เล่าเรื่องความหลังของห้องสมุดชายขอบ


หลังจากที่ได้รู้จักวิธีทำบล็อก จากการเรียนรู้ด้วยตนอง
ในปี 2550 ก็ได้ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือสื่อสารสังคม รูปในปี
2550 เป็นห้องสมุดที่ได้ตีฝาขึ้นมา และปูเสื่อน้ำมัน ดูดีขึ้นมา
จากที่ไม่มีอะไรเลย ก็มีหนังสือที่บริจาคมาเท่านั้น
 
ห้องสมุดในตอนนี้มีห้องเป็นห้องยาว หลังคาต่ำ ข้างล่างเป็น
ห้องพักครู และมีสะพานเดินข้ามทอดยาวไปยังห้องสมุด
ดังภาพข้างล่าง 

 
ในระยะแรกนี้ก็มีอาคารสถานที่และมีหนังสือบ้าง แต่ยัง
ให้นักเรียนใช้บริการยังไม่ได้ เนื่องจากผู้รับชอบมีงานมาก
โดยเฉพาะโรงเีรียนเราขาดแคลนครูเป็นอย่างมาก และ
ในระดับช่วงชั้นที่ หนึ่ง ต้องดูแลนักเรียนเป็นพิเศษอย่างมาก
ห้องสมุดบางครั้งต้องถูกล็อกไว้ และยังไม่ได้บริการอย่างเต็มที่
ยังเป็นที่ขังหนังสือไว้

เชื่อว่าหลายโรงเรียนอยากทำให้ดี แต่ก็ขาดเหตุปัจจัยต่าง ๆ
แต่ทุกอย่างนั้นก็เริ่มต้นจากปัญหา แล้วค่อย ๆ แก้ไขปัญหา
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะในระยะนี้ยังไม่มีใครเข้ามาสัมพันธ์กับ
โรงเรียนเท่าไรนัก เพราะสภาพภูมิศาสตร์ที่ยากลำบาก ดูจาก
ภาพในฤดูฝนในปี 2550 ก็แล้วกัน
 
 


สภาพทางภูมิศาสตร์อันไม่เอื้ออำนวยทำให้ไม่มีใครอยากมา
ไม่มีตัวตนของโรงเรียนในภูมิศาสตร์  ก็คือสาเหตุที่เราทำ
บล็อกของโรงเรียนขึ้นมาเพื่อ อธิบายสิ่งที่เรากับคนภายนอก
เพราะเชื่อว่า ระบบโลติสจิกต์ในการขนส่งความเจริญเข้ามา
จะต้องนำเข้าความเจริญจากภายนอก 

ฐานความคิดตอนแรก ๆ เป็นเรื่องที่จะต้องทำให้ผ่านมาตรฐาน
ของหน่วยงาน คือจะต้องมี แต่ต่อมาไม่ได้คิดถึงตรงจุดนี้แต่คิดว่า
ทำอย่างไร นักเรียนจะสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเริ่มต้นที่ตนเอง
เริ่มต้นในสิ่งที่ตนเองชอบก่อน เมื่อรักในการเีรียนรู้ผ่านการอ่าน
และรักการอ่านด้วยตนเอง ก็จะทำให้การเรียนการสอนในห้องเรียน
ดีขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นสะพานแรกสำหรับ
การเรียนรู้ในวิชาอื่นต่อไป

บ้านซิวาเดอ ใช้ภาษากระเหรี่ยงเป็นภาษาหลัก ใช้ภาษาไทยเป็น
ภาษาที่สาม ใช้ภาษาพื้นเมือง(พื้นราบ)เป็นภาษาที่สอง นักเรียนที่
เข้ามาเรียนตั้งแต่อนุบาลนั้นยังไม่สามารถพูดสื่อสารเป็นภาษาไทย
ได้เลย ในช่วงที่ขาดครูมาก ๆ ผมก็ได้สอนชั้นนี้ไปตามมีตามเกิด
ทั้ง ๆ ที่ได้อ่านหนังสือ ก่อนจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว แต่ก็ไม่สามารถ
ทำได้เนื่องจากการติดต่อราชการเป็นหลักให้้ต้องเดินทางฝ่าขี้โคลน
ออกไป ผลที่เกิดจากเหตุนี้ก็ทำให้นักเรียนรุ่นนั้นเรียนช้าออกไปเป็นปี
พอขึ้นป.1 แล้ว กว่าจะพูดคุยสื่อสารกันได้ก็ปาเข้าไปเทอมที่สองเสียแล้ว
การแก้ปัญหาระยะแรกนี้โชคดีที่พนักงานราชการเป็นครูที่รู้ภาษากะเหรี่ยง
และเรียนสอนอยู่ช่วงชั้นที่ 1 ทำให้เกิดการเชื่อมโยง และความไว้วางใจกัน
ทำให้รุ่นที่มีครูพื้นบ้านเช่นนี้ทำให้เกิดการเีรียนรู้ภาษาไทยโดยเฉพาะ
การอ่าน ทำให้ก้าวหน้าไปมาก ประกอบกับการเสียสละของครูสอนต่อ
ในเวลากลางคืน จุดตะเกียงช่วยทำการบ้าน ยิ่งทำให้บรรยากาศนั้น
อบอุ่น
 
(ภาพปี 2550 ยามผมลุยโคลนเดินทาง) 

ความคิดที่ดี ๆ ที่เราอยากทำ หลายอย่างต้องอาศัยเหตุปัจจัยต่าง ๆ
มากมาย โดยเฉพาะเรื่องห้องสมุด คิดแล้วทำก็ติดโน่น ติดนี่ บางครั้ง
ทำไม่ได้ก็ปล่อยวางเสีย ถ้ามีเหตุปัจจัยเอื้อขึ้นมาเรื่อย ๆ มันก็ก้าวหน้า
ขึ้นโดยธรรมชาติ คือทำงานภายใต้เงื่อนไขของครูที่ย้ายออกตลอด
ความต่อเนื่องในการพัฒนาในโรงเรียนชายขอบจึงหยุดยั้งไปบ้าง
ผมจึงนิยามโรงเีรียนนี้ ไว้ดังนี้

และบางครั้งที่ผมบ่นผ่านบล็อกในปี 2550 ด้วยความน้อยใจ
ที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้ติดตั้งไฟฟ้าโซลาเซลในปีนั้นด้วย
ความน้อยใจสุดขีด ไว้ว่า
 
และกว่าที่จะได้ไฟฟ้าโซล่าเซล ก็ต้นปี 2553 นี่เอง
และทุกอย่างก็ค่อยฟื้นขึ้นมา 

คำสำคัญ (Tags): #ห้องสมุดชายขอบ
หมายเลขบันทึก: 437666เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2011 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท