ครูที่นักเรียนต้องการและไม่ต้องการ ปี ๕๓


นักเรียนโดยรวมมีความต้องการครูที่มีลักษณะสอนสนุก ใจดีและครูควรหลีกเลี่ยงการตี ดุด่า ควรยกย่องส่งเสริมให้กำลังใจ เป็นกันเอง ร่วมมือแก้ปัญหาร่วมกับนักเรียนจะทำให้การจัดการเรียนการสอนของครูประสบผลสำเร็จได้

รายงานการศึกษาลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการและไม่ต้องการ

ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

ที่เรียนรายวิชาภาษาไทย ๑ รายวิชาภาษาไทย ๒  รหัสวิชา ท ๒๑๑๐๑  ท ๒๑๑๐๒ 

ปีการศึกษา ๒๕๕๓

โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม  อำเภอธวัชบุรี  จังหวัดร้อยเอ็ด

 ความเป็นมาและปัญหา

 จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษามาตรา ๒๔การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และอำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  รวมทั้งใช้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการต่าง ๆ และมาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (องค์การค้าคุรุสภา  :  ๒๐–๓๐) เพราะฉะนั้นการวิจัยในชั้นเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ      ที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้     (พยุงศักดิ์  จันทรสุรินทร์  ๒๕๔๒  :  ๖)

ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาซึ่งทำหน้าที่ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย       ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จึงมีความตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องของการเตรียมความพร้อมของครูผู้สอน ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาถึงลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการและไม่ต้องการตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๓      และที่ได้รับฟังคำบอกเล่าการสนทนาระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน  ว่าปัญหาหนึ่งที่พบในโรงเรียน  คือปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครู  ปัญหาครูที่ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมที่ตัวครู  ในด้านต่าง ๆ   ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจว่าปัญหาต่าง ๆ  คือปัญหาอะไรบ้าง  จึงได้สร้างเครื่องมือ  คือแบบสอบถามเพื่อศึกษาลักษณะครูที่นักเรียนต้องการและครูที่นักเรียนไม่ต้องการ  จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑      ผลที่ได้จากการศึกษาไปวางแผนการจัดการเรียนการสอน  ปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ    อนึ่งการที่ครูผู้สอนได้ทราบถึงลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการ     และไม่ต้องการนั้นนับเป็นผลดีที่จะเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๒ได้เป็นอย่างดีและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

 วัตถุประสงค์

 ๑.  เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม ต้องการจากลักษณะของครู ๑๕ ประการ

๒.  เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคมไม่ต้องการจากลักษณะของครู ๑๕ ประการ

๓.  เพื่อนำผลการศึกษาไปวางแผนการเรียนการสอนไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้  สู่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒  ต่อไป

๔.  เพื่อนำผลการศึกษาไปเผยแพร่สู่เพื่อนครู เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อม และพัฒนาตนเอง เพื่อก้าวไปสู่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา

   กรอบแนวคิด

        การศึกษาคุณลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการและไม่ต้องการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท  ๒๑๑๐๑  ท ๒๑๑๐๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๓  เท่านั้น

ผู้ศึกษาได้จำแนกลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการและไม่ต้องการ ได้ดังนี้

ลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการ

ลักษณะของครูที่นักเรียนไม่ต้องการ

๑.  สอนสนุก ใจดี

๒. ไม่พูดคำหยาบ

๓.  มีเหตุผล

๔.  ขยันในการทำงาน

๕.  ตั้งใจสอน

๖.  เข้าใจนักเรียน

๗.  รับผิดชอบต่องาน

๘.  ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน

๙.   สอนตรงเวลา

๑๐. แต่งตัวเรียบร้อย

๑๑. ตรวจงานที่ส่ง

๑๒.ตักเตือนเมื่อทำความผิด

๑๓. เรียนสูง ๆ

๑๔ ร่วมงานส่วนรวม

๑๕ ไม่เข้มงวด

๑. ครูที่ตี ดุนักเรียน

๒. พูดจาไม่สุภาพ

๓. ขี้บ่น ด่าเก่ง พูดมาก

๔. ขาดความรับผิดชอบ

๕. มอบหมายงานมาก ๆ

๖. ไม่มีเหตุผล

๗. ละเลยต่อนักเรียน

๘. ครูดื่มสุรา

๙. เรียกเก็บเงินจากนักเรียน

๑๐.เสพสิ่งเสพติด

๑๑. เล่นการพนัน

๑๒. ครูลำเอียง

๑๓. ดูถูกนักเรียน

๑๔. เอาอารมณ์ที่บ้านมาระบายใส่นักเรียน

๑๕.  ครูที่ไม่ค่อยสอนนักเรียน

 สถิติที่ใช้      ค่าร้อยละ

 ประชากร

 การศึกษาครั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนรายวิชาภาษาไทย  รหัสวิชา ท  ๒๑๑๐๑  ท ๒๑๑๐๒     ปีการศึกษา ๒๕๕๓ โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม  อำเภอธวัชบุรี  จังหวัดร้อยเอ็ด โดยศึกษาภาพรวมทั้งโรงเรียนประชากรทั้งสิ้นจำนวน   ๑๔๑   คน

 การวิเคราะห์ผลจากข้อมูล

                ตารางแสดงลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการและไม่ต้องการตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑ โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม  สรุปโดยภาพรวม

ลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย

จำนวน(คน)

คิดเป็นร้อยละ

๑.  สอนสนุก ใจดี

๒. ไม่พูดคำหยาบ

๓.  ครูที่มีเหตุผล

๔. ขยันในการทำงาน

๕. ตั้งใจสอน

๖. เข้าใจนักเรียน

๗. ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน

๘. รับผิดชอบต่องาน

๙. สอนตรงเวลา

๑๐ แต่งตัวเรียบร้อย

๑๑ ตรวจงานที่สั่ง

๑๒. ตักเตือนเมื่อนักเรียนทำผิด

๑๓. ไม่เข้มงวดเรื่องการส่งงานมีการผ่อนปรนบ้าง

๑๔.  เรียนสูง ๆ

๑๕. ร่วมงานส่วนรวม

 

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

  ๑๔๑

๑๔๑

๑๓๓

๙๗

๘๖

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๙๔.๓๓

๖๘.๗๙

๖๐.๙๙

 

 

ลักษณะของครูที่นักเรียนไม่ต้องการเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย

จำนวน(คน)

คิดเป็นร้อยละ

๑.    ครูที่ดุ ตีนักเรียน

๒.   ครูที่พูดจาไม่สุภาพ

๓.   ครูที่ขาดความรับผิดชอบ

๔.   ครูที่ละเลยต่อนักเรียน

๕.   ครูที่เรียกเก็บเงินจากนักเรียน

๖.   ครูที่เสพสิ่งเสพติด

๗.   ครูที่ลำเอียง

๘.   ครูที่ดูถูกนักเรียน

๙.   ครูขี้บ่น  ด่าเก่ง พูดมาก

๑๐.  ครูที่เล่นการพนัน

๑๑.  ครูที่เอาอารมณ์ที่บ้านมาระบายใส่นักเรียน

๑๒.  ครูที่ไม่มีเหตุผล

๑๓.  ครูที่ดื่มสุรา

๑๔.  ครูที่ไม่ค่อยสอนนักเรียน

๑๕.  ครูที่มอบหมายงานมาก ๆ

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๔๑

๑๓๘

 

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

๑๐๐

 ๙๗.๘๗

 

 

 จากตารางพบว่า        ลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคมปีการศึกษา  ๒๕๕๓   มีความต้องการมากที่สุดคือ ครูที่สอนสนุกและใจดี   มีเหตุผล  ขยันในการทำงาน  ตั้งใจสอน  เข้าใจนักเรียน  รับผิดชอบต่องาน  ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน  สอนตรงเวลา  แต่งตัวเรียบร้อย  ตรวจงานที่สั่ง  ตักเตือนเมื่อทำผิด   ไม่พูดคำหยาบ  จากการสำรวจนักเรียนทั้งหมด ๑๔๑  คน มีนักเรียนที่เลือก ๑๔๑   คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐   และลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑   ต้องการน้อยที่สุดคือ ร่วมงานส่วนรวม จากการสำรวจนักเรียนทั้งหมดจำนวน ๑๔๑  คน มีนักเรียนที่เลือก ๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๙๙

ส่วนลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ไม่ต้องการมากที่สุดคือ ครูที่ตี ดุนักเรียน ครูพูดจาไม่สุภาพ  ครูขี้บ่นด่าเก่ง  พูดมาก  ครูขาดความรับผิดชอบ  ครูไม่มีเหตุผล   ครูละเลยต่อนักเรียน  ครูดื่มสุรา  ครูเรียกเก็บเงินจากนักเรียน  ครูเสพสิ่งเสพติด  ครูเล่นการพนัน  ครูลำเอียง    ครูดูถูกนักเรียน  ครูเอาอารมณ์ที่บ้านมาระบายใส่นักเรียน  ครูที่ไม่ค่อยสอน  จากจำนวนนักเรียนที่เลือกทั้งหมด ๑๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และลักษณะของครูที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ไม่ต้องการน้อยที่สุดคือ ครูที่มอบหมายงานมาก     มีจำนวนนักเรียนที่เลือกทั้งหมด ๑๓๘    คน คิดเป็นร้อยละ  ๙๗.๘๗

 สรุปผลการศึกษา

        การศึกษาลักษณะของครูที่นักเรียนต้องการตามความคิดเห็น  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑  โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม   ปีการศึกษา  ๒๕๕๓  ทำให้ผู้ศึกษาพบว่า  ครูควรนำหลักจิตวิทยามาช่วยใน

การจัดการเรียนการสอนด้วย  สังเกตได้จากนักเรียนโดยรวมมีความต้องการครูที่มีลักษณะสอนสนุก  ใจดีและครูควรหลีกเลี่ยงการตี  ดุด่า  ควรยกย่องส่งเสริมให้กำลังใจ เป็นกันเอง ร่วมมือแก้ปัญหาร่วมกับนักเรียนจะทำให้การจัดการเรียนการสอนของครูประสบผลสำเร็จได้

 การอภิปรายผล ดังนี้

 จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ลักษณะของครูที่นักเรียนมีความต้องการมากที่สุด คือครูที่มีลักษณะสอนสนุก และใจดี ไม่พูดคำหยาบ  ครูที่มีเหตุผล  ขยันการทำงาน  ตั้งใจสอน  เข้าใจนักเรียน  รับผิดชอบต่องาน  ให้คำปรึกษาแก่นักเรียน  สอนตรงเวลา  แต่งตัวเรียบร้อย  ตรวจงานที่สั่ง  ตักเตือนเมื่อทำผิด  ไม่เข้มงวดเรียนสูง    ร่วมงานส่วนรวม   ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเข้าสู่ยุคปฏิรูปการศึกษานั้นต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นครูผู้สอนต้องพยายามจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียน ควรจะคิดหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน เช่น การใช้นวัตกรรมที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนให้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ทำการสอน เป็นต้น เมื่อผู้เรียนเรียนได้อย่างมีความสุข และเกิดความเข้าใจในเนื้อหาและองค์ความรู้ที่ได้รับ  การจัดการเรียนการสอนก็ถือว่าประสบผลสำเร็จในอีกระดับหนึ่ง 

ส่วนลักษณะของครูที่นักเรียนไม่ต้องการมากที่สุดคือ  ครูที่ตีดุนักเรียนขาด  ครูพูดจาไม่สุภาพ 

ครูขี้บ่นด่าเก่ง      ครูขาดความรับผิดชอบ     ครูเรียกเก็บเงินจากนักเรียน    ครูไม่มีเหตุผล    ครูดื่มสุรา 

ครูเสพสิ่งเสพติด   ครูเล่นการพนัน  ครูลำเอียง  ดูถูกนักเรียน ครูที่ละเลยต่อนักเรียน  ครูที่ไม่ค่อยสอน

นักเรียน  ครูที่เอาอารมณ์ที่บ้านมาระบายใส่นักเรียน  ผู้ทำการศึกษาเชื่อว่าครูลักษณะดังกล่าวนี้ยังคงมีอยู่ในสังคมปัจจุบันแต่ก็คงเป็นส่วนน้อยมาก เพราะการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ครูผู้สอนต้องเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ ครูควรให้ความสำคัญต่อผู้เรียน  สู่การปฏิรูปการเรียนรู้

 ข้อเสนอแนะ

 ๑.  ครูควรนำผลการศึกษาไปปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองต่อผู้เรียน

๒. ควรศึกษาความต้องการในลักษณะนี้กับนักเรียนระดับต่าง ๆ  ทุกโรงเรียน  ทั้งศึกษาจากนักเรียน  ศึกษาจากผู้ปกครอง  และชุมชนด้วย  

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 437995เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2011 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท