การเข้าร่วมอบรมวิจัยที่ ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย


ขอใช้คำว่า top up ความรู้

ในช่วงเมษานี้ได้เข้ารับการอบรมการวิจัยที่สภาวิจัยจัดขึ้นที่ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์รายการอบรมให้เครือข่ายวิจัยทราบแล้วเข้าใจว่าพวกเรากำลังยุ่งจึงไม่เห็นมีใครไปอบรม ใครไปบอกด้วยเน้อ  ข้าพเจ้ามีตาแต่หามีแววไม่  เรื่องที่อบรมมีหลายเรื่อง ตั้งแต่วันที่ 7  ฟังท่านนำชัยจากมศว. พูดเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล  การสรุปอภิปรายผลการวิจัย  วันที่ 19  ฟังท่าน ฤาเดช จากสวนสุนันทา พูดเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  วันที่ 21 เช้า ฟังท่านทวีศักดิ์ จาก มสธ. พูดเรื่องการวิจัยในชั้นเรียน บ่ายฟังท่านชนกนาถ จาก มร. พูดเรื่องการวัดและประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียน   วันนี้เช้าได้ฟังท่านสำราญ จากสวนสุนันทา พูดเรื่องการพัฒนาออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับครู  ส่วนบ่ายวันนี้ไม่มีวาสนาได้ฟังท่านกฤษดา จากสวนสุนันทา พูดเรื่องแบบจำลองงานวิจัยในชั้นเรียนที่มีคุณภาพ  ที่จริงลงไปแล้วแต่จำเป็นถอนออกเพราะติดภารกิจที่ สทศ. ได้แต่ปล่อยให้อดีตสมาชิกเครือข่ายวิจัย คือ ครูนภาวรรณ ฟังและได้พบปรมาจารย์ท่าน กฤษดา  วิทยากรที่รู้จักนั้นไม่มีเวลาไปทักทายท่านเลยเพราะผู้เข้ารับการอบรมถามนอกเวลา  ยังไงก็ยังระลึกถึงท่านเสมอ

เจตนาที่บันทึกบลอกนี้  เพื่อจะบอกเล่าแจ้งให้เพื่อนสมาชิกฟังว่า  แม้ข้าพเจ้าพอจะมีความรู้ทางการวิจัย  การวัดผล ที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง  แต่ข้าพเจ้าพยายามไปทบทวนความรู้  และพบว่าได้ความรู้เพิ่มขึ้น  ขอใช้คำว่า top up ความรู้  ฟังแล้วก็นึกถึงงานที่กำลังทำ  เห็นแนวทางปรับแก้ไขงานตัวเองได้  บางทีเป็นเกร็ดเล็กๆที่เรามองข้าม  เช่น  ทำวิจัยเกี่ยวกับการใช้บลอกเสริมความรู้(จะบันทึกในบันทึกต่อไป  โปรดติดตาม)  พอดีท่านสำราญพูดเรื่องนวัตกรรม  นึกได้เออของเราก็เป็นนวัตกรรมนิ  ได้ทำอย่างที่ท่านสำราญสอนหรือไม่  พบว่าเป็นแบบที่ท่านสำราญสอนเลย อีกตัวอย่างหนึ่ง ท่านชนกนาถพูดถึงรูปแบบการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design รูปแบบนี้จะตอบได้ว่านวัตกรรมมีประสิทธิภาพหรือไม่  เรื่องบลอกที่ทำไม่มีPretest  จึงสรุปไม่ได้ว่าบลอกมีประสิทธิภาพหรือไม่  กลับบ้านรีบแก้ไขสรุปงานวิจัยใหม่ว่านักเรียนได้......จากบลอก  ซึ่งเดิมสรุปว่าบลอกมีประสิทธิภาพ  นี่เป็นเรื่องเล็กๆที่บางครั้งรีบมากๆด้วยความเคยชินก็มองข้ามไป 

ยังมีอีกหลายประเด็นที่นำมาใช้  เล่าทั้งวันก็ไม่จบ  ประการสุดท้าย  พบว่า  ความรู้มีการเปลี่ยนแปลง  ไม่เหมือนกับที่เคยร่ำเรียนมา    ยอมรับว่าข้าพเจ้าเป็นรุ่นเก่าที่ไม่ค่อยได้ใช้ความรู้แล้ว  โธ่! ก็จบมา 22 ปีเลี้ยว ไม่แม่นเหมือนคนที่เพิ่งจบมาหมาดๆหรือคนที่ใช้ความรู้ประจำจึงพยายามพัฒนาตนเองตลอดเวลา  เอาละวันนี้ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบลอกนี้เท่านี้ก่อน

ในท้ายบันทึกนี้จะบอกว่าช่วงนี้เปิด e - mailดูทุกวันว่ามีสมาชิกส่งงานวิจัยมาหรือไม่  กำลังรออยู่  ขอท่านรีบๆส่ง  ข้าพเจ้าเป็นกำลังใจให้เน้อ

คำสำคัญ (Tags): #กลุ่มก้างปลา
หมายเลขบันทึก: 436449เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2011 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท