ยุทธพงษ์
นาย ยุทธพงษ์ เมืองสาเกตุนคร ดาราศร

ระบบการศึกษาไทย


ระบบการศึกษาไทย... นับหนึ่งใหม่เลยดีไหม

ความที่อยู่ในแวดวงการศึกษามาหลายสิบปี อาจต้องสรุปว่าการศึกษาของไทยไม่ได้อยู่ในขั้นวิกฤตตามที่มีนักวิชาการหลายๆ ท่านได้ให้ความเห็น แต่อยากจะเรียกว่า “ล่มสลาย” “พังพินาศ” ตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม อุดมศึกษา เพราะนอกจากไม่สร้างคนแล้ว ยังจะทำลายคนรุ่นใหม่ไปด้วย กลัวเข้าโรงเรียนดังไม่ได้ ก็จับเด็กที่ควรพัฒนามาท่อง จะเข้าเตรียมอุดมศึกษา-มหาวิทยาลัยก็ติว เข้ามาแล้วยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะจบแบบไหน ความใฝ่รู้ที่มหาวิทยาลัยต่างกำหนดเป็นเป้าหมายเป็นแค่คำขวัญ

สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปสอนแพทย์จากอินเดีย เนปาล มัลดีฟส์ เป็นเวลา 6 วันสังเกตเห็นอย่างหนึ่งที่แตกต่างหลังมือเป็นหน้ามือ คือไม่มีใครหลับ ฟัง ตั้งคำถาม ซักเหตุผล พยายามเรียนรู้ตลอดเวลาตั้งแต่ 8 โมงเช้า ยัน 5 โมงเย็น เตรียมคำถามมาเพียบ เทียบกับของเรา จะโทษนักเรียนก็ไม่ถูก เพราะแต่ล่ะหลักสูตร หวังดี ยัดเยียดความรู้ประดามีในโลกกันมโหฬาร เด็กไม่มีโอกาสคิดว่า ปัญหาอยู่ที่ไหน จะให้รอบรู้หรือมีโอกาสหาความรู้รอบตัวหนังสือพิมพ์ ติดตามข่าวสารความเป็นไปในโลกก็ไม่มี ต้องท่องให้ตรงที่ออกข้อสอบ ตอบให้ตรงกับที่อาจารย์ต้องการ เก็บคะแนนไปเป็นของขวัญพ่อแม่ เพื่อไว้ประดับตนในการเรียนต่อในขั้นสูงแต่ละมหาวิทยาลัยก็มุ่งเกียรติยศ ตั้งเป้าที่ติดอันดับ 1 ใน 100 ของโลก เอางานวิจัยเป็นสำคัญ อาจารย์เงินต๊อกต๋อย ต้องทำวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติทุนก็หายาก เวลาก็ไม่มี ได้งานวิจัยแบบเบี้ยหัวแตก ตอบโจทย์ให้ใครไม่รู้ โดยหารู้ไหมว่าประเทศที่เจริญแล้ว การเติบโตทุกภาคส่วน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จนถึงมีผลผลิตไปใช้งานได้แต่ระบบการศึกษาขั้นสูงสุดของเรายึดกล่อง พุ่งต้นน้ำก็ไม่ถึงสักที โนเบลก็ไม่ได้จะว่ายมากลางน้ำ ก็ส่งผ่านต่อไปได้ไม่ถึงปลายทาง วกวนกับงานวิจัยที่แข่งกับฝรั่งในเรื่องที่ต้นทุนเราไม่พอ โดยไม่ตอบโจทย์ประเทศไทยที่งานวิจัยที่ต้องการคำตอบ กลับไม่มีใครแย่งทำ เป้าหมายการศึกษายังหวังสร้างปริญญาเอกสักแสนคนในประเทศไทย เพื่อผลิตการวิจัยเพิ่มให้มหาวิทยาลัย เกาหลีญี่ปุ่น หรือแม้แต่จีน  อินเดีย ผลิตยา สินค้าไฮเทคได้เองส่งขายทั่วโลก ผลิตเครื่องจักรได้เอง ราคาถูก ทั้งๆ ที่ไม่มีบทความวิชาการมากมายตีพิมพ์แข่งกับฝรั่ง เพื่อติดอับดับ โลก

ขณะที่ครู อาจารย์ของไทย วันๆ ต้องกังวลกับการผลิตงายกระดาษยืนยันว่ามีภาระงานตามเกณฑ์ ที่ภาระงานไม่ถึงก็ต้องเคี่ยวเข็ญให้มีการสอนเพิ่มขึ้น ตกหนักซวยกับนักเรียน ต้องกังวลว่าไม่มีงานวิจัยตีพิมพ์ตามเงื่อนไข เพื่อตำแหน่งวิชาการตามกำหนด เข้าได้กับ “กินไม่ได้แต่เท่” คงเป็นนิยามการเรียนการสอนในประเทศไทยถมงบประมาณเข้าไปเถอะครับ ด้วยวิธีการ วิธีคิด วิธีประเมินเดิมๆ เยาวชนเจนZ เจน Y ถึงวันๆ เมื่อวางจากการท่องตำราหัวโตเพื่อสอบ เลยต้องเครียด เข้าผับ เต้นระบำแถวสีลม กินเหล้า สูบบุรี่ แก๊งเด็กต่างๆ นานา เพราะทั้งเด็ก ครู อาจารย์ต่างก็ตกในวงจรอุบาทว์ คิดไม่ออกว่าเมื่อไหร่ พันธุ์เบบี้บูม เจน X และก่อนหน้า ที่ออกกฎเกณฑ์ จะยอมเกษียณไปซะที

อ้างอิง  บทความของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

คำสำคัญ (Tags): #ชัยภูมิ8
หมายเลขบันทึก: 437862เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2011 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท