จดหมายจากผู้อำนวยการ "เล่าเรื่องอบรมฝังเข็ม"


ทุกเดือนท่านจะเขียนจดหมายถึงเจ้าหน้าที่ โดยส่งผ่านระบบ Intranet ของโรงพยาบาล, Print ข้อความมาติดที่บอร์ดประชาสัมพันธ์, ส่งผ่านโลก Cyber มาให้กับจนท.ที่มี Email เพื่อทราบความเป็นไป ความก้าวหน้าของโรงพยาบาลและของตัวท่านเอง แจ๋วมั๊ยล่ะ (ขอบอกแบบไม่มีเม้ม )

นำจดหมายส่วนตัวที่ "คุณหมอโหน่ง" เขียนถึงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสูงเนินมา"แบ่งปันเล่าเรื่อง"ในบันทึกของตัวเอง โดยที่ยังไม่ได้ขออนุญาต แต่คิดว่าไม่น่าจะเป็นอะไร (คิดเองเออเองอีกแล้ว ฮ่าฮ่า) เพราะ kunrapee มองเห็นหลายสิ่งที่ได้จากการอ่านบันทึกของท่าน คือ


ความตั้งใจ ที่จะนำสิ่งที่ท่านได้รับรู้จากการฝึกอบรมเรื่อง "การฝังเข็มกับการรักษา" โดยเกริ่นให้ลูกน้องได้รับทราบความเป็นมาตั้งแต่แรกฝึก มาถึงจดหมายฉบับนี้ (ฉบับที่ ๒) ทำเหมือนกับว่าพวกเราได้เรียนไปกับท่านเลยทีเดียว แถมรู้สึกว่าท่านไม่ได้หายไปไหน เพราะเกือบทุกสัปดาห์จะมีนัดประชุมหัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน, Leadership walk round และที่สำคัญท่านจะเขียนจดหมายถึงลูกน้องทุกเดือน โดยส่งผ่านระบบ Intranet ของโรงพยาบาล 

ความขยัน ที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างได้ ทั้งๆที่งานในหน้าที่ก็ล้นมือ ท่านทำด้วยใจรัก + รักที่จะทำ + ทำแล้วรู้สึกเป็นสุข (คิดเองอีกแล้ว) จึงไม่รู้สึกเหน็จเหนื่อยและท้อแท้ ทำให้ kunrapee เข้าใจสัจธรรมที่ว่า "การเรียนรู้สามารถทำได้ตลอดเวลา..ไม่มีที่สิ้นสุด..ทุกเวลาทุกวินาที..อย่าเอาอายุ(ที่มากขึ้น มากขึ้น)มาเป็นข้ออ้างในการรับรู้และเรียนรู้"

ความเป็นผู้นำ ท่านทราบทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ความจำเป็นเลิศ ขนาดความเสี่ยงที่ผ่านมา พวกเราๆลืมๆไปแล้ว แต่ท่านจะบอกได้ทุก step มิมีลืม เป็นผู้นำแห่งการพัฒนา ความคิดกว้างไกล

แต่นำมาเฉพาะส่วนที่ท่านเล่าถึงเรื่องที่ไปฝึกอบรมฝังเข็มเท่านั้นนะคะ ไว้มีเรื่องดีๆจากบันทึกของท่านอีกจะจิ๊กมา "แบ่งปัน เล่าเรื่อง" อีกค่ะ



จากใจผู้อำนวยการโรงพยาบาลสูงเนิน

ถึงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสูงเนิน

      ผ่านไปอีกแล้ว 1 เดือน เป็นเดือนที่สองของการอบรมฝังเข็ม หลังจากสอบจุดสำคัญของเส้นลมปราณ และให้ฝังเข็มกับตนเอง 1 จุด ซึ่งก็พาเอาเครียดพอสมควร ก็คิดว่าไม่น่าจะต้องเหนื่อยมากอีก หมอก็เข้าใจผิดเลยเพราะหลังจากนั้นก็เรียนรู้โรค และการเลือกจุดฝังเข็ม โรคของแผนจีนใช้วิธีการวินิจฉัยโรคจากอาการที่ซักประวัติได้ หลังจากนั้นก็ต้องวิเคราะห์โรคตามแผนจีน เรียกว่า “เปี้ยนเจิ้ง” โดยอาศัยประวัติ ตรวจจากลิ้น และชีพจร ไม่ใช้ steth เหมือนแผนปัจจุบัน แบ่งเป็นแกร่งพร่อง ซึ่งก็นับว่ายาก ตรงที่ไม่ค่อยชัดเจน แล้วค่อยเลือกวิธีรักษา แกร่งก็ระบาย พร่องก็บำรุง โดยการใช้ฝังเข็ม พอเรียนรู้โรคไปสักระยะ เขาก็ให้เราไปเป็นนักเรียนดูการฝังเข็มรักษาโรคจริงที่ ศูนย์สิรินธร ซึ่งมีผู้ป่วย Stroke ค่อนข้างมาก โรงพยาบาลหัวเฉียว โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ที่มีคลินิกฝังเข็มชัดเจน

ยังไม่ทันหายเหนื่อยในการเดินทาง ก็เริ่มด้วยการเก็บ case ฝังเข็ม ให้การรักษาผู้ป่วยฟรี ตั้งแต่ซักประวัติ ตรวจลิ้น จับชีพจร ซึ่งหมอก็ไม่ค่อยได้เรื่องเท่าไร ลิ้นก็แยกโรคไม่ค่อยออก ชีพจรก็แยกยาก แล้วก็เลือกฝังเข็มตามเส้นลมปราณ โดยรอปรึกษากับอาจารย์ กลับไปเป็นนักศึกษาแพทย์อีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ก็เก็บได้ 6 case แล้ว ต้องให้ได้ครบ 10 ราย โดยต้องส่งรายงานให้อาจารย์ด้วย แล้วสุดท้ายก็จะต้องสอบเดี่ยว เริ่มสอบ 12 พฤษภาคม ก่อนไปดูงานฝังเข็มที่ประเทศจีน แล้วก็จบประมาณปลายเดือนพฤษภาคม กลับมาทำงาน 30 พฤษภาคม ใครอยากให้หมอฝังเข็ม ก็เตรียมตัวกันไว้ ฝังได้ทั้งรักษาและบำรุงเส้นลมปราณ บำรุงหัวสมอง บำรุงเลือด ได้หลายอย่าง อาจารย์สอนก็บอกสรรพคุณเยอะ แต่ก็ขึ้นกับโรคและพื้นฐานของแต่ละคน


ใครสนใจจะเข้ารับบริการ

โปรดลงนามเพื่อจัดคิวทอง อิอิ..

kunrapee สนใจอยากฝังเข็มเพื่อบำรุงสมอง เผื่อจะปลอดโปร่งโล่งสบาย

HA HA HA

   

ผู้ป่วย Stroke ที่ค่อนข้างมากของเรา

คุณหมอคงช่วยได้มากเลย

เว้นแต่ว่าจะไม่มีเวลาเท่านั้น (งานบริหารก็เยอะมากแล้ว)

 

หมายเลขบันทึก: 438196เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2011 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากอ่านจดหมายทั้งหมดจัง

ดูท่าทางคุณหมอคงเป็นคนชอบเขียนบันทึกเนาะ

..........

ขอคนนอกรพ.ที่ไม่ป่วย ลองฝังเข็มได้ไหมเอ่ย

อยากฝังเพื่อ บำรุงเส้นลมปราณ บำรุงหัวสมอง บำรุงเลือด

..........

"ครูอ้อย" มาเป็นกำลังใจให้ไวจริง

Thank a lot จ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท