่ยังต่ำกว่าเมนเฟรม

-         ควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า  ราคาถูกกว่า

-         เช่น เครื่อง AS/400 และ RISC/6000 ของ IBM

 

 

 

à       ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

-         มีขนาดเล็ก  มีการพัฒนารวดเร็วที่สุด ราคาถูก

-         บางเครื่องอาจจะมีสมรรถนะสูงพอ ๆ กับเครื่อง Mini ก็ได้

-         บางครั้งเรียกว่า เครื่อง PC : Personal Computer

  • ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (Computer System)

 

คำว่า ระบบไมโครคอมพิวเตอร์  ในที่นี้มีความหมายกว้างกว่าคำว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะต้องการให้หมายถึงส่วนทุกส่วนที่รวมกันแล้ว ทำให้เราสามารถใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด การพิจารณาระบบโดยรวมนั้น จะช่วยให้เรามีทัศนคติที่กว้างขึ้น และเข้าใจการประยุกต์ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น ซึ่งระบบไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญหลายส่วน คือ

 

  1. 1.    ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ซึ่งประกอบขึ้นเพื่อสนับสนุน

การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์       เป็นส่วนที่สามารถมองเห็น

สัมผัส จับต้องได้ เช่น ตัวเครื่อง,จอภาพ,เครื่องพิมพ์,แผงวงจรเสียง

หรือ (Sound Card) เป็นต้น

 

 

 

  1. 2.    ซอฟต์แวร์ (Software)

คือ ชุดคำสั่งที่เรามีไว้สำหรับสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มองเห็นได้เมื่อเขียนออกมาเป็นรูปคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์เป็นตัวการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ

 

 

  1. 3.   

     

    ข้อมูล (Data)

คือ ข้อมูลต่าง ๆ   ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล คำนวณ

หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ

เช่น ข้อมูลบุคลากร  ได้แก่ ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา และ

ประวัติการทำงาน เป็นต้น

      ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์   ถ้าหากฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์มีอันเสียไปยังหาซื้อมาใช้ใหม่ได้ แต่ถ้าหากข้อมูลสูญหายไป หรือตกอยู่ในมือของคู่แข่งหรือในมือของผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ หน่วยงานอาจจะประสบปัญหาในการดำเนินงานได้ทันที

Computer จะดำเนินการต่อข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณ Digital นั่นคือข้อมูลต่าง ๆ จะอยู่ในรูปรหัส 2 สถานะคือ 0 กับ 1 ถ้านำสัญญาณ Digital ทั้งหมด 8 หลัก แต่ละหลักเกิดสถานะได้ 2 ค่า จะทำให้เราสามารถสร้างรหัสขึ้นมาได้ 2x2x2x2x2x2x2x2 หรือ 28 = 256 ค่า

 

 

 

 

  1. 4.   

     

    บุคลากร (People ware)

      คือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่มเช่น ผู้บริหาร

นักวิชาการ และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งบุคลากรทางด้าน คอมพิวเตอร์นั้น มีความ

สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียม

ระบบ จัดเตรียมโปรแกรม  และดำเนินการต่าง ๆ    หลายอย่าง จึงจำเป็นต้องอาศัย

บุคลกรที่มีคุณภาพ

 

  1. 5.    ระเบียบ , คู่มือ และมาตรฐาน (Procedure)

 

การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานนั้น จำเป็นจะต้องไป สัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติจำนวนมาก    บุคคลเหล่านี้บางคนก็เรียนรู้ได้เร็วบางคนก็เรียนได้ช้านอกจากนั้นยังมีแนวคิดและทัศนคติแตกต่างกันออกไป ดังเพื่อให้คนเหล่านี้ทำงานรวมกันได้โดยไม่มีปัญหา   จึงจำเป็นต้องมีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน การจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้ในการอ้างอิงได้

นอกจากนั้นเมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ขยายออกไป ก็อาจจะมีผู้ต้องการจัดหาคอมพิวเตอร์มาใช้งานมากขึ้น การกำหนดมาตรฐานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมี เพื่อประโยชน์ในการจัดการและดูแลรักษา

 

  1. 6.    ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

หมายถึงระบบการสื่อสารและอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถส่งผ่านข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างออกไป ซึ่งปัจจุบันนี้การปฏิบัติงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น มีระบบการทำงานแบบ On-line   มากขึ้นเพื่อสนองต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังที่กล่าวในขั้นต้น ระบบการสื่อสารข้อมูลที่เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน คือ Internet และ Intranet

 

 

คำสำคัญ (Tags): #com
หมายเลขบันทึก: 439177เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2011 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท