วิจัยชั้นเรียนเรื่องสิ่งแวดล้อมบทที่ 3


ทรัพยากร, นิสิต, วิจัย, สิ่งแวดล้อม, เรียนรู้

 

 

บทที่  3

 

วิธีการดำเนินงาน

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลการพัฒนาจริยธรรม

ต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  กรณีศึกษานิสิตชั้นปีที่  3  คณะครุศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการศึกษากับสิ่งแวดล้อม  ปีการศึกษา  2547  โดยผู้วิจัยมุ่งเสนอให้เห็นภาพของปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมผู้เรียนก่อนและหลังการเรียน  ซึ่งลักษณะของพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ในที่นี้จะหมายถึง   ความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมด้านสถานการณ์สิ่งแวดล้อม  และ พฤติกรรมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้เลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)   สำหรับวิธีการในการดำเนินการศึกษาวิจัยนั้น  ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนไว้ดังนี้

             1.  การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร

             2.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

             3.  การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

             4.  วิธีการดำเนินการวิจัย

             5.   การวิเคราะห์ข้อมูล

 

1.  การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร

 

ผู้วิจัยได้เตรียมตัวด้านความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาการ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาความรู้จากเอกสาร ตำราต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากห้องสมุดเพื่อเป็นแนวทางในการทำการศึกษาวิจัย  ซึ่งแนวคิดเหล่านั้นได้แก่  แนวคิดเกี่ยวกับการปลูกฝังจริยธรรม  แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้   และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  รวมทั้งงานวิจัยอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง

            

 

  1. 2.      ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

 

          เนื่องจากการวิจัยในครั้งนี้  เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาการศึกษากับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งผู้วิจัยมีบทบาทเป็นผู้สอนประจำวิชา  ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกเพื่อการวิจัย  จึงเป็นนิสิตชั้นปีที่  3  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงลงกรณราชวิทยาลัย   วิทยาเขตเชียงใหม่  จำนวน  16 รูป ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาดังกล่าว  ในภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา  2547

 

3.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 

การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัย เชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental

Research) โดยการที่ผู้วิจัยได้ออกแบบเครื่องมือเพื่อการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้เรียน จากนั้นได้นำไปทดลองปฏิบัติและดำเนินการเก็บรวบรวมผล สำหรับเครื่องมือของการวิจัยในครั้งนี้จึงสามารถจำแนกได้ดังนี้

            1. แนวทางการสอนแบบมีส่วนร่วม จำนวน  4  แบบในจำนวน  18 คาบ

2. เอกสารบันทึกความรู้ (Learning  Log) เพื่อให้ผู้เรียนได้บันทึกสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้แต่ละครั้ง

3. แบบวัดความตระหนักต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังเรียน

4. แบบวัดความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน

                5. แบบวัดพฤติกรรรมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน

6. แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

                        7.  แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล / รายกลุ่ม               

 

3.1. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย

 

          3.1.1.  การสร้างแนวการสอนแบบมีส่วนร่วม 

1.)    การศึกษาคำอธิบายประจำวิชาการศึกษากับสิ่งแวดล้อม  เพื่อกำหนดราย

ละเอียดการสอนประจำวิชา  โดยในรายวิชาดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม  สภาพการณ์ปัญหาของสิ่งแวดล้อมและแนวทางในการอนุรักษ์จัดการสิ่งแวดล้อม   รวมทั้งบทบาทของการศึกษาในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม     แต่สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนา

จริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้เรียนใน  3  ด้าน ได้แก่         คุณค่าความสำคัญของสิ่งแวดล้อม  สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม   และแนวทางในการอนุรักษ์จัดการสิ่งแวดล้อม

2)      การจัดทำแนวทางการสอนแบบมีส่วนร่วมจำนวน  4  แผน โดยระยะเวลาในสอน

ทั้งหมด  17 คาบ  คาบละ 50 นาที  สำหรับการสอนจำนวน   6  ครั้ง  ครั้งละ  3  คาบ  และทำการทดสอบก่อนและหลังเรียนจำนวน  1 คาบ  รวมทั้งสิ้น  18  คาบ

3)      นำแผนการสอนที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมแล้ว

นำมาปรับปรุงแก้ไข

 

3.1.2. การสร้างแบบทดสอบ

1.) การสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความตระหนักต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม

            1.1.) การศึกษาจุดประสงค์และรายละเอียดประจำวิชาการศึกษากับสิ่งแวดล้อม  จากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  2538

            1.2.) ศึกษาหลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษาเพื่อนำมาปรับใช้ในการออกแบบทดสอบให้เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์ของรายวิชา

            1.3.) สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความตระหนักต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมมีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบแบบมาตรส่วนประมาณค่า  5  ระดับ   จำนวน  20 ข้อ

2.)   การสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

            2.1.) การศึกษาจุดประสงค์และรายละเอียดประจำวิชาการศึกษากับสิ่งแวดล้อม  จากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  2538

2.2.)   การศึกษาแนวทางการสร้างแบบทดสอบแบบตัวเลือกเพื่อนำมาปรับใช้ใน

การออกแบบทดสอบให้เหมาะสม

2.3.) การสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  มีลักษณะ

เป็นข้อคำถามแบบปรนัยเลือกตอบจำนวน  4  ตัวเลือก   จำนวน 15  ข้อ

                       3.)การสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดพฤติกรรมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

            3.1.) การศึกษาจุดประสงค์และรายละเอียดประจำวิชาการศึกษากับสิ่งแวดล้อม  ..จากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  2538

            3.2.) ศึกษาหลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษาเพื่อนำมาปรับใช้ในการออกแบบทดสอบให้เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์ของรายวิชา

            3.3.) สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดพฤติกรรมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบแบบมาตรส่วนประมาณค่า  5  ระดับ   จำนวน  15 ข้อ

4.) การสร้างแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

4.1.) การศึกษาจุดประสงค์และรายละเอียดประจำวิชาการศึกษากับสิ่งแวดล้อม 

จากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  2538

            4.2.) ศึกษาหลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษาเพื่อนำมาปรับใช้ในการออกแบบทดสอบให้เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์ของรายวิชา

            4.3.) สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบแบบมาตรส่วนประมาณค่า  5  ระดับ   จำนวน  8 ข้อ

 

3.1.3.      การสร้างแบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนรายบุคคล / รายกลุ่ม

1)      ศึกษาแนวทางการสร้างแบบสังเกตพฤติกรรมจากเอกสาร และตำราที่เกี่ยวข้อง

2)      สร้างแบบสังเกตพฤติกรรม เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม และ

แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคลระหว่างการเรียนการสอน

 

3.2.วิธีการตอบแบบสอบถาม

 

1)      ในส่วนของแบบวัดตอนที่ 1 – 3 – 4   มีลักษณะเป็นข้อคำถามชนิดเลือกตอบแบบมาตร

ส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  ซึ่งผู้ตอบจะเลือกตอบคนละ  1 ข้อเท่านั้น  ดังเช่น

ตัวอย่าง

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

1.  สถานการณ์สิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน

 

 

 

 

 

 

2)      ในส่วนของแบบวัดตอนที่ 2  ซึ่งเป็นข้อคำถามเกี่ยวกับระดับจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมมี

ลักษณะเป็นข้อคำถามปลายปิดให้เลือกตอบแบบ  4  ตัวเลือก  ซึ่งผู้ตอบจะเลือกตอบคนละ  1  ตัวเลือก  เช่น

    เมธา  :  สัปดาห์ก่อน ผมไปเที่ยวสวนสัตว์ เห็นเด็กคนหนึ่งเอาถุงพลาสติกโยนทิ้งในบ่อฮิปโปเตมัส

เกรียงไกร :…..?

หากนิสิตเป็นเกรียงไกร   นิสิตจะคิดอย่างไร

ก.      ทำไมเขาทำอย่างนั้นนะ

ข.      การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กเกี่ยวกับการอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อม

ค.      ผมคิดว่า  จะทำให้น้ำเสียและอาจทำให้ฮิปโปเตมัสตาย

ง.       ไม่น่าเลยนะ ถ้ามีโอกาสเราควรจะบอกเด็กคนนั้นว่า  ไม่ควรทำอย่างนั้น

 

3.3.     เกณฑ์การให้คะแนน

 

ตอนที่   1  ความตระหนักต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม  เป็นแบบให้เลือกตอบ  มีจำนวนทั้งสิ้น  20  ข้อ   ทั้งนี้ได้แบ่งข้อความในแบบสอบถามตอนที่  1   ออกเป็น  2  ประเภทคือ  ข้อความในเชิงบวก (Positive) และข้อความในเชิงลบ (Negative)   โดยกำหนดคะแนนความคิดเห็น  ดังนี้

ข้อคำถามเชิงบวก

 -   ถ้าตอบช่องเห็นด้วยมากที่สุด               ให้    5    คะแนน

-    ถ้าตอบช่องเห็นด้วยมาก                     ให้    4    คะแนน

                         -    ถ้าตอบช่องเห็นด้วยปานกลาง            ให้    3    คะแนน

                         -   ถ้าตอบช่องเห็นด้วยน้อย                      ให้    2    คะแนน

                         -   ถ้าตอบช่องเห็นด้วยน้อยที่สุด               ให้    1    คะแนน

                        ข้อคำถามเชิงลบ

-   ถ้าตอบช่องเห็นด้วยมากที่สุด                ให้     1    คะแนน

-   ถ้าตอบช่องเห็นด้วยมาก                      ให้     2    คะแนน

                        -    ถ้าตอบช่องเห็นด้วยปานกลาง             ให้     3   คะแนน

                       -    ถ้าตอบช่องเห็นด้วยน้อย                      ให้    4    คะแนน

                        -    ถ้าตอบช่องเห็นด้วยน้อยที่สุด               ให้    5    คะแนน

          จากแบบสอบถาม จะพบข้อคำถามในเชิงบวกและเชิงลบ  กล่าวคือ

-     ข้อความในเชิงบวก  ได้แก่  ข้อ  1 , 2 , 3 , 4 , 8, 9 , 10 , 12 , 13 , 17 , 18 , 19 และ 20

-          ข้อความในเชิงลบ  ได้แก่  ข้อ  5 , 6 , 7 , 11 , 14 , 15 และ 16

ตอนที่  2  ระดับขั้นจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม  เป็นแบบให้เลือกตอบโดยการกำหนดสถานการณ์และข้อคำตอบให้เลือกตอบ  ซึ่งข้อคำตอบแต่ละข้อ  ก – ง. จะเรียงตามลำดับขั้นจิตสำนึก ขั้นที่ 1 – ขั้นที่  4   โดยกำหนดคะแนนจิตสำนึก  ดังนี้

     เมธา :   สัปดาห์ก่อน       ผมไปเที่ยวสวนสัตว์ เห็นเด็กคนหนึ่งเอาถุงพลาสติกโยนทิ้งในบ่อ

      ฮิปโปเตมัส

เกรียงไกร :…..?

หากนิสิตเป็นเกรียงไกร   นิสิตจะคิดอย่างไร

ก.      ทำไมเขาทำอย่างนั้นนะ  (ขั้นที่  1)

ข.      การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กเกี่ยวกับการอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อม  (ขั้นที่  2)

ค.      ผมคิดว่า  จะทำให้น้ำเสียและอาจทำให้ฮิปโปเตมัสตาย  (ขั้นที่  3)

ง.        ไม่น่าเลยนะ ถ้ามีโอกาสเราควรจะบอกเด็กคนนั้นว่า  ไม่ควรทำอย่างนั้น  (ขั้นที่  4)

ตอนที่  3   พฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   มีจำนวนทั้งสิ้น  15  ข้อ  โดยกำหนดคะแนนการแสดงพฤติกรรมดังนี้

ข้อคำถามเชิงบวก

 -   ถ้าตอบช่องปฏิบัติมากที่สุด                 ให้    5    คะแนน

-    ถ้าตอบช่องปฏิบัติมาก                        ให้    4    คะแนน

                         -    ถ้าตอบช่องปฏิบัติปานกลาง               ให้    3    คะแนน

                        -   ถ้าตอบช่องปฏิบัติน้อย                        ให้    2    คะแนน

                         -   ถ้าตอบช่องปฏิบัติน้อยที่สุด                 ให้    1    คะแนน

            ข้อคำถามเชิงลบ

-   ถ้าตอบช่องเห็นด้วยมากที่สุด                ให้     1    คะแนน

-   ถ้าตอบช่องเห็นด้วยมาก                      ให้     2    คะแนน

                        -    ถ้าตอบช่องเห็นด้วยปานกลาง             ให้     3   คะแนน

                       -    ถ้าตอบช่องเห็นด้วยน้อย                      ให้    4    คะแนน

                        -    ถ้าตอบช่องเห็นด้วยน้อยที่สุด               ให้    5    คะแนน

          จากแบบสอบถาม จะพบข้อคำถามในเชิงบวกและเชิงลบ  กล่าวคือ

-     ข้อความในเชิงบวก   ได้แก่  ข้อ   1 , 2 , 4 , 7, 8, 9, 10 , 11 , 12, 13 , 14 และ 15

-          ข้อความในเชิงลบ  ได้แก่  ข้อ  3 , 5 และ 6

 

ตอนที่  4  ความรู้สึกพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีจำนวนทั้งสิ้น  8  ข้อ โดยกำหนดคะแนนความพึงพอใจดังนี้

 -   ถ้าตอบช่องพึงพอใจมากที่สุด              ให้    5    คะแนน

-    ถ้าตอบช่องพึงพอใจมาก                     ให้    4    คะแนน

                         -   ถ้าตอบช่องพึงพอใจปานกลาง             ให้    3    คะแนน

                        -   ถ้าตอบช่องพึงพอใจน้อย                    ให้    2    คะแนน

                         -   ถ้าตอบช่องพึงพอใจน้อยที่สุด              ให้    1    คะแนน

 

3.4. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 

                   โดยการนำแนวทางการสอนและแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ที่สร้างขึ้นมาตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยหาความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อถือได้ (Reliability)  ของเครื่องมือ  โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาและ ด้านการวิจัย  จำนวน 3  ท่าน ในการตรวจสอบโครงสร้างและความครอบคลุมเนื้อหา ตลอดจนความชัดเจนของภาษาและถ้อยคำ และนำมาปรับปรุงตรวจสอบ  จากนั้นจึงนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง   

 

  1. 4.           วิธีการดำเนินการ

 

ในการวิจัยเพื่อศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรมเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้  ผู้วิจัยได้ดำเนินการสอน

ด้วยตนเอง  โดยการใช้แนวทางการสอนแบบมีส่วนร่วมจำนวน  4  แผนการสอน  ดำเนินการสอนใน 17 คาบ  คาบละ  50  นาที  ทำการทดสอบก่อนและหลังเรียน 1  คาบ  รวมเป็น  18 คาบ

สำหรับการดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ทำการทดสอบนิสิตก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบเพื่อวัดความตระหนักต่อสถานการณ์สิ่ง

แวดล้อม   จิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม  และ พฤติกรรมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนิสิต  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

  1. ทำการสอนด้วยตนเองในคาบสอนปกติ  ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการสอนตามวิธีการในแนวทาง

การสอนที่สร้างขึ้นจนครบถ้วน  จำนวน  17  คาบ  คาบละ  50 นาที 

  1. ทำการทดสอบนิสิตหลังเรียน  ด้วยแบบทดสอบเพื่อวัดความตระหนักต่อสถานการณ์สิ่ง

แวดล้อม   จิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม  และ พฤติกรรมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   รวมทั้งความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

  1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยคะแนนก่อนและหลังเรียนในส่วนของความ

ตระหนักต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม   จิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม  และ พฤติกรรมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

 5.   การวิเคราะห์ข้อมูล         

 

              การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้   ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้

5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลความตระหนักต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม   และพฤติกรรมต่อสิ่ง

แวดล้อมของนิสิตผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ  เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน  ได้แก่  ร้อยละ   ค่าความถี่    ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   แล้วกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ย ดังนี้

                        1.00 - 1.49   มีความตระหนักและมีลักษณะการปฏิบัติน้อยที่สุด

                        1.50 - 2.49   มีความตระหนักและมีลักษณะการปฏิบัติน้อย

2.50 - 3.49   มีความตระหนักและมีลักษณะการปฏิบัติปานกลาง

3.50 - 4.49   มีความตระหนักและมีลักษณะการปฏิบัติมาก

4.50 - 5.00   มีความตระหนักและมีลักษณะการปฏิบัติมากที่สุด

5.2.) การแปลผลระดับจิตสำนึกนั้น  ผู้วิจัยมีเกณฑ์ดังนี้

5.2.1.)หากความถี่สูงสุดอยู่ในจิตสำนึกระดับใด  ก็ให้ถือว่า  นิสิตมีระดับจิตสำนึก

ต่อสิ่งแวดล้อมในระดับนั้น

5.2.2.)หากมีความถี่สูงสุดเท่ากันหลายระดับ  ให้ถือว่า  นิสิตมีระดับจิตสำนึกอยู่ใน

ระดับนั้นทั้งคู่

 

ระดับขั้นของจิตสำนึก

ก่อนเรียน

หลังเรียน

1. ระดับพอใจรับรู้

3 = 18.75%

0+ 0%

2. ระดับเต็มใจตอบสนอง

7 = 43.75 %

2 = 12.50 %

3. ระดับเห็นคุณค่า

4 = 25.00 %

7 = 43.75 %

4. ระดับจัดระบบ

 2 = 12.50 %

7 = 43.75 %

 ค่าจำนวนประชาการ (N)

16

16

 

จากตารางนี้สามารถแปลผลได้ว่า   ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมนิสิตมีระดับขั้นจิตสำนึกในระดับเต็มใจตอบสนอง    และหลังเข้าร่วมกิจกรรมนิสิตมีระดับขั้นจิตสำนึกในระดับการเห็นคุณค่าและการจัดระบบ

            5.3. จากนั้นได้มีการนำเอาข้อมูลระดับความตระหนักต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม  ระดับความสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม    และพฤติกรรมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ก่อนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบเพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้  โดยการใช้ค่า T - test

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 435719เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2011 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท