เทคนิคการฝึกสมองสู่ความสุข 1


สมอง เป็นศูนย์บัญชาการชีวิต ทั้งกายและใจ

มีโอกาสได้ไปฟังบรรยาย เทคนิคการฝึกสมองสู่ความสุขและสุขภาวะองค์รวม จาก อ.นพ.สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ  เมื่อ  21  เมษายน ที่ชะอำ ในงาน เสริมพลังทางปัญญา สร้างคุณค่าคนทำงาน  เพื่อบริการที่ดีสู่ประชาชน  จัดโดย สปสช.เขต 4 สระบุรี ซึ่งก็พอจะเก็บมาเล่าให้ฟังได้บ้าง

 เทคนิคการฝึกสมองสู่ความสุขและสุขภาวะองค์รวม น่าสนใจนะ ทำไมต้องฝึกสมองหล่ะ ความสุขอยู่ที่ใจไม่ใช่หรือ  มันมีคำถามอยู่ว่า  เราจะทำ(งาน)อย่างไรให้มีความสุข   คำตอบอยู่ที่ ใจ  คำตอบของใจ อยู่ที่สมอง

          เรามารู้จักสมองกันก่อนนะ   สมอง เป็นศูนย์บัญชาการชีวิต ทั้งกายและใจ มีทั้ง ส่วนควบคุมการคิด เชาว์ปัญญา  ควบคุมการเคลื่อนไหว รับรู้สัมผัส ศูนย์รับรส ศูนย์ควบคุมการพูด ศูนย์การรับกลิ่น ศูนย์การได้ยิน  สมองหนักเพียง 2% แต่ใช้พลังงานถึง 20% สมองต้องการน้ำ น้ำตาล และออกซิเจนที่เพียงพอ  เซลล์สมองสมองงอกใหม่ได้ด้วยนะ (Neurogenesis Fred Gage 2541)  สมองไม่ใช่ก้อนเนื้อที่ตายตัว หากแต่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ และเชื่อมต่อวงจรใหม่ได้ อยู่ที่การฝึกฝนซ้ำๆ

          สมองแบ่งออกเป็น 4 ส่วน

          1. สมองส่วนหลัง /ก้านสมอง  เป็นสมองสัญชาตญาณ  สัญชาตญาณแห่งการอยู่รอด กิน กาม กลัว หนี  สัญญาณชีพ เป็นสมองตะกวด

          2. สมองส่วนกลาง ความรัก ความผูกพัน  หญิงจะมีสมองส่วนนี้มากกว่าผู้ชาย รู้สึกไว อ่อนไหว ผูกพัน สื่อสาร สมาคม โรคซึมเศร้า  เป็นสมองสุนัข  ถ้าใครว่าเรา สมองสุนัข เราไม่โกรธแล้ว

          3. สมองส่วนหน้า เป็นศูนย์เหตุผล  เชาว์ปัญญา  การใช้เหตุผล การวางแผน การแก้ปัญหา เป็นสมองมนุษย์

          4. สมองเล็ก : การประสานงานของกล้ามเนื้อ การเล่นเปียโน  ขี่จักรยาน  งานฝีมือ  กายกรรม  การทรงตัว

          จุดศูนย์รวมของสมองส่วนหน้าและสมองส่วนกลาง ทำให้เกิดหน้าที่ดีๆ 9 ข้อ หากพัฒนาให้เข้มแข็ง

          1. ควบคุมการทำงานของร่างกายให้สมดุล เช่น ทำงานแข็งขัน+ใจสงบ , เหยียบคันเร่ง---แตะเบรค

          2. ปรับอารมณ์ ..(ควบคุม Limbic system)

          3. ควบคุมความกลัว

          4. รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น

          5. เห็นอกเห็นใจผู้อื่น  ---Mirror Cells

          6. ยั้งคิดก่อนทำ

          7. รู้แจ้งในตนเอง ( Self  awareness )

          8. ญาณหยั่งรู้ -------Spindle

          9. ศีลธรรม

หากเปรียบสมองเป็นอุปกรณ์  สมองเป็น Hardware เป็น รูป ในทางศาสนา  ทำหน้าที่

รับรู้     =        วิญญาณ

รู้สึก     =        เวทนา

คิด      =        สังขาร

จำ       =        สัญญา

สั่งการ การเคลื่อนไหว พฤติกรรม การแสดงออก =   วจีกรรม  กายกรรม

ดังนั้น องค์ประกอบของชีวิต ประกอบด้วย กาย(รูป) 1 จิต(นาม) 4 ขันธ์ (กอง) 5

แล้วเราจะพัฒนาสมองกันอย่างไร....ขอไปสรุปต่อก่อนนะ

หมายเลขบันทึก: 437001เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท