POONIM
MISS นางสาวสุทธิกานต์ ปูนิ่ม รัญจวน

ใบความรู้สัปดาห์ที่1 ลักษณะทั่วไปของสินทรัพย์


2.  หลักทั่วไปของการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์

                            1.2.1 ความหมายของงบการเงิน 

                งบการเงิน(Financial statement) หมายถึง งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน และหมายเหตุประกอบงบการเงิน งบย่อย และคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

              ส่วนประกอบของงบการเงิน 

  1. งบดุล (Balance Sheet) ประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ กิจการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น
  2. งบกำไรขาดทุน(Profit & Loss statement) ประกอบด้วย รายได้และค่าใช้จ่าย
  3. งบประมาณแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน
  4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน
  5. งบย่อย
  6. คำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

      เนื่องจากงบการเงินเป็นขบวนการขั้นสุดท้าย หรือ ผลผลิต (Out-Put) ของการจัดทำบัญชี ดังนั้นในการจัดทำงบการเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีหรือหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป

                          1.2.2 ความหมายของมาตรฐานการบัญชีหรือหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป 

                มาตรฐานการบัญชีหรือหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง วิธีการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยกฎหมายบัญชีหรือโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและสอบบัญชีเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งมักมีมาจากกฎเกณฑ์หรือประเพณีที่นักบัญชีถือปฏิบัติติดต่อกันมา

                         1.2.3 หลักการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ 

                สินทรัพย์ที่กิจการได้มาต้องกำหนดมูลค่าของสินทรัพย์ (ต้นทุนของสินทรัพย์) ตามจำนวนเงินที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สินทรัพย์มาใช้ในการประกอบธุรกิจและกิจการจะต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์นั้นด้วยราคาทุน ตามหลักข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี คือ “หลักราคาทุน”          (The Cost principle) และในงบดุลสินทรัพย์ยังต้องแสดงตามราคาทุนนับตั้งแต่วันที่ได้สินทรัพย์มา โดยไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดปัจจุบันของสินทรัพย์นั้นว่าจะมีราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาต้นทุนของสินทรัพย์

                ทั้งนี้สินทรัพย์หมุนเวียนบางชนิดที่กิจการสามารถเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีวิธีใดวิธีหนึ่งในกรณีที่มีวิธีปฏิบัติมากกว่าหนึ่งวิธี กล่าวคือวิธีที่กิจการเลือกปฏิบัตินั้นทำให้สินทรัพย์แสดงจำนวนเงินเชิงต่ำไว้ก่อน เมื่อการดำเนินงานมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น โดยวิธีดังกล่าวนั้น ทำตามหลักข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี  คือ “หลักความระมัดระวัง” (Conservatism) เช่น

                หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ณ วันสินงวด กิจการต้องเปรียบเทียบราคาระหว่างราคาทุนกับราคาตลาดว่าราคาใดต่ำกว่าให้แสดงราคานั้นในงบดุล

                ลูกค้า ณ วันสิ้นงวดต้องแสดงจำนวนเงินที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินได้สุทธิ กล่าวคือให้แสดงลูกหนี้ด้วยจำนวนเงินทั้งหมดหักด้วยค่าเพื่อหนี้สงสัยจะสูญ

หมายเลขบันทึก: 438065เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2011 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท