เปลี่ยนประเทศไทยให้มี “สวัสดิการชุมชน” เต็มแผ่นดิน


เขียนโดย อัมพร แก้วหนู สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2554 เวลา 12:04 น.
นอก จากคนในระบบราชการและประกันสังคม ยังมีคนอีก 27 ล้านคนไม่มีสวัสดิการรองรับ แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าหมายสวยหรูว่าทุกคนต้องมีสวัสดิการในปี 2560 แต่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลแค่ไหน และเป็นไปได้หรือ? นี่เป็นคำตอบว่าทำไมต้องผลักดัน “สวัสดิการชุมชน” เพื่อนำไปสู่ “สวัสดิการเต็มแผ่นดิน” ต้องใช้งบประมาณ เท่าไร จึงเกิดสวัสดิการถ้วนหน้าที่รัฐบาลวาดไว้สวยหรู? เฉพาะ การรักษาพยาบาลฟรีในปัจจุบัน สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประมาณการว่าในปี 2555 ต้องใช้งบประมาณไม่น้อยกว่า 398,000 ล้านบาท การเรียนฟรีรัฐบาลต้องจ่ายอีก 98,000 ล้านบาท นี่แค่เฉพาะการจัดสวัสดิการบางเรื่องรัฐบาลต้องหาเงินอีกกว่า 103,000 ล้านบาทในปีเดียว นี่ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัวที่รัฐบาลต้องจ่ายถึง 62,000 ล้านบาทในปี 2553 (สูงกว่าที่ตั้งไว้ 48,500 ล้านบาท) นี่ยังไม่รวมรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี น้ำประปาฟรี ไฟฟ้าฟรี (4 รายการนี้ใช้เงินกว่า 32,000 ล้านบาทในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา) การประกันรายได้เกษตรกรอีกปีละกว่า 55,000 ล้านบาท คำถามคือรัฐบาลจะเอางบประมาณเหล่านี้มาจากไหน ถ้าไม่ใช่ภาษีประชาชน หรือกู้เงินต่างประเทศ? ในประเทศที่มีสวัสดิการถ้วนหน้าแถบยุโรปและแสกนดิเนเวีย ประชาชนต้องจ่ายภาษีประมาณ 40-50% ของรายได้ในแต่ละเดือน ถ้าเราต้องการให้คนไทยทุกคนมีสวัสดิการทุกอย่างเท่าเทียมกันหมดเหมือนอย่าง ข้าราชการ แต่เราต้องถูกหักรายได้ครึ่งหนึ่งของทุกเดือน เราจะยอมกันไหม? “สวัสดิการถ้วนหน้า” คำตอบอยู่ที่ “สวัสดิการชุมชน” แต่ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีกลุ่มออมทรัพย์หรือองค์กรการเงินชุมชนในชื่อเรียกอื่นๆไม่น้อย กว่า 40,000 กลุ่ม กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่นำกำไรมาจัดสวัสดิการให้สมาชิก ตั้งแต่ก่อนที่รัฐบาลจะมีโครงการรักษาพยาบาลฟรี ซึ่งสามารถเป็นโครงข่ายรองรับทางสังคมให้กับคนด้อยโอกาสมากมาย เพราะไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด มีคนตายกองทุนสวัสดิการจ่ายให้ เด็กเกิดใหม่จ่ายให้ทั้งแม่ลูก มีทุนการศึกษา น้ำท่วม ไฟไหม้ ดินถล่ม กองทุนสวัสดิการช่วยเหลือ คนเฒ่าคนแก่ก็ได้รับการช่วยเหลือ ฯลฯ ประมาณปี 2548 เครือข่ายองค์กรชุมชน ยกระดับจากสวัสดิการออมทรัพย์โดยจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล มี 191 ตำบลนำร่อง กำหนดให้เป็นระบบสวัสดิการสามเส้า คือมีการสมทบจากจากสมาชิก (ส่วนใหญ่สมทบวันละ 1 บาท) จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจากรัฐบาลส่วนกลางผ่านสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน ปัจจุบันมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการระดับตำบลหรือเมืองขึ้นแล้วกว่า 3,500 กองทุน มีสมาชิกกว่า 2.6 ล้านคน เงินกองทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ปี 2552 เครือข่ายสวัสดิการชุมชนเรียกร้องให้รัฐบาลเริ่มสมทบเงินเข้ากองทุน สวัสดิการตามจำนวนสมาชิกกองทุน โดยคิดหัวละ 1 บาท/วัน รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้ในปี 2553 จำนวน 725 ล้านบาท (รวมการส่งเสริมกองทุนใหม่และการพัฒนา) และจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องปีที่สองในปี 2554 อีก 800 ล้านบาท ถึงเดือนเมษายน 2554 มีการสมทบงบประมาณให้กองทุนสวัสดิการแล้ว 2,654 กองทุน มีคนรับประโยชน์ 1.4 ล้านคน และมีการอนุมัติงบประมาณสมทบปีที่ 2 แล้ว 516 กองทุน 52.12 ล้านบาท รัฐบาลใช้เงินเพียง 700 กว่าล้านบาท ทำให้คนในชุมชน 1.5 ล้านคนได้รับการคุ้มครองจากระบบสวัสดิการชุมชน “สวัสดิการ” ชุมชนทำเองคุ้มค่ากว่า ผลการวิเคราะห์เม็ดเงินใน กองทุนสวัสดิการชุมชน 2,656 กองทุนพบว่าเงินร้อยละ 73 เป็นเงินที่สมาชิกสมทบ ไม่ใช่รัฐบาลจ่าย 100% เหมือนอย่างโครงการประชานิยมทั้งหลาย นั่นหมายความว่าถ้ารัฐบาลต้องการให้คน 2.6 ล้านคน ที่เป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการใน 3,500 ตำบล/เมืองได้รับการคุ้มครองจากระบบสวัสดิการชุมชน รัฐบาลจะใช้งบประมาณสมทบสมาชิกต่อปีคนละ 365 บาท เพียง 949 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น บางกองทุนสวัสดิการชุมชนในปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 6,300 คน(ค่าเฉลี่ยอยู่ที่กองทุนละ 750 คน) บางกองทุนสามารถจัดสวัสดิการให้สมาชิกมากกว่า 22 ประเภท ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปจนถึงทุนการศึกษา และเงินช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนพิการ ฯลฯ กองทุนสวัสดิการที่มีการสำรวจข้อมูลครบถ้วนดังกล่าวมีการจัดสวัสดิการให้ สมาชิก 13 ประเภท แม้ว่าส่วนใหญ่จะยังเป็นเรื่องเกิดแก่เจ็บตายอยู่ แต่ร้อยละ 30 บอกว่ามีการจัดสวัสดิการให้ผู้สูงอายุ ร้อยละ 31 จัดสวัสดิการเพื่อการศึกษาและร้อยละ 6 ช่วยกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในชุมชน ในขณะที่ร้อยละ 4 หรือกว่า 100 กองทุนบอกว่ามีกองทุนช่วยเหลือภัยพิบัติ การที่เงินกว่าร้อยละ 70 เป็นของชาวบ้าน นอกจากจะมีความหมายว่ารัฐบาลจ่ายเงินสมทบเพียงนิดเดียวแล้วยังหมายถึงความ รู้สึกเป็นเจ้าของกองทุนสูงกว่าเงินแจกฟรีจากรัฐบาล และธรรมชาติที่สำคัญของกองทุนสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นมาแล้วคือ มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันตามสภาพปัญหาความต้องการของแต่ละพื้นที่ และองค์กรชุมชนเป็นผู้บริหารเอง ออกระเบียบเอง ยกเลิกระเบียบเอง ไม่มีการรวมศูนย์การบริหารจัดการไปไว้ที่ส่วนกลาง ที่ระดับชาติ ดังเช่นกองทุนสวัสดิการสารพัดชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน คิดใหม่ ทำใหม่ นโยบายสวัสดิการถ้วนหน้า ปัจจุบันมีความคิด เรื่องกองทุนสวัสดิการระดับชาติหลายกองทุน กับหลายกลุ่มเป้าหมาย แต่จุดอ่อนอันยิ่งใหญ่ของกองทุนเหล่านี้คือ เป็นการดูดเงินประชาชนมาไว้ที่ส่วนกลาง ให้เจ้าหน้าที่รัฐเจ้าหน้าที่กองทุนที่กินเงินเดือนแพง ๆไม่กี่คนมีอำนาจบริหารจัดการ เอาเงินไปลงทุนโน่นนี่ (บางทีก็ขาดทุน) หนำซ้ำกองทุนสวัสดิการรวมศูนย์แบบนี้ทำให้ชุมชนอ่อนแอ ไม่ส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งแม้แต่น้อย ในทางตรงข้ามกองทุนสวัสดิการชุมชนที่จัดตั้งขึ้น มีกรรมการบริหารกองทุนเฉลี่ยกองทุนละ 25 คน นั่นหมายความว่าขบวนสวัสดิการชุมชนของประเทศไทยถูกขับเคลื่อนด้วยกำลังคน กว่า 87,000 คน เม็ดเงินส่วนใหญ่มาจากสมาชิกสมทบเอง รับประโยชน์เอง รัฐช่วยบ้าง ปีไหนรัฐถังแตกกองทุนสวัสดิการชุมชนก็ยังเดินต่อได้บนพื้นฐานของการ “ให้ อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” อย่างนี้นี่แล้ว เราจะมีเหตุผลอะไรที่จะไม่สนับสนุนให้เกิดกองทุนสวัสดิการชุมชนเต็มแผ่นดิน เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ทุกคนมีสวัสดิการถ้วนหน้าในปี 2560.
คำสำคัญ (Tags): #ข่าว
หมายเลขบันทึก: 437409เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2011 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Two points:

1) good projects must be presented in a way that is much easier to read and understand.

As it is not many will bear the pain to read through and understand the content.

2) the separation of people by safety net provision will become a deep and serious social rift:

- government employees get extra welfare benefits where other employees don't;

- most employees get salary or wage adjustment for inflation and etc but self employed people, farmers and casual workers don't;

- government pushes to collect more taxes by raising salary for public servants and employees will raise inflation (as businesses raise their prices to absorb to raise) and all people become poorer;

Yes, I do agree with community self-help local projects. They know better what they need and how to get it. ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท