ไทพ่าเก่


ภาษาไทยยิ่งใหญ่ภาษาทอง

ความรู้เบื้องตัน  ( Introduction)ไทพาเก

                ภาษาไทพ่าเก่เป็นสาขาหนึ่งของชาติพันธ์ตระกูลไทใหญ่  พากันอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐอัสสัม
ในครึ่งศตวรรษที่ 18  ในการต่อมา
ไทพ่าเก่ชุมชนเล็กๆในรัฐอัสสัมก็ดำรงชีวิตอยู่ใน 9 หมู่บ้านของอำเภอดิบรูการ์ห์  (Dibrugarh) และอำเภอตินซูเกีย
(Tinsukia) ของอัสสัม  หมู่บ้านเหล่านั้นคือบ้านน้ำพาเกและบ้านติปัมพาเก   ต่างก็ตั้งอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำบุรีดิหิง  (Buridihing) แห่งพื้นที่ของตำบลนหารกติยา
(Naharkatiya) แห่งอำเภอดิบรูการห์  และบ้านมวงลัง 
บ้านมันเมา  บ้านบอร์ พาเก
มันลอง  หรือ ลองพาเก บ้านนิงัมพาเก  หรือ 
นิงัม. บ้านนองไล  และบ้านพะเนงในท้องที่ตำบลเลโด-มาร์เฆริตาของอำเภอตินซูเกีย
(มีหมู่บ้านไทพ่าเก่อีก 2 หมู่บ้านในอรุณจัลประเทศคือ
บ้านวะคุนและบ้านลุงกุง)   ว่าโดยชาติพันธ์แล้ว 
ภาษาไทพ่าเก่นั้นเป็นภาษาของกลุ่มชนเผ่ามองโกลอยด์   ถ้าจะจัดตามภาษาคำศัพท์แล้ว  ภาษาไทพ่าเก่ขึ้นอยู่กับภาษาตระกูลจีนธิเบต  ( Tibeto-Chinese Families )  ก่อนจะอพยพเข้ามาในรัฐอัสสัม ชาวไทพ่าเก่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำตุรุงปานี (Nam-Turungpani)  ใกล้กับไทตุรุง( Tai-Turungs)  ถิ่นฐานภูมิลำเนาดั้งเดิมของชาวไทพ่าเก่อยู่ในประเทศจีน  ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้มณฑลกวงสี (Guangxi)และมณฑลกวงดอง (Guangdong)  ในระยะแรกเริ่ม 
มีชาวไทพ่าเก่เพียง  150  ครอบครัวเดินทางมาถึงรัฐอัสสัม  ชาวไทพ่าเก่เหล่านั้นเข้ามาถึงรัฐอัสสัมใน
ค.ศ.  1775ในรัชสมัยแห่งกษัตริย์ผู้ทรงปกครองชาวอาหมทรงมีพระนามว่า  พระเจ้าลักษมี สิงหะ  (Laksmi  Sinha 1769-1780 ค.ศ.)  และพากันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองหนองตาว (Nongtao)  ซึ่งกลายมาเป็นอรุณจัลประเทศ (Arunachal  Pradesh ) ในปัจจุบันขณะที่ชาวไทพ่าเก่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหนองตาวก็ได้ติดต่อกับพระเจ้าคำตี่  ( Khamti  King) และได้ร่วมกันสู้รบกับแม่ทัพชื่อศักดิยา  โยวา 
โคเฮน (Sadiya Khowa Gohaim) แห่งกษัตริย์ชาวไทอาหมผู้ทรงพระนามว่าพระเจ้าเการินัธ  สิงหะ ( Gaurinath  Sinha ) ภายหลังจากการขัดแย้งกันแล้วชาวไทพ่าเก่ก็ถูกพระเจ้าเการินัธกษัตริย์ของชาวอาหมพามายังเมืองโจรหัต (Jorhat )  และในการต่อมา
กษัตริย์อาหมพระนามว่า พระเจ้ากมเลสวาร 
สิมหะ(Kamaleswar  Simha ) ได้พาชาวไทพ่าเก่เหล่านั้นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเดซอย
( Desoi )หรือไดชอย  (Dichoi) 
ตามที่ อี.เอ. เกียต ( E.A. Gait ) อ้างไว้   นักโทษหลายคนถูกนำมาที่เมืองแรงเปอร์(Rangpuce)
แต่นักโทษบางคนก็พากันมาถึงถิ่นฐานอยู่ตามฝั่งแม่น้ำเดชอยทางเหนือของบ้านโจรหัตและพวกอื่นอีกก็พากันตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองติตะบอร์ในปี1816พวกพม่าเข้ามารุกรานรัฐอัสสัมและหลังจากนั้นการสู้รบก็สิ้นสุดลง ทหารพม่าก็ยึดพวกไทพ่าเก่และไทเผ่าฉานอื่นไว้ได้  แต่เนื่องจากฝนตกติดต่อกันไม่หยุดและภัยพิบัติ (
Calanity)  ธรรมชาติอื่นๆ
มากมาย 
จนเป็นเหตุให้ไทพ่าเก่เดินทางต่อไปกับพม่าไม่ได้   ทหารพม่ากับพวกไทพ่าเก่เหล่านั้นก็ต้องถอยไปตั้งหลักที่เมืองนัมชิกที่อยู่ในอรุณจัลประเทศ
 ปัจจุบันนี้ 
ชาวไทพ่าเก่ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นี่เป็นเวลาไม่กี่ปี  และชั่วเวลาไม่นานเท่าใด  รัฐอัสสัมก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ  พวกไทพ่าเก่ก็พากันเข้ามาอยู่ในรัฐอัสสัมตามลำดับ 
กลายเป็นคนกลุ่มน้อยและได้ตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นปึกแผ่น  เป็นหมู่บ้านต่างๆในอำเภอดิบรูการห์และอำเภอตินซูเกีย  ซึ่งชาวไทพ่าเก่เหล่านั้นอยังมีอยู่ทุกวันนี้

                ต้นตำนานของไทพ่าเก่  ( Legendary    Origin 
of  the  Phakes )เมื่อพิจารณาต้นตำนานของไทพ่าเก่   
นักปราชญ์จะมีทัศนะแตกต่างกันออกไป 
ต้นฉบับ(Manuscript  )  ที่เก็บไว้ในหมู่บ้านนิงคัม  ( Ninggam ) บอกไว้ว่า  เมื่อธิดาของพระเจ้ามวงกอง(Moungkong ) มีพระชนมายุพอจะอภิเษกสมรส  พระราชบิดาทรงประกาศว่า  ใครก็ตามสามารถยิงธนูด้วยลูกหินก้อนใหญ่ได้  เขาคนนั้นก็จะได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระองค์  ก็ชายหนุ่มในเผ่าไตพ่าเก่แต่ละเผ่าก็พากันใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก  แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของตน  
ดังนั้นหัวหน้าของอีกกลุ่มหนึ่งก็สมัครเล่นกีฬาคีตังเก็ต  ( Khitang  Ket ) กาวติดยึดเกาะ (
Glue ) ก็คล้ายกับสาระสำคัญติดอยู่บนหัวธนู  
ถ้ามีสารชนิดนี้เขาจะประสบความสำเร็จในการจ่อ  (Fix ) ธนูไปยังก้อนหิน  ถ้าสามารถยิงได้อย่างแม่นยำ 
กษัตริย์ก็จะทรงอนุญาตให้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระองค์อย่างแน่นอน
และผู้ประสบความสำเร็จของพวกเขาจึงกลายมาเป็นผู้ที่มีชื่อว่า  พ่าเก่ 
( ‘Pha’ หมายถึง หิน 
และ ‘Ke’หมายถึง อายุมากหรือแก(Old) )

                อย่างไรก็ตาม  สามะ  ธกุร ( Sarma   Thakura )
ได้ให้การแปลตำนานเล่มนี้แตกต่างล็กน้อย 
ตามตำนานเล่มนี้  ตอนแรกๆ  ชาวเมืองมวงกอง (Moungong )  มิได้แบ่งแยกเผ่าพันธุ์ให้แตกต่างกัน 
แต่ดูลักษณะสัณฐานแล้วก็ไม่แตกต่างกันเท่าใด  พวกไทพ่าเก่เหล่านั้นก็ตั้งตนเป็นคนกลุ่มน้อย  วันหนึ่ง
ชายชราคนหนึ่งได้พบหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งวางอยู่ในป่าทึก 
และชายชราคนนั้นก็ประกาศให้คนทุกกลุ่มทราบเกี่ยวกับหินก้อนนั้นก็มีคนลงความเห็นว่า  ชายชราผู้ที่พบเห็นหินก้อนนั้นที่ถูกยิงด้วยลูกศรอาจเป็นพระเจ้าแผ่นดินของคนทุกกลุ่ม   สมาชิกแรกของคนกลุ่มนั้นผู้ที่ใครๆทราบดีว่า  คือ “ชาวไทคำตี่” ที่ได้พยายาม  แต่ก็เปล่าประโยชน์  เป็นผู้ไม่สามารถจะทนความล้มเหลวได้
พวกไทคำตี่ก็พากันจากที่นั้นไป 
ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งกลุ่มที่สองขึ้น  
สมาชิกทั้งหมดของกลุ่มที่สองนี้ก็ไม่อาจยิงทะลุให้เป็นรู  ( Pierce ) ที่หินก้อนนี้ด้วยลูกธนูของพวกเขาได้  
พวกเขาโกรธและละอายแล้วจากที่นั้นไปหลังจากเวลาเช่นเดียวกันนั้น
ชาวไทเหล่านั้นได้กลายมาเป็นไทไอตนในทุกวันนี้ 
( Ai หมายถึง ผู้แก่ที่สุด  Ton 
หมายถึง ผู้โกรธ) ชาวไทไอตนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มน้อยมีพบเห็นได้ในรัฐอัสสัมของอินเดีย

                ประชาชนที่มีนามว่าไทพ่าเก่ในเวลานี้ 
เมื่อสังเกตให้ถ่องแท้แล้ว (Curiously) ก็ได้แก่ไทคำตี่และไทไอตนผู้เป็นแรงงานมีฝีมือ
 พวกเขาเหล่านี้ค้นพบวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมาย  ดังนั้นจึงประสบความสำเร็จในการเก็บรังผึ้งมาจากป่าทึบแล้วนำมาดัดแปลงให้เป็นส่วนหัวลูกธนู  จนสร้างความประหยาดใจทั้งหมด 
เพราะลูกธนูของพวกเขาได้ฟุ้งออกไปติดอยู่ที่ก้อนหิน  ด้วยเหตุนี้
ชาวไทพ่าเก่จึงกลายมาเป็นนักปกครองแห่งแผ่นดินในภูมิภาคนี้  ชาวไทพ่าเก่เป็นนักปกครองของท้องถิ่นที่หินก้อนใหญ่นั้นตั้งอยู่

                ตำแหน่งภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านไทพ่าเก่ในรัฐอัสสัม

                ตำแหน่งภูมิศาสตร์และสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่พอมีให้ศึกษาในหมู่บ้านไทพ่าเก่ต่างๆ
เช่น ในอำเภอดิบรูการห์ 
และอำเภอตินซูเกียของรัฐอัสสัม 
ได้ถูกกล่าวไว้ข้างล่างโดยย่อ


  1. หมู่บ้านนัมพ่าเก่

                หมู่บ้านนัมพ่าเก่นี้  ตั้งอยู่เป็นระยะห่างกันประมาณ 3 กิโลเมตรจากเมืองนหารกาเตีย  (Naharkatia Town ) หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้น
ใน ค.ศ.  1850 หมู่บ้านนี้ติดต่อกับตอนเหนือเลียบแม่น้ำเบอร์หิทิหิง
(Burhidihing )   ทางด้านตะวันออกของหมู่บ้านนาคะ  (Naga) และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านฟอลตูตาลา  กาชะรี 
(Faltootala

Kachari  )  หมู่บ้านดิหิง  กินาร์ เบ็งกาลี
โกน(Dihing Kinar  Bengali gaon)   และหมู่บ้านเชเรปะจัล   เบ็งกาลีโกน( Cherepajan  Bengali gaon )
สร้างเป็นพรมแดนทางตะวันตกของหมู่บ้านและติดต่อลงไปทางใต้ได้หมู่บ้านบะคัมโมระโกน (Baghmora  gaon) ซึ่งเป็นที่อาศัยของชาวไทอาหมและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านฟัลตูตาลา  กาชะรี 
โกน  ตามการสำรวจสัมโนประชากรปี 2001  ประชากรของหมู่บ้านนั้นทั้งหมดมี
645 คน

                ในหมู่บ้านมีโรงเรียนอยู่หลายแห่ง
มีหลายระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา
จนถึงอุดมศึกษา 
นอกจากนั้นยังมีสนามเด็กเล่น  ( Playground ) บาร์ คลับ และห้องประชุมสาธารณะ 
มีพุทธวิหารเป็นศูนย์ของหมู่บ้าน 
อาคารบ้านเรือนถูกสร้างหันหน้าสู่แม่น้ำเบอร์หิติหิง  นาข้าวตั้งเรียงรายไปตามด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้และด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้านตามลำดับ  โรงเรียนแอล.พี. ตั้งขึ้นเมื่อปี  1953


  1. หมู่บ้านติพัมพ่าเก่วิลเลจ

                หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งน้ำทางทิศเหนือแห่งแม่น้ำเบอร์หิดิหิง  ทางทิศเหนือของหมู่บ้านนั้นตั้งหมู่บ้านอุศบุระ
(
Ushapura ) ซึ่งมีประชาชนชาวกยัสธะ ( Kayastha ) และกลิตะ (Kalita)อยู่อาศัยและหมู่บ้านเชนเกลีจัลซึ่งพากันตั้งถิ่นฐานอยู่ส่วนมากจะเป็นกรรมกรไร่ปลูกชาที่ปลดเกษียณแล้ว  ทางด้านทิศตะวันออกอยู่ทางเมืองเอกกุรี  เบงกะลี 
โกน  ( Ouguri Bangali  gaon) ซึ่งชาวไร่ชาที่ปลดเกษียณแล้วอาศัยอยู่  แม่น้ำเบอร์หิดิหิงและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน
(มิใช่ตินัม พ่าเก่)  
พวกผู้ลี้ภัยชาวอัสสัมและชาวเบงกอลอาศัยอยู่
เป็นพรมแดนทางตอนใต้และแม่น้ำเบอร์หิดิหิงเป็นเครื่องหมายพรมแดนตะวันตก  หมู่บ้านนี้ถูกตั้งขึ้นในปี  ค.ศ. 1950 และคนสำคัญในการตั้งหมู่บ้านนี้ก็คือ
ปู ธอต นอง (Pu  Thot  Nong)  ครั้งแรกหมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นด้วย 10-15 ครอบซึ่งบัดนี้ก็มีครอบครัวเพิ่มขึ้นถึง
45 ครอบครัวแล้วประชากรทั้งหมดมีประมาณ 196 คน


  1. หมู่บ้านบอร์พ่าเก่

                หมู่บ้านบอร์พ่าเก่อยู่ภายใต้การปกครองของตำบลมารเฆริตา
อำเภอตินซูเกีย  
หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านชาวไทพ่าเก่ที่เก่าที่สุด  ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1830 ทางทิศเหนือของหมู่บ้านเป็นแม่น้ำเบอร์หิดิหิง  และทางทิศใต้ตั้งอยู่ที่สถานีมารเฆริตา  และถนนมารเฆริตา  ตลาดเกเตตั้งอยู่บนพรมแดนตะวันตก  ประชาชนจากตระกูลต่างๆ
ของไทพ่าเก่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านนี้ เช่น หมู่บ้านโธมุง  เวียงเก็น 
ชะขับ  หะเมา  เฮาเก็น

เชาภูมิ  มันไฮ 
ไหหลวง  ตุมเต็น  มังนอย 
โชตน  โปมุง  เฮามา 
เชาฮิน  มีประชากรประมาณ  297 คน


  1. หมู่บ้านพะเน็งหรือหมู่หม่านพะเน็ง

                หมู่บ้านพะเน็งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เลขะปานีแห่งอำเภอตินซูเกีย  หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1910 ภายใต้การปกครองของไอ
อง มยัด  โพมุง ไอ  มาวน์ 
ชะขับ  กล่าวได้ว่า  หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นภายใต้ภาวะผู้นำของมองยะ
นุก แมนไห   จากลองโกน   พร้อม 3 ครอบครัวในปี ค.ศ.1910
 ระหว่างระยะเวลานั้น  มีเพียงหมู่บ้านเดียวมีชื่อว่า เก็งยุ  เป็นของชาวเขาเผ่าเซมะนาคะ  ในปี ค.ศ. 1936 มีบางครอบครัวจากเมืองมันเมามุขะ
อพยพมาที่หมู่บ้านพะเน็งและมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั้นขยายความร่วมมือออกไปตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านที่มีระเบียบการปกครองที่ถูกต้อง
แต่ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  ชาวบ้านต้องสลับบ้านอยู่อาศัยตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ   หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง พวกเขาก็กลับมาอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านพะเน็งอีก  ซึ่งประชาชนเหล่านั้นต่างทำมาหากินอยู่ที่หมู่บ้านเดิมด้วยความสมหวังทุกประการ  หมู่บ้านนี้จะห้อมล้อมด้วยแม่น้ำติรับ
และหมู่บ้านรามปู อยู่ทางเหนือ หมู่บ้านหนะยุ 
เกนิยา และบะลิจันอยู่ทางทิศใต้ แม่น้ำติรับมีผู้เล่าว่า
จะคลุมพื้นที่ด้านทิศตะวันออก ส่วนแม่น้ำติรับและท้องทุ่งมันเจอยู่ทางทิศตะวันตก  หมู่บ้านนี้จะมีพุทธวิหาร มีโรงเรียนประชาบาล
มีสนามเด็กเล่น มีประชากรประมาณ 159 คน


  1. หมู่บ้านนิงคำ

                หมู่บ้านนิงคำนี้ตั้งอยู่ในตำบลเมรฆาริตา
ภายในพื้นที่ของเลขะปานี  หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นเมื่อ
ค.ศ.1938

ภายใต้ภาวะผู้นำของไอ  กยา 
ชะขับ บนริมฝั่งแม่น้ำบอร์หิดิหิง 
มีการเล่าว่า  ไอ  กยา 
ชะขับ ได้เป็นคนนำทางหรือผู้นำ ในการแสดงเส้นทางเดินป่า
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2  เขาเป็นชายที่กล้าหาญและเป็นนักแสวงหาที่ดีมาก  แม่น้ำบอร์หะดิหิง
จากแนวเขตแดนด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน 
แม่น้ำติรับและหมู่บ้านเบงกะลี 
โกน  อยู่ทางทิศตะวันตก
หมู่บ้านโกมชะ  โกนและหมู่บ้านพิลชะ  โกน อยู่ทางทิศใต้  และหมู่บ้านโกลหะ  โกน อยู่ทางทิศตะวันออก
หมู่บ้านนี้จะมีพุทธวิหาร มีโรงเรียนประชาบาล มีสนามเด็กเล่น มีประชากรประมาณ 307
คน (สำรวจเมื่อ ธันวาคม 2002 )


  1. หมู่บ้านลองพ่าเก่หรือลองโกน

                หมู่บ้านลองพ่าเก่
ตั้งขึ้นภายใต้อำนาจปกครองของตำบลมาร์เฆริตา แห่งอำเภอตินซูเกีย  หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1938 โดยคำแนะนำและภาวะผู้นำของ
นุก กยา โธมุง ไช ธอต ชะขับและไอตอง เช็ง ชะขับ
หลังจากตั้งหมู่บ้านก็มีไม่กี่หมู่ครอบครัวมาจากหมู่บ้านหนองไลและหมู่บ้านปังยก
มาตั้งหลักแหล่งในหมู่บ้านแห่งนี้ด้วย 
หมู่บ้านใหม่ช้างปานี  โกน
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านลองพ่าเก่ ทางด้านทิศตะวันตกได้แก่หมู่บ้านอุลุย 
ทางด้านทิศตะวันออกได้แก่หมู่บ้านโตกรอง-มะธุปุระ
และทางทิศใต้ก็มีหมู่บ้านลองละจุม 
หมู่บ้านลองพ่าเก่มีพุทธวิหาร 
มีโรงเรียนผจญภัยและสนามเด็กเล่น 
มีประชากรประมาณ 165  คน

7.   หมู่บ้านมันมาวหรือหม่านโม

                หมู่บ้านมันมาวเป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นปี
ค.ศ. 1840
 หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุดแห่งที่สอง
ของชาวไทพ่าเก่  มีประชากรทั้งสิ้น 71
คน (สำรวจเมื่อเดือนตุลาคม 2002)

8.   หมู่บ้านมวงลังหรือหม่านมวงลัง

                หมู่บ้านมวงลังตั้งขึ้นในปี
ค.ศ. 1900
บนฝั่งแม่น้ำดิหิง
ซึ่งสร้างเป็นเขตทางตอนเหนือของหมู่บ้านนั้นมีประชากรทั้งสิ้นเพียง 55 คน ชาวพ่าเก่มีชีวิตอยู่อย่างสงบกับเพื่อนชาวเขาเผ่าอื่นของหมู่บ้านนั้น

9.
หมู่บ้านนองไลหรือหม่านนองไล

                หมู่บ้านนองไลตั้งขึ้นในปี
ค.ศ. 1936
มีครอบครัวเพียงสองสามครอบครัวมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้  ตอนนั้นมีประชากรอยู่ประมาณ 24 คน

                ลักษณะนิสัยทั่วไปของชาวไทพ่าเก่

                ชาวไทพ่าเก่  เป็นคนมีนิสัยร่าเริงและสนุกสนาน  พวกเขาชอบอยู่กันเป็นครอบครัว เป็นกลุ่มและ
เป็นชุมชน    นอกจากนั้น
ชาวไทพ่าเก่ทำงานทรหดอดทน ขยันหมั่นเพียร 
งานเฉลิมฉลองเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ( Trait) แห่งวัฒนธรรมของพวกเขา  
จะให้เกียรติอย่างยิ่งกับอาคันตุกะผู้มาเยือนถึงบ้านไทพ่าเก่และจะให้ความสนุกสนานกับอาคันตุกะด้วยดวงใจอันนุ่มนวล  ชาวไทพ่าเก่มีจิตใจหนักแน่นในพระพุทธศาสนาและเป็นกลุ่มชนที่รักสันติภาพ

                สังคมไทพ่าเก่

                ชาวไทพ่าเก่และชุมชนไทพ่าเก่ได้ผ่านการพัฒนาตามขั้นตอนต่างๆมาหมดแล้ว 
แต่ในยุคแรกๆชาวไทพ่าเก่ก็เหมือนกับชุมชนอื่นจะไม่มีรูปแบบระบบทางสังคมใดๆมากมายนัก
เจาเชนซัง (
Cao  Chenzhang )
ได้อธิบายชีวิตของบรรพบุรุษของเผ่าไทในสมัยโบราณอันห่างไกล ( Remote) ท่านได้อาศัยตำรามหากาพย์ของเผ่าไท 
บรรพบุรุษของเผ่าไทเลี้ยงชีวิตด้วยการล่าสัตว์  มีการถ่ายโอนการเพาะปลูกสืบต่อกันมา  มีอยู่ 3 ยุค
ในยุคแรกไม่มีนักปกครอง  ไม่มีศาสนา  ไม่มีฉันทนาการ ไม่มีพันธะผูกพัน ในยุคที่สอง
มีผู้นำสังคมแต่ยังไม่มีวัดวาศาสนา หรือไม่มีการเสียภาษี  ยุคที่สามพบว่า มีภาวะผู้นำ มีวัดวาศาสนา
มีการเสียภาษีอากร 
และมีตัวบทกฎหมายใช้บังคับ 
เมื่อเราสามารถแบ่งการพัฒนาชุมชนไทในอีกรูปแบบหนึ่ง  ยุคแรก เรียกว่า ยุคล่าสัตว์ ยุคสองเรียกว่า
ยุคที่มีภาวะผู้นำ เพื่อทำให้หน้าที่บริหารจัดการ งานด้านชลประทาน (
Irrigation ) นั่นแสดงให้เห็นว่า 
มีการเติบโตแห่งระบบเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมขึ้นแล้ว ยุคที่สาม คือยุคที่มีผู้นำทางศาสนา  ซึ่งบ่งบอกถึงการปรากฏออกมาให้เห็นการแบ่งชนชั้นทางสังคมอยู่อุปสงค์(ความต้องการ)
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ 
ชุมชนชาวไทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเองแล้ว  ในเรื่องของการเป็นเจ้าของที่ดิน  การเป็นส่วนหนึ่งของระบบชนชั้น  การเอารัดเอาเปรียบกัน และการมีระบบการเมือง

                การศึกษาสังคมไทจะเล็งเป้าหมายไปที่โครงสร้างแห่งประชาคมของตระกูล  ( Clan 
Commune ) ซึ่งจะประกอบไปด้วยอนุชนคนรุ่นใหม่แห่งชนชั้นสูงแห่งบรรพชนบรรพชนหนึ่ง  4 
เหล่า คือ 
การไม่แต่งงาน 
จะมีการยอมรับในชุมชนนี้  
ประชาสังคมในตระกูลแต่ละสังคม มีผู้นำกลุ่มของตนเอง และพวกมนุษย์สมมุติเทพผู้ซึ่งถือว่าเป็นจิตวิญญาณของบรรพชนของคนในตระกูลนั้นๆ ตำราเล่มนี้ได้บรรยายขยายออกไปเกี่ยวกับประชาสังคมทางการเกษตรของชาวไท 
และการเปลี่ยนแปลงของชนเผ่ามาเป็นสังคมชนชั้นหนึ่งในระหว่างยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปในด้านเทคโนโลยี
จึงเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางสังคมที่เกิดจากการรวบรวมไว้จะใช้แทนกันได้ก็ต่อเมื่อมีการปลูกฝั่งให้ลูกหลานในครอบครัวก่อน 
ซึ่งจะเป็นประชาสังคมที่มีตระกูลเป็นผลที่ตามมา  ในที่สุด 
การสืบแนวคิดก็จะค่อยหายไปจากสังคม 
การสืบสานวัฒนธรรมแบบร่วมสายโลหิตเดียวกัน 
ในที่สุด  ก็จะหายไปเอง  อย่างไรก็ตาม 
ในบางภูมิภาค  ประชาสังคมแบบสืบสกูลและผืนดินแบบมรดกตกทอด 
ได้ดำเนินสืบทอดกันมาก็ยังมีอยู่ในชุมชนเผ่าไตพ่าเก่ปัจจุบัน 
ระบบแบบมีทาสก็มีพบอยู่เหมือนกันในท่ามกลางของชาวไทพ่าเก่ ในระยะเวลาหนึ่ง
หรือ ในยุคใดยุคหนึ่ง 
ซึ่งจะมีลักษณะเป็นทาสรับสมเด็จพระสังฆราช 
ตามปกติเจ้านายได้ปฏิบัติต่อทาสของตนเป็นอย่างดี  โดยแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกในครอบครัวเสีย
พวกทาสเหล่านั้นก็ได้รับการเลี้ยงดูและรับเสื้อผ้า
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับแรงงานของตน

                ชีวิตทางสังคมของพวกไทพ่าเก่จะสะท้อนให้เห็นไม่มากก็น้อยถึงภาพลักษณ์เดียวกัน  ชาวบ้านจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการสร้างบ้าน  การปักดำและการเก็บเกี่ยวข้าวกล้า
การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ 
การเผาศพเมื่อตาย 
การไปร่วมงานฉลองการเกิดของเด็ก 
และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ การช่วยเหลือกันก็ถือว่าจำเป็น  ชาวบ้านจะร่วมมือกันในการสร้างโรงเรียน  สร้างถนน 
สร้างศาลาประชาคมและสร้างศาสนสถานทางศาสนา

                                ภาษา  (Language)

                ไทพ่าเก่ใช้ภาษาแบบสองภาษา ( Bilingual ) ชาวไทพ่าเก่พูดภาษาไพอัล
(Phaial) กับพวกเดียวกัน
และพูดภาษาอัสสัมมิสกับคนข้างนอก 
ชาวไทพ่าเก่มีต้นฉบับหนังสือแยกกันและได้สงวนรักษาต้นฉบับหนังสือไว้ได้ดีมากด้วย  ภาษาของชาวไทพ่าเก่เป็นภาษาวรรณยุกต์  ส่วนมากจะเป็นภาษาในคัมภีร์ทางศาสนา
วรรณยุกต์ไทพ่าเก่ มีอยู่ 6 วรรณยุกต์เด่น คือ
เสียงจัตวา  (Rising) เสียงโท ( Falling) เสียงตรี (midกลาง) เสียงต่ำสูง (Falling ตก
) และเสียงต่ำ  (mid
กลาง) เป็นเสียงมีพยางค์เดียว  ปัจจัยหลัง 
(Suffixs)

เพิ่มลงไปเพื่อรักษาคุณภาพของคำที่มีพยางค์เดียวไว้ 
ภาษาไทพ่าเก่มีความรู้ในด้านการออกเสียงคล้ายๆกับภาษาบาลี

                ศาสนาและงานเทศกาลเกี่ยวกับศาสนา

                ชาวไทพ่าเก่นับถือศาสนาพุทธเคร่งครัดมาก  พุทธวิหารถูกสร้างขึ้นประจำทุกหมู่บ้านที่มีพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองเหลืองซึ่งมีการสวดมนต์และสักการะบูชาเป็นประจำโดยพระสงฆ์ซึ่งเรียกว่าเจ้ามูน  ( Chow 
Mown)  ทุกวัน
ชาวไทพ่าเก่จะไปถวายดอกไม้บูชาพระ 
และจุดธูปเทียนบูชาพระ 
งานประเพณีที่สำคัญของชุมชนชาวไทพ่าเก่มีดังต่อไปนี้

                ปอยสังเกน   นิยมเป็นที่รู้จักกันว่า ปานิบิฮู  ปฏิทินของชาวไทพ่าเก่
เริ่มขึ้นกับปีใหม่จากวันที่ 1 ของการเฉลิมฉลองและจะจัดงานฉลองไปสามวัน  ในงานฉลองแรกเริ่ม 
ก็จะนำพระพุทธรูปออกมาจากพุทธวิหารแล้วนำมาประดิษฐานไว้บนกะหญ่องฟระ (
Kyoung  Fra) ชาวบ้านจะทำความสะอาดขัดถูพระพุทธรูป  ชาวบ้านจะสรงน้ำพระด้วยน้ำสะอาดด้วยความกระตือรือร้นและสนุกสนาน
นั้นคือคำตอบว่า ทำไมจึงเรียกพิธีกรรมนี้ว่า 
ปานิบิฮู 

                พุทธปูรนิมา  เฉลิมฉลองหลังจากปอยสังเกน
ในวันปูรนิมาหรือวันพระจันทร์ขึ้นเต็มดวง 
วันนี้ได้รับพิจารณาว่า เป็นโอกาสแห่งวันที่เป็นมงคล
สำหรับสังคมทั่วไปทั้งหมด

                บารชะ
บัช เป็นโอกาสทางศาสนาอีกงานหนึ่งของชาวไทพ่าเก่ 
ซึ่งพระภิกษุสมาทานธุดงค์คือการฉันอาหารมื้อเดียวภายใน 3  เดือน  จากวันเพ็ญพระจันทร์ขึ้นเต็มดวง
ซึ่งเป็นวันแห่งพระอรหันต์  ในการฉลองนี้
พระสงฆ์มาประชุมพร้อม ณ สถานที่แห่งหนึ่ง แล้วถือธุดงควัตรนี้ การรับประทานอาหารมื้อเดียวต่อวันนี้เป็นความสำคัญสำหรับชาวพุทธ 
มันไม่จัดเป็นเทศกาลแต่ก็จัดเป็นโอกาสสำคัญทางศาสนา

                ปอย
ออกวา 
เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากบารชะ บัช ในวันเพ็ญเดือนอหินะ(เดือน11 )
ในพิธีกรรมออกพรรษานี้ 
พระภิกษุสงฆ์ก็จะมาชุมนุมกันในที่จัดไว้เป็นพิเศษ แล้วสวดมนต์  กล่าวปวารณาให้ตักเตือนโทษกันได้
ไม่ว่าจะได้เห็นหรือได้ยินหรือได้สงสัยว่าภิกษุรูปทำผิดก็ให้ตักเตือนกัน  แล้วเริ่มต้นทำใหม่

                ปอยใหม่  ก่อ 
สุม ไฟ 
เป็นงานฉลองระหว่างวันเพ็ญเดือนกุมภาพันธ์ 
ในวันนั้น 
กองไม้ที่ก่อขึ้นจากฟืนและหญ้าแล้วจุดไฟเผา
โดยทั่วไปกองไม้ก็จะก่อสร้างขึ้นบนฝั่งแม่น้ำ
นอกจากนั้นงานฉลองนี้แล้วก็ยังมีงานฉลองอื่นอีกเช่น  ปอย เมา ชิ 
ปอย  ลหัม  ชัม 
ปอยกิติง เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นงานฉลองตามปีปฏิทิน

                โครงสร้างทางการปกครอง

                โครงสร้างทางการปกครองของชาวไทพ่าเก่
ซึ่งเป็นการปกครองตามแบบประชาธิปไตย
ที่มีรูปแบบแห่งการปกครองที่มีพื้นฐานสำคัญเป็นกรณีพิเศษ 
ถึงแม้ว่าประชาชนชาวพ่าเก่จะไม่มีสภาเป็นทางการก็ตาม  ถึงกระนั้นเมื่อมีการประชุมสภา    ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นฝ่ายของสภาโกนบุระ
มีหน้าที่ในการหยั่งเสียงเป็นฝ่ายผู้นำ 
ทั้งนี้ก็เพื่อความถูกต้องของกฎหมายสูงสุด 
มีหน้าที่ในการใช้อำนาจอย่างเที่ยงธรรม 
ข้อโต้แย้งทั้งหลายที่อาจมีขึ้นในท่ามกลางของมหาชน  พระภิกษุสงฆ์ได้รับมอบอำนาจให้มีบทบาทในการตัดสินคดีของชาวไทพ่าเก่ตามกฎหมายเรียกว่า  กฎธรรมชาติ  
ตามที่คนเฒ่าคนแก่เขียนไว้ในการตัดสินคดีต่างๆ
ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของท้องถิ่น 
การลงโทษเมื่อมีใครฝ่าฝืนกฎหมาย 
ความคิดในเรื่องความถูกและความผิด 
ที่ปรารภว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อวัฒนธรรมของท้องถิ่นจริงๆ 
บทลงโทษด้านความประพฤติก็จะสอดคล้องในส่วนของธรรมชาติที่มีผู้บัญญัติไว้  เพื่อให้สมาชิกได้ประพฤติตาม  เมื่อกล่าวตามพื้นฐานทางจริยธรรมแล้ว 
ความถูกต้องจะวางอยู่บนพื้นฐานทางจริยธรรของสังคมอีกด้วย

                เศรษฐกิจ

                ชาวไทพ่าเก่เป็นเกษตรกรมาแต่กำเนิด  ส่วนระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพซึ่งดำเนินตามแบบโบราณยังนิยมทำกันอยู่  ชาวไทพ่าเก่มีความเชื่อในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแห่งผืนดิน  เมล็ดพืช   
อรุมผล 
มันฝรั่งมีการปลูกอย่างดาษดื่น 
กระจัดกระจายไปอย่างแพร่หลาย 
มีการแตกดอกออกผลบานสะพรั่ง 
ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของชาวไทพ่าเก่
การค้าขายข้าวเปลือกตามปริมาณที่คู่ค้ผู้ไม่สามารถเพาะปลูกได้   ชาวไทพ่าเก่มีการลี้ยงชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง  มิได้เลี้ยงชีพตามแบบวัตถุนิยม  หลีกเลี่ยงความต้องการที่ไร้ขอบเขต  ดังนั้น 
ชาวไทพ่าเก่จึงมีความสามารถพิเศษในอันที่จะบริหารจัดการกับทรัพยากรของตนที่มีอยู่อย่างจำกัดและให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะมากได้   ชาวไทพ่าเก่มีความซาบซึ้งในคำสอนของพระพุทธศาสนา 
มีชีวิตจิตใจรักความสงบและความร่มเย็นเป็นสุข 
พร้อมทั้งมีความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้  ดังนั้น 
ชาวไทพ่าเก่ 
จึงมีความสามารถที่จะรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของตน
และอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากข้างนอกเพียงเล็กน้อยที่แทรกซึมเข้ามาสู่ชาวไทพ่าเก่

การศึกษาระดับมัธยมปลายและรูปแบบการจ้างงาน

                เนื่องจากเทคโนโลยีในโลกนี้เจริญก้าวหน้าและวิวัฒนาการไปไกลมาก  ชาวไทพ่าเก่จึงมีความพยายามที่จะยกระดับชีวิตของตนให้สูงขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสาขาวิชาการศึกษาตลอดถึงการจ้างงาน 
พลเมืองของหมู่บ้านนัมพ่าเก่ 
มีความก้าวหน้าในการศึกษา แต่มีผู้สอบเอ็นทรานผ่านเพียง  19 
คน  ( 42เปอร์เซ็นต์)  ในจำนวนนี้พบว่าเป็นหญิงสาว
และเรียนจบไปแล้ว  48
คน ในจำนวนนี้มีผู้หญิงสอบผ่านเพียง 22 
คน (44 เปอร์เซ็นต์) แต่ก็มีนักศึกษาชั้นปริญญาโทกำลังศึกษาอยู่ 4  คน  เป็นเพศหญิงล้วน  จากที่มาสมัครเรียนจำนวน 8 คนนั้น  ด้วยเหตุนี้  สตรีชาวไทพ่าเก่มีการวางแผนไว้ว่า
พวกเขาจะพากันเรียนต่อในการศึกษาสูงๆขึ้นไป 
ซึ่งเป็นสัญญาณในด้านสุขภาพสำหรับผู้หญิง 
ที่จะมีอำนาจในสังคม มันเป็นการให้กำลังใจที่จะบอกว่า  หมู่บ้านนัมพ่าเก่ ผลิตแพทย์ได้แล้วถึง 5
คน คือ มีผู้เรียนสำเร็ปริญญาตรีชั้น  MD แล้ว 1 คน  ในนั้นมีแพทย์หญิง  1 
คน ในทำนองเดียวกัน 
ก็สำเร็จปริญญาตรีวิศวกรอีก 5 
คน ซึ่งล้วนมาจากหมู่บ้านนัมพ่าเก่ทั้งสิ้น
และมีผู้สำเร็จปริญญาดุษฎีบัณฑิต ( 
Ph.D.)  เพิ่มขึ้นอีก  ตำแหน่งที่จะเสริมให้ประชากรมีอำนาจกระจายอยู่ใน  6 หมู่บ้านเหล่านี้  ซึ่งได้แสดงไว้ในตาราง 1.1  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าตามสมควร

                จากข้อมูลข้างบนนี้พอจะเห็นแล้วว่า
ตำแหน่งการจ้างงานในหมู่บ้านชาวไทพ่าเก่เหล่านี้    แต่ก็ยกเว้นหมู่บ้านนัมพ่าเก่  หมู่บ้านไทพ่าเก่นอกนี้ยังขาดการพัฒนาอยู่มาก
ยังไม่เป็นที่พอใจ
เห็นได้ชัดว่าชาวไทพ่าเก่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการจ้างงานประชากรว่างงาน
ชีวิตชาวไทพ่าเก่จึงพึ่งพาวิถีชีวิตเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  การจักสาน 
การทอผ้า และการเลี้ยงสัตว์ผสมผสานกันไป

ข้อสังเกต

ชาวไทพ่าเก่ที่มีการศึกษาดี 
มีการงานที่ดีมีเพียงหมู่บ้านนัมพ่าเก่เท่านั้น  นักศึกษาหรือบัณฑิตส่วนมาเป็นเพศหญิง  ทำไมเพศชายจึ่งขาดความสนใจด้านการศึกษา  อีกอย่างหนึ่ง 
การศึกษาดีขึ้นจะทำให้วิถีชีวิตพอเพียงเปลี่ยนไปเป็นบริโภคนิยมหรือไม่    เมื่อมีการแบ่งชั้นว่าคนมีการศึกษาดีจึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม  มีการงานที่ดี   แล้วคนไทพ่าเก่ด้อยการศึกษา 
ไร้อาชีพรับราชการจะยังพอมีพื้นที่ให้ยืนในสังคมหรือไม่ 
ตั้งคำถามก่อนนะก่อนที่จะถูกถามโดยอาจารย์ผู้วิพากษ์ 
ขอบคุณน้องน้องทุกที่ให้โอกาสพี่มีส่วนร่วมแม้เพียงน้อยนิด  ขอให้น้องน้องทุกท่านมีความสุขกับการนำเสนอผลงานอันยิ่งใหญ่                                                                                                อดุลย์         คนแรง                                                                           &n

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯ
หมายเลขบันทึก: 436487เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2011 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท