บาลีสาวิกาสิกขาลัย5


บาลีสาวิกาสิกขาลัย5

วิชา ภาษาบาลี ๒ 

หัวข้อบรรยาย (ในวันที่ ๑๔ พ.ค. ๕๔) 

***

(ให้นักศึกษา อ่านทำความเข้าใจ ก่อนจะฟังบรรยายในห้องเรียน)

 

วิภัตติอาขยาต

อาขยาต

     ศัพท์กล่าวกิริยา คือ ความทำ เป็นต้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ชื่อว่า อาขยาต ที่จะสำเร็จเป็นอาขยาตได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ประการ คือ วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย

 

วิภัตติ

วิภัตติอาขยาต ใช้สำหรับลงไว้หลังธาตุ เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ กาล บท วจนะ บุรุษ.
     วิภัติอาขยาตนี้ มี ๙๖ ตัว แบ่งเป็น ๘ หมวด แต่ละหมวด มี ๒ บท แต่ละบท มี ๓ บุรุษ แต่ละบุรุษมี ๒ วจนะ ดังนี้

 

 ๑. วัตตมานา 

 ๒. ปัญจมี

 ๓. สัตตมี

 ๔. ปโรกขา

 ๕. หิยัตตนี

 ๖. อัชชตนี

 ๗. ภวิสสันติ

 ๘. กาลาติปัตติ

 

 

 

๑. วัตตมานา
...อยู่, ย่อม..., จะ...

 

ปรัสสบท

อัตตโนบท

 

บุรุษ

เอก.

พหุ.

 

เอก.

พหุ.

 

ปฐม.

ติ

อนฺติ

เต

อนฺเต

 

มัชฌิม.

สิ

เส

เวฺห

 

อุตตม.

มิ

เอ

เมฺห

 

๒. ปัญจมี
จง..., จง...เถิด, ขอจง...

 

ปรัสสบท

อัตตโนบท

 

บุรุษ

เอก.

พหุ.

 

เอก.

พหุ.

 

ปฐม.

ตุ

อนฺตุ

ตํ

อนฺตํ

 

มัชฌิม.

หิ

สฺสุ

โวฺห

 

อุตตม.

มิ

เอ

อามฺหเส

 

 

๓. สัตตมี
ควร..., พึง..., พึง...

 

ปรัสสบท

อัตตโนบท

 

บุรุษ

เอก.

พหุ.

 

เอก.

พหุ.

 

ปฐม.

เอยฺย

เอยฺยุ ํ

เอถ

เอรํ

 

มัชฌิม.

เอยฺยาสิ

เอยฺยาถ

เอโถ

เอยฺยาโวฺห

 

อุตตม.

เอยฺยามิ

เอยฺยาม

เอยฺยํ

เอยฺยาเมฺห

 

 

๔. ปโรกขา
...แล้ว

 

ปรัสสบท

อัตตโนบท

 

บุรุษ

เอก.

พหุ.

 

เอก.

พหุ.

 

ปฐม.

อุ

ตฺถ

เร

 

มัชฌิม.

เอ

ตฺถ

ตฺโถ

โวฺห

 

อุตตม.

อํ

มฺห

อึ

มฺเห

 

 

๕. หิยัตตนี
...แล้ว, ได้...แล้ว

 

ปรัสสบท

อัตตโนบท

 

บุรุษ

เอก.

พหุ.

 

เอก.

พหุ.

 

ปฐม.

อา

อู

ตฺถ

ตฺถุ ํ

 

มัชฌิม.

โอ

ตฺถ

เส

วฺหํ

 

อุตตม.

อํ

มฺห

อึ

มฺหเส

 

 

 

 

 

 

 

๖. อัชชตนี
...แล้ว, ได้...แล้ว

 

ปรัสสบท

อัตตโนบท

 

บุรุษ

เอก.

พหุ.

 

เอก.

พหุ.

 

ปฐม.

อี

อุ ํ

อา

อู

 

มัชฌิม.

โอ

ตฺถ

เส

วฺหํ

 

อุตตม.

อึ

มฺหา

อํ

เมฺห

 

๗. ภวิสสันติ
จัก...

 

ปรัสสบท

อัตตโนบท

 

บุรุษ

เอก.

พหุ.

 

เอก.

พหุ.

 

ปฐม.

สฺสติ

สฺสนฺติ

สฺสเต

สฺสนฺเต

 

มัชฌิม.

สฺสสิ

สฺสถ

สฺสเส

สฺสเวฺห

 

อุตตม.

สฺสามิ

สฺสาม

สฺสํ

สฺสาเมฺห

 

๘. กาลาติปัตติ
จัก...แล้ว, จักได้...แล้ว

 

ปรัสสบท

อัตตโนบท

 

บุรุษ

เอก.

พหุ.

 

เอก.

พหุ.

 

ปฐม.

สฺสา

สฺสํสุ

สฺสถ

สฺสึสุ

 

มัชฌิม.

สฺเส

สฺสถ

สฺสเส

สฺสเวฺหา

 

อุตตม.

สฺสํ

สฺสามฺหา

สฺสํ

สฺสามฺหเส

 

 

บท

 

วิภัตติอาขยาตนั้น แบ่งเป็น ๒ บท คือ ปรัสสบท คือ บทเพื่อผู้อื่น ๑ อัตตโนบท บทเพื่อตนเอง ๑

 

 

 

ปรัสสบท

สำหรับประกอบกับกิริยาที่เป็นกัตตุวาจก และเหตุกัตตุวาจก

 

 

 

อัตตโนบท

สำหรับประกอบกับกิริยาที่เป็นกัมมวาจก ภาววาจก และ เหตุกัมมวาจก

 

 

 

     บางคราว ปรัสสบทเป็นกัมมวาจก ก็มี, อัตตโนบทเป็นกัตตุวาจก ก็มี พึงทราบว่า ใช้แทนกันได้ จะกำหนดวาจก ได้แน่นอนต้องอาศัยปัจจัยเป็นตัวกำหนดจึงทราบได้

 

 

วจนะ

 

       วิภัตติอาขยาตนั้น แบ่งวจนะเป็น ๒ ชนิด เหมือนนามศัพท์ที่เป็นประธาน คือ
                            ๑ เอกวจนะ                           ๒ พหุวจนะ  
        ถ้านามศัพท์ที่เป็นประธานเป็นเอกวจนะ ต้องประกอบกิริยาศัพท์เป็นเอกวจนะตาม,
ถ้านามศัพท์ที่เป็นประธานประกอบเป็นพหุวจนะ ต้องประกอบกิริยาศัพท์เป็นพหุวจนะตามให้มีวจนะเป็นอันเดียวกัน เช่น

 

 

 

โส

คจฺฉติ

อ.เขา ไปอยู่

 

 

 

เต

คจฺฉนฺติ

อ.เขา ท. ไปอยู่

 

     ถ้านามศัพท์มี จ เป็นตัวรวมแปลว่า และ, ด้วย ให้ใช้กิริยาเป็นพหุวจนะ เช่น

 

ทายโก เจว ทายิกา จ วิหารํ คจฺฉนฺติ ฯ อ.ทายกด้วย นั่นเทียว อ.ทายิกา ด้วย ย่อมไป สู่วิหาร ฯ

 

           

 

 

 

 

 

 

บุรุษ

 

     วิภัตติอาขยาตนั้นจัดเป็นบุรุษ ๓ คือ ๑ ปฐมบุรุษ, ๒ มัชฌิมบุรุษ, ๓ อุตตมบุรุษ เหมือน ปุริสสัพพนามที่เป็นประธาน ถ้าปุริสสัพพนามที่เป็นประธานเป็นบุรุษใด กิริยาต้องประกอบวิภัตติให้ถูกต้องตามปุริสสัพพนามนั้น เช่น

 

 

 

โส

ยาติ

อ.เขา ไปอยู่

 

 

 

ตฺวํ

ยาสิ

อ.ท่าน ไปอยู่

 

 

 

อหํ

ยามิ

อ.เรา ไปอยู่

 

     แม้ในการพูดและเขียนหนังสือจะไม่มีปุริสสัพพนามอยู่ด้วย ใช้แต่วิภัตติบอกบุรุษก็ทราบปุริสสัพพนามที่เป็นประธานได้ เช่น

 

 

 

เอหิ

อ.ท่าน จงมา

 

 

 

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

อ.เรา ย่อมถึง ซึ่งพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ

 

 

 

ปุญฺญํ กริสฺสาม

อ.เรา ท. จักกระทำ ซึ่งบุญ

 

 

 

อาคมอาขยาต

 

 

ในอาขยาตมี อาคม สำหรับลงมาประกอบ ๕ ตัว คือ อ, อิ, ส, ห, อํ มีหลักการลงประกอบดังนี้

 

๑.

อ อาคม สำหรับลงหน้าธาตุ เมื่อประกอบด้วยวิภัตติหมวด หิยยัตตนี, อัชชตนี, กาลาติปัตติ เช่น อลตฺถํ อโหสิ ฯลฯ

 

๒.

อิ อาคม สำหรับลงหน้าวิภัตติที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ (เช่น ตฺถ) เมื่อประกอบด้วยวิภัตติหมวด ปโรกขา, อัชชตนี, ภวิสสันติ และ กาลาติปัตติ เช่น อกริมฺหา, ภวิสฺสติ, อลภิสฺส ฯลฯ

 

๓.

ส อาคม สำหรับลงหลังธาตุ หรือ ลงหน้าวิภัตติ เมื่อประกอบด้วยวิภัตติหมวดอัชชตนี เช่น อโหสิ, อกาสิ ฯลฯ

 

๔.

ห อาคม สำหรับลงหลัง า ธาตุ เช่น ปติฏฺฐฺหึสุ ฯลฯ

 

๕.

อํ (นิคคหิตอาคม) สำหรับลงหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ แห่งหมวด รุธ ธาตุ แล้วแปลง นิคหิต เป็นพยัญชนะที่สุดวรรค เช่น ภุญฺชติ, มุญฺจติ ฯลฯ (และธาตุที่มี อิ วัณณะเป็นที่สุดก็ลงนิคคหิตอาคมได้ด้วย เช่น กปิ, รุทิ, ฉิทิ ฯลฯ พึงค้นโดยละเอียดในแบบเรียนไวยากรณ์บาลี ที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงไว้ด้วย)

 

ธาตุ

     คือ กลุ่มคำอันเป็นรากศัพท์ วิภัตติอาขยาตที่บอก กาล บท วจนะ บุรุษ นั้น จะต้องประกอบเข้ากับธาตุ จึงสำเร็จเป็นกิริยา ธาตุนั้น ท่านแบ่งเป็น ๘ หมวด ตามปัจจัยสำหรับประกอบ ดังนี้

     ๑. หมวด     ภู    ธาตุ      ลง    ปัจจัย

 

     ๒. หมวด    รุธ  ธาตุ      ลง    ปัจจัย

     ๓. หมวด    ทิว  ธาตุ      ลง   ปัจจัย

     ๔. หมวด    สุ    ธาตุ      ลง  ณุ, ณา, อุณา  ปัจจัย

     ๕. หมวด    กี    ธาตุ      ลง  นา  ปัจจัย

     ๖. หมวด    คห  ธาตุ      ลง  ปฺป, ณฺหา  ปัจจัย

     ๗. หมวด    ตน ธาตุ      ลง  โอ, ยิร  ปัจจัย

     ๘. หมวด    จุร  ธาตุ      ลง  เณ, ณย  ปัจจัย

 

ธาตุแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

     ๑. สกัมมธาต คือ ธาตุที่ต้องมีกรรมเข้ามารับ จึงได้ความหมาย เช่น ภุช ธาตุในความกิน เมื่อไม่มีกรรมก็ไม่ทราบว่า กินอะไร แต่เมื่อมีข้าว มาเป็นบทกรรม จึงทราบได้ว่า กินข้าว ได้ความหมายสมบูรณ์

     ๒. อกัมมธาตุ คือ ธาติที่ไม่ต้องมีบทกรรมเข้ามารับ ก็ได้ความหมายสมบูรณ์ เช่น มร ธาตุในความตาย, สิ ธาตุในความนอน เป็นต้น

 

 

 

 

วาจก

          กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ สำเร็จเป็นกิริยาจึงจัดเป็นวาจกๆ แปลว่า กล่าวคือ กล่าวถึงตัวประธานของกิริยา แบ่งเป็น ๕ วาจก คือ

          ๑. กัตตุวาจก           ๒. กัมมวาจก
         ๓. ภาววาจก          ๔. เหตุกัตตุวาจก
          ๕. เหตุกัมมวาจก

 

๑. กัตตุวาจก

     กิริยาศัพท์สำหรับกล่าวถึงประธาน โดยประธานเป็นผู้ทำ คือ แสดงกิริยานั้นเอง ยกผู้ทำเป็นประธานประกอบปฐมาวิภัตติ เช่น สูโท โอทนํ ปจติ อ.พ่อครัว หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก. ปจติ กล่าวถึงประธาน คือ สูโท และสูโท แสดงกิริยาอาการเอง

๒. กัมมวาจก

     กิริยาศัพท์สำหรับกล่าวถึงประธาน โดยประธานเป็นผู้หรือสิ่งที่ถูกทำ ยกสิ่ง หรือผู้ถูกทำเป็นประธานประกอบปฐมาวิภัตติ เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต. อ.ข้าวสุก อันพ่อครัวหุงอยู่ฯ ปจิยเต กล่าวถึง โอทโน เป็นสิ่งที่ถูกทำ และยก โอทโน เป็น ประธาน

๓. ภาววาจก

     กิริยาศัพท์ที่กล่าวเพียงความเป็นไปของกิริยาอาการเท่านั้น ไม่กล่าวถึงกัตตาหรือกรรม เช่น
เตน ภูยเต อันเขา เป็นอยู่

๔. เหตุกัตตุวาจก

     กิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงประธาน โดยประธานทำหน้าที่เป็นเหตุให้ผู้อื่น แสดงกิริยาอาการ ยกผู้ใช้เป็นประธาน ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ เช่น สามิโก สูทํ โอทนํ ปาจาเปติ. อ.นาย ยังพ่อครัว ให้หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก ปาจาเปติ เป็นกิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงผู้ใช้ คือ สามิโก ยก สามิโก เป็นประธาน

 

๕. เหตุกัมมวาจก

     กิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงสิ่งหรือผู้ถูกทำโดยผู้ทำนั้น ถูกใช้ให้ทำอีกที เช่น สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต อ.ข้าวสุก อันนาย ยังพ่อครัวให้หุงอยู่. ปาจาปิยเต กล่าวถึง โอทโน ที่เป็นสิ่งถูกทำ และยกโอทโน เป็นประธาน ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ

 

       

 

ปัจจัย

     จะกำหนดวาจกได้แม่นยำต้องอาศัยปัจจัย ปัจจัย คือ กลุ่มคำสำหรับประกอบเข้าท้ายธาตุและประกอบกับวิภัตติ ปัจจัยแบ่งเป็น ๕ หมวดตามวาจก คือ

          ๑. ปัจจัยกัตตุวาจก
          ๒. ปัจจัยกัมมวาจก
          ๓. ปัจจัยภาววาจก
          ๔. ปัจจัยเหตุกัตตุวาจก
          ๕. ปัจจัยเหตุกัมมวาจก

 

ปัจจัยในกัตตุวาจก

          มี ๑๒ ตัว คือ , เอ, ย , ณุ, ณา, นา, อุณา, ณฺหา, โอ, ยิร, เณ, ณย. (ในบาลีไวยากรณ์ของสมเด็จมหาสมณเจ้า มี ๑๐ ตัว และพึงทราบว่า เอ ปัจจัยนั้น แปลงมาจาก อ ปัจจัย) ปัจจัยทั้ง ๑๒ ตัวนี้ แบ่งลงในธาตุ ๘ หมวดได้ดังนี้

          อ, เอ ปัจจัย ลงประจำธาตุ ๒ หมวด คือ

                  อ,เอ ปัจจัย ลงในหมวด ภู ธาตุ เช่น

 

ลภ + อ + ติ

=

ลภติ

ย่อมได้

 

มร + อ + ติ

=

มรติ

ย่อมตาย

 

               อ,เอ ปัจจัย ลงในหมวด รุธ ธาตุ และลงนิคคหิตอาคมข้างหน้าพยัญชนะที่สุดธาตุ แล้วแปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะที่สุดธาตุ เช่น

 

ภุช + อ + ติ

=

ภุญฺชติ

ย่อมกิน

 

รุธ + อ + ติ

=

รุนฺธติ

ย่อมปิด

 

        ย ปัจจัย ลงในหมวด ทิว ธาตุ เช่น

 

ทิว + ย + ติ

=

ทิพฺพติ

ย่อมเล่น

 

มุห + ย + ติ

=

มุยฺหติ

ย่อมหลง

 

        ณุ,ณา,อุณา ปัจจัย ลงในหมวด สุ ธาตุ เช่น

 

สุ + ณุ + ติ

=

สุโณติ

ย่อมฟัง

 

สุ + ณา + ติ

=

สุณาติ

ย่อมฟัง

 

ป + อป + อุณา + ติ

=

ปาปุณาติ

ย่อมบรรลุ

 

        นา ปัจจัย ลงในหมวด กี ธาตุ เช่น

 

ชิ + นา + ติ

=

ชินาติ

ย่อมชนะ

 

า + นา + ติ

=

ชานาติ

ย่อมรู้

 

        ณฺหา ปัจจัย ลงในหมวด คห ธาตุ เช่น

 

คห + ณฺหา + ติ

=

คณฺหาติ

ย่อมถือเอา

 

คห + ณฺหา + ตุ

=

คณฺหาตุ

จงถือเอา

 

        โอ, ยิร ปัจจัย ลงในหมวด ตน ธาตุ เช่น

 

กร + โอ + ติ

=

กโรติ

ย่อมทำ

 

กร + ยิร + เอยฺย

=

กยิรา

พึงกระทำ

 

        เณ, ณย ปัจจัย ลงในหมวด จุร ธาตุ เช่น

 

จุร + เณ + ติ

=

โจเรติ

ย่อมขโมย

 

จินฺต + ณย + ติ

=

จินฺตยติ

ย่อมคิด

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจัยกัมมวาจก

     ในกัมมวาจก มีปัจจัย ๑ ตัว คือ ย ปัจจัย และให้ลง อิ อาคมหน้า ย ปัจจัยได้ เช่น

 

ปจ + อิ + ย + เต

=

ปจิยเต

ย่อมหุง

 

สิว + อิ + ย + เต

=

สิวิยเต

ย่อมเย็บ

ถ้าไม่ลง อิ อาคม ก็แปลง ย ปัจจัยกับพยัญชนะที่สุดธาตุเป็นอย่างอื่น

 

 

ปัจจัยภาววาจก

     มีปัจจัย ๑ ตัว คือ ย ปัจจัย เช่น  ภู + ย + เต   =   ภูยเต

 

 

ปัจจัยเหตุกัตตุวาจก

    มีปัจจัย ๔ ตัว คือ เณ, ณย, ณาเป, ณาปย ให้ลงตัวใดตัวหนึ่งประจำธาตุอันมีลักษณะแตกต่างกัน

 

ปจ + เณ + ติ

=

ปาเจติ

ให้หุงอยู่

 

ปจ + ณย + ติ

=

ปาจยติ

ให้หุงอยู่

 

ปจ + ณาเป + ติ

=

ปาจาเปติ

ให้หุงอยู่

 

ปจ + ณาปย + ติ

=

ปาจาปยติ

ให้หุงอยู่

 

 

ปัจจัยเหตุกัมมวาจก

     เหตุกัมมวาจกนี้ ให้ลงปัจจัยอันเป็นเหตุ (เณ, ณย, ณาเป, ณาปย จึงได้ชื่อว่า เหตุ) และปัจจัยอันเป็น กัมมวาจก คือ ย ปัจจัย และ อิ อาคม หน้า ย รวมกันแล้วจึงได้ชื่อว่า เหตุกัมมวาจก ในอุทาหรณ์บางตัว ให้ลงปัจจัย ประจำหมวดธาตุได้ด้วย เช่น

 

ปจ + ณาเป + อิ + ย + เต

=

ปาจาปิยเต

ให้หุงอยู่

 

สิว + ย + ณาเป + อิ + ย + เต

=

สิพฺพาปิยเต

ให้เย็บอยู่

 

 

ปัจจัยพิเศษ ๒ กลุ่ม คือ

     ๑ ปัจจัยพิเศษ ๓ ตัว สำหรับประกอบกับธาตุ คือ ข, ฉ, ส เป็นไปในความปรารถนา เช่น

 

ภุช + ข + ติ

=

พุภุกฺขติ

ย่อมปรารถนาจะกิน

 

ฆส + ฉ + ติ

=

ชิฆจฺฉติ

ย่อมปรารถนาจะกิน

 

หร + ส + ติ

=

ชึคึสติ

ย่อมปรารถนาจะนำไป

 

     (เรื่องเทฺวภาวะ และอัพภาส ต้องดูอธิบายในแบบเรียนเล่มอาขยาตที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงไว้ จึงจะเข้าใจดี)

     ๒ ปัจจัยพิเศษอีก ๒ ตัว คือ อาย, อิย สำหรับลงหลังนามศัพท์ (ตามปกติปัจจัยอาขยาตต้องลงหลังธาตุ แต่ อาย, อิย เป็นปัจจัยพิเศษให้ลงหลังนามศัพท์ได้) เป็นไปในความประพฤติ เช่น

 

จิร + อาย + ติ

=

จิรายติ

ย่อมประพฤติช้าอยู่

 

ปุตฺต + อิย + ติ

=

ปุตฺติยติ

ย่อมประพฤติให้เป็นเพียงดังบุตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อส ธาตุ

ในความมี, ความเป็น มีหลักการแปลง ธาตุ วิภัตติ ปัจจัย ดังนี้

ติ

เป็น

ตฺถิ

ลบที่สุดธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อตฺถิ

อนฺติ

 

คงรูป

ลบต้นธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

สนฺติ

สิ

 

คงรูป

ลบที่สุดธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อสิ

เป็น

ตฺถ

ลบที่สุดธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อตฺถ

มิ

เป็น

มฺหิ

ลบที่สุดธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อมฺหิ

เป็น

มฺห

ลบที่สุดธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อมฺห

ตุ

เป็น

ตฺถุ

ลบที่สุดธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อตฺถุ

เอยฺย

เป็น

อิยา

ลบต้นธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

สิยา

เอยฺย

 

 

กับทั้งธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อสฺส

เอยฺยุ ํ

 

 

กับทั้งธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อสฺสุ ํ

เอยฺยุ ํ

เป็น

อิยุ ํ

ลบต้นธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

สิยุ ํ

เอยฺยาสิ

 

 

กับทั้งธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อสฺส

เอยฺยาถ

 

 

กับทั้งธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อสฺสถ

เอยฺยามิ

 

 

กับทั้งธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

อสฺสํ

เอยฺยาม

 

 

กับทั้งธาตุ

สำเร็จรูปเป็น

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯ
หมายเลขบันทึก: 438954เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2011 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณท่านอาจารย์แม่ชีมากนะคะที่ไปให้กำลังใจกัน

เรียนบาลีสนุกมากค่ะ เคยคิดว่าจะยาก แต่พอเรียนแล้ว ความสนุกมีมากกว่าความยากค่ะ (สงสัยยังเพิ่งเรียน เลยยังไม่เจอบทเรียนยากของจริงก็ได้) ตั้งใจว่าจะเรียนแล้วสอบไปเรื่อยๆเหมือนกันค่ะ

มีดอกไม้มาขอบคุณค่ะ ทั้งสำหรับบันทึกที่ให้ความรู้ และความปรารถนาดีที่ส่งไปให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท