กาปงตาโก๊ะ


ที่มาของชื่อหมู่บ้าน ในจ.นราธิวาส เรื่องเล่าความเป็นมาของสถานที่ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

กาปงตาโก๊ะ หมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส หมู่บ้านหนึ่ง  ชื่อบ้าน  “ตาโก๊ะ”  (คำนี้แปลว่า กลัว ในภาษามลายูพื้นถิ่นแดนใต้)   กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว    หนุ่มสาวพื้นถิ่นแต่งงานกันแล้ว   เวลาล่วงเลยมาไม่นาน   สมควรที่สาวเจ้าจะต้องไปเยี่ยมบ้านพ่อตาแม่ยายพร้อมสามี         การเดินทางโดยเท้าแต่โบราญผ่านพื้นที่ในรูปแบบต่าง ๆ มีที่เป็น  ทุ่งนา - ป่าดง –ที่ชุ่มแฉะ ฯลฯ   ณ   ช่วงที่เป็นที่ชุ่มแฉะนี่เอง        เป็นทางผ่านป่าพรุ     สองข้างทางเป็นดง “คมบาง” (พืชน้ำในตระกูล กก แต่เหลี่ยมของลำต้นคมมาก)       ขณะที่ทั้งสองเดินลุยน้ำตามกันผ่านทางในดงคมบางเกิดมีอุบัติเหตุงูเหลือมตัวโต   จู่โจมเข้าฉก รัด ตัวจ้าวสาว ล้มลง  การต่อสู้  ดิ้นรน  พร้อมกับเสียงหวีดร้องขอความช่วยเหลือสุดเสียง       เจ้าบ่าวที่เดินนำหน้าหันกลับมา เห็นชัดเจนทำท่าจะช่วยแต่กลับผงะถอยกรูดไปตั้งหลัก    พร้อมกับละล่ำละลักว่า  อากู  ตาโก๊ะ  (กูกลัว)    แล้วก็วิ่งเข้าไปจะช่วยอีก  แล้วก็วิ่งถอยหลังกลับ พร้อมกับร้องว่า   อากูตาโก๊ะ  เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป ทันใดนั้นมีผู้อาวุโส (เทียบอายุรุ่น น้าหรือลุง) นายหนึ่งวิ่งน้ำกระจายตามหลังมา     เข้าช่วยเหลือสาวเจ้า ปลดงูที่พันตัวให้หลุดออกพร้อมกับการทุบตีจนงูร้ายหลบไป        เป็นการสิ้นสุดนาทีวิกฤต ที่อาจถึงตายได้ไม่ยากด้วยล้มลงจมูกอาจจมน้ำ   หรือตายได้ด้วยแรงบีบรัดของงูจนหมดลมหรือทั้งสองอย่างประกอบกัน   ทั้งสิ้นก็รอดมาได้เหมือนปาฏิหาริย์ ที่สุดแห่งการเดินทางที่สาวหวัง       เพื่อไปเยี่ยมและทำความเคารพพ่อตาแม่ยาย ของเธอ    สาวเจ้าก็เปลี่ยนไป สาวเจ้าบอกกับสามีของเธอว่า  ขอลา    เธอจะไปกับผู้ช่วยชีวิตเธอไม่ว่าจะในฐานะใด      ในฐานะ ภรรยา   หรือข้าทาส    ประการใดก็ขอยอมรับทั้งสิ้น   เขาช่วยชีวิตฉันไว้      ที่รัก  ขอลาก่อน     ซาลามัสตีงา.     เรื่องก็จบลงเพียงนี้และเป็นตำนานชื่อบ้าน กาปงตาโก๊ะ มาจนปัจจุบัน

คำสำคัญ (Tags): #ซาลามัสตีงา.
หมายเลขบันทึก: 436744เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2011 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเรื่องเล่าสามจว.ใต้ ที่สนุกดีครับ//

เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่ามากครับ สมควรที่ผู้รู้ ปราชญ์ท้องถิ่นอื่นควรนำไปพิจารณาจัดทำบันทึกบอกเล่าประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่นของท่านในแต่ละที่ที่ยังไม่เคยมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรนะครับ คนเฒ่าคนแก่มีเรื่องราวเกี่ยวกับอดีต ก็ควรมีคนรุ่นใหม่ๆ บันทึก ประมวลแก้ไข (ชำระประวัติศาสตร์:วิธีการทางประวัติศาสตร์)แล้วบันทึกไว้เพื่อคนรุ่นหลังจะได้เรียนรู้ น่าจะดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท