นวัตกรรมตาหวาน


เพียงความตั้งใจ ให้ความรักและความเข้าใจ ก็สามารถชุบชีวิตที่เฉาของศิษย์พิการให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้

  ตาหวาน เป็นชื่อของเด็กหญิงตาคมอายุ 9 ขวบ ถูกตัดสินภาคทัณฑ์ ว่าหากการอ่านไม่พัฒนาขึ้นในระหว่างปิดเทอมจะต้องเรียนซ้ำชั้น ป.2 ต่อไปอีก 1 ปี

  ครูเขียวได้รับเกียรติจาก ผอ และครูโรงเรียนตาหวานให้ไปช่วยดูแลเป็นที่ปรึกษาการแก้ปัญหานักเรียนแอลดีของโรงเรียน

  จากการศึกษาที่ผ่านมาของครูเขียว รู้ว่ามันเป็นเรื่องอยากมากในการที่จะแก้ปัญหาเด็กแอลดีในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และโดยเฉพาะครูเขียวเอง ซึ่งไม่รู้จักเด็กเลยจะช่วยได้สักขนาดไหน แต่อย่างไรก็ตามการที่เพียงแต่คิดก็ถือว่าสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งนี่ถึงกับลงมือทำแม้จะไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ก็ถือว่าไม่อยากที่จะสำเร็จได้

  ก่อนจะถึงวันนัดครูเขียวไปเลือกซื้อสีเมจิก 1 กล่อง พร้อมกระดาษรายงาน 1เล่ม และกลุับมา สร้างข้อตรวจสอบระดับความสามารถทางภาษาของในเรียนในปัจจุบัน เป็น ชุดมาตราตัวสะกด แม่ ก กา แม่กก แม่กง  แม่กน โดยใช้แบบโฟร์นิกส์ คือตัวพยัญชนะต้นและสระเขียนด้วยสีดำ ตัวสะกดเขียนด้วยสีที่ต่างออกไป กาโบ

  วันแรกที่ครูเขียวไปถึงหลังจากได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีแล้วคุณครูก็จะขะมักเขม้นอยู่กับการสอนอ่านเขียนนักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบเป็นจุดๆโดยนักเรียนจะได้รับแบบฝึกอ่านที่เหมือนกันทุกระดับชั้นเสียงนักเรียนอ่านและท่องกันเซ็งแซ่ ครูเขียวถูกดึงให้เข้าไปดูเด็กๆที่คุณครูทุกคนบอกว่าอาการโคม่า เรียกว่าอยู่ในไอซียูเป็นนักเรียนชาย ป.4-6 จำนวน 8 คน นักเรียนหญิง ป.2ขึ้น ป.3 จำนวน 1 คน และ ป.5 จะขึ้น ป.6 จำนวน 2 คน ครูรับผิดชอบ 3 คน นักเรียนมีแบบฝึกอ่านคนละ 1 ชุด สมุดคนละ 1 เล่ม บนกระดาษมีตัวพยัญชนะไทย 44 ตัว และสระไทย ที่ครูพยายามอ่านให้นักเรียนอ่านตาม และหยุดเป็นช่วงๆให้นักเรียนทดลองอ่านเอง หลังจากนั้นก็ให้นักเรียนทดลองเขียนตัวพยัญชนะ สระทั้งหมดในสมุดโดยไม่ดูแบบ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ทดลองและศึกษามาครูเขียวคิดว่าพัฒนาการสำเร็จยาก แต่ก็ไม่มีโกาสได้สอนเด็กๆด้วยตนเอง ครูเขียวนั่งอยู่ในห้องเรียนนั้นจนมีการพักไปดื่มน้ำ พบว่าหลังห้องนักเรียนผู้หญิงคนหนึ่งไปออกไปพักนั่งกุมดินสอจิ้มอยู่บนสมุดที่เดียว เดินเข้าไปดูพบว่าเธอเขียนได้แค่  ก  ข  ค  ง  จ  ช  น  ม  ว เท่านั้นครูเขียวจึงคิดว่าน่าจะลองพัฒนาเด็กคนนี้ จึงคุยกับครูที่รับผิดชอบ เขาก็อนุญาตทันที

  ครูเขียวเดินไปนั่งใกล้เธอใช้มือลูบผมด้านหลังเบาๆ ถามว่าน้องชื่ออะไรคะ ตาน้องสวยจังเลย เธอก้มหน้าแล้วตอบเบาๆว่า ตาหวาน ดูผลงานของตาหวาน น้องเก่งเขียนได้ตั้งหลายตัว ทั้งหมดนี้น้องรู้จักทุกตัวใช่ไหมค่ะ เธอพยักหน้า ครูชี้ไปที่ตัวพยัญชนะทีละตัวช้าๆเธอออกเสียงตามเบาๆจนจบ ครูชมน้องเก่ง สังเกตเห็นว่าเธอเริ่มไหวตัวสบายขึ้น ( ครูเขียวไม่คิดจะคะยั้นคะยอให้ตาหวานรู้จักพยัญชนะจนครบเพราะถ้าทำแบบนั้นการพัฒนาครั้งนี้จะก้าวไปไม่ได้ ) ครูเขียวเริ่มต้นด้วยการสอนสระที่เธอยังไม่รู้จัก เพื่อให้เธอสามารถนำความรู้เรื่องตัวพยัญชนะที่ได้อยู่แล้วมาผสมสร้างคำเพิ่มความรู้จำสระจากคำศัพท์ โดยดำเนินขั้นตอนดังนี้

  ให้สีเมจิกเธอ 2 สี คือ ดำ  และแดง พร้อมทั้งกระดาษรายงาน

   ครูเขียนสระโ ด้วยสีแดง โ  ถามว่าอ่านว่าอะไรเธอตอบไม่ได้

   ครูเขียนคำ  ก ถามว่าอ่านว่าอะไรเธอตอบไม่ได้

   ครูเขียน  ก-โ-ก  ครูอ่านให้ฟังช้าๆ  และเขียนคำอื่นๆในรูปแบบเดียวกันอีก 10 คำ อ่านให้ฟัง ให้อ่านตาม และให้ทดลองอ่านเอง

   ครูชวนคุย ถ้าจะให้ลองเขียนดูสัก 5 คำเขียนได้ไหม เธอพยักหน้าจับสีขึ้นมาเขียน ครั้งแรกเมื่อเขียนสระโอด้วยสีแดงเธอก็จะเขียนพยัญชนะด้วยสีแดง ครูบอกว่าสระสีอะไรเอ่ย พยัญชนะสีอะไรเหมือนกันไหมเธอเขียช้าอยู่ประมาณ 2 คำหลังจากนั้นเธอก็เขียนคล่องขึ้นเมื่อครบ 5 คำเธออ่านให้ฟัง ครูบอกว่าเก่งเธอขอเขียนเพิ่มอีก 10 คำ วันนั้นเธอมีความสุขมาก เพื่อให้แน่ใจว่าเธอจำได้แม่นยำแล้วจึงทดลองให้คุณครูของเธอตรวจสอบใหม่ปรากฏว่าเป็นประหลาดใจมาก คุณครูบอกว่าเธอยิ้มแล้ว และอ่านเขียนได้ด้วย

   วันที่ 2 ที่เข้าไปคุณครูบอกว่าเธอยืนคอยจะเรียนกับครูเขียว พอเห็นครูเขียวเธอก็วิ่งเข้ามาหาบอกว่า หนูพาไปอ่านให้แม่ฟังแล้วแม่บอกว่าแม่จะพาไปเที่ยวห้าง

วันนี้ครูเขียวอยากจะทดลองซ้ำดูความก้าวหน้าของเธอ เราเริ่มพูดคุยซักถามเรื่องกิจวัตรประจำวัน ครอบครัว ก็พบว่าเด็กไม่มีพ่ออยู่กับแม่ทำให้ครูเขียวต้องระมัดระวังมากขึ้นในการสอนเธอวันนี้ครูเขียวสอนสระผสม คือ สระเอือ

ขั้นแรก ครูเขียน  รูปสระเอือ  ด้วยสีเหลือง ถามว่ารู้จักไหม เธอไม่รู้จัก

ขั้นสอง  เขียนคำว่า เรือ พยัญชนะสีดำ สระสีเหลือง เธออ่านไม่ออก

ขั้นที่สาม วาดภาพเรือ  เธอตอบได้ว่า เรือ

ขั้นสี่  ทดลองให้เธอสะกดคำว่าเรือ แล้วถามว่าเป็นสระอะไร เธอบอกว่าเอือ ครูจึงชี้ทวนไปจากขั้นแรก ขั้นสอง

ขั้นห้า  อธิบายเธอว่า ร  สีดำเป็นพยัญชนะต้น  เอือ สีเหลืองเป็นสระ

ให้สีเธอไปเขียนสะกดคำแจกลูก เธอเขียนเองได้คล่องและมีความสุขในการเขียนและอ่านให้ครูฟังได้คล่อง

ขั้นหก  ให้เธออ่านคำสระเอือโดยไม่ใช้สี เธออ่านได้ทุกคำ และเขียนได้ถูกต้องทุกคำ

ขั้นเจ็ด  ตรวจสอบความยั่งยืน เขียน คำประสม ประโยคสั้นที่มีสระเอือให้เธออ่านกับคุณครูของเธอฟัง เช่น ตา ไป หา เสือ  อา ดู เรือ เธออ่านได้ถูกต้องและคล่องทุกคำ

    วันนี้เป็นวันที่ 5 ที่ครูเขียวไปอยู่กับเธอมหัศจรรย์มากครูทุกคนมารุมล้อมครูเขียวว่าทำอย่างไรตาหวานจึงสดชื่น ยิ้มและชวนเพื่อนเล่นแล้วอ่านหนังสือได้เก่งกว่าเพื่อที่มาเรียนทั้ง 20 คน ครูเขียวใช้วิธีนี้แนะนำและสาธิตให้กับคุณครูเขาดีใจมากเขาบอกเลยว่าเขารู้ว่าเด็กเขาไม่ใช่ไม่รู้เรื่องแต่เขาไม่รู้ว่ามันติดอยู่ตรงไหนที่เด็กอ่านไม่ได้ เขาบอกว่าเขาพบแล้วเพราะเขาไม่มีวิธีการนั้นเอง

     ตอนนี้ครูเขียวได้รับเด็กคนหนึ่งมาอีกซึ่งอายะและอาการเดียวกับตาหวาน ชื่อแอล ครูเขียวใช้กระบวนเดียวกันแต่ปรับไปตามพัฒนาการของน้องแอล ผล( คุณครูเขาบอก ) น้องแอลพูดมากขึ้นอ่านหนังสือได้อย่างไม่น่าเชื่อ ตอนนี้ทั้ง 2 คน เริ่มอ่านนิทานที่ใช้ภาษาง่ายๆด้วยกันได้แล้ว และสามารถอ่านคำถามและตอบคำถามจากนิทานที่อ่านได้อย่างน้อย 1 ข้อ ครูเขียวคิดว่าเวลาจากนี้ไปคงจะเก็บรวบรวมกระบวนการนี้แล้วมอบไว้ให้กับคุณครูที่โรงเรียนนี้เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้กับเด็กคนอิ่นๆ สำหรับครูเขียวก็ถือว่าการมาครั้งนี้นอกจากจะได้ทำบุญแล้วยังเกิดองค์ความรู้สร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่โดยตั้งชื่อว่า นวัตกรรมตาหวาน ที่ไม่ต้องลงทุนมากมายแค่ ความตั้งใจจริงความรักความเข้าใจ และใช้จรรยาบรรณของวิชาชีพครูให้เต็มร้อย พร้อมด้วยสีเมจิก 2 สี กระดาษเก่าก็สามารถสร้างความสุขให้กับเด็ก ครอบครัว สังคมได้อย่างมหาศาล เปิดเทอมครูเขียวคงต้องนำนวัตกรรมนี้ไปปรับใช้กับลูกที่โรงเรียนเหมือนกัน

  

หมายเลขบันทึก: 438239เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2011 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท