วิจัยชั้นเรียนเรื่องสิ่งแวดล้อม บทที่ 2


ทรัพยากร, นิสิต, วิจัย, สิ่งแวดล้อม, เรียนรู้

 

 

บทที่  2

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

 

การศึกษาการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับ

นิสิตชั้นปีที่  3  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตเชียงใหม่  ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิด และผลงานวิจัยดังต่อไปนี้เป็นกรอบคิดในการวิจัยได้แก่

1. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้

2. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

3. แนวคิดเกี่ยวกับการปลูกฝังจริยธรรม

4. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม

5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

  1. 1.      แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้

 

                การเรียนรู้   หมายถึง   การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือการฝึกหัด  โดยนัยนี้จึงหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาณความรู้ของผู้เรียนซึ่งเป็นผลเนื่องจากการเรียนรู้  (สุรางค์    โค้วตระกูล . 2541 .หน้า 185) ทั้งนี้การเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ

            1.การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้  ความเข้าใจ  และความคิด (Cognitive Domain) หมายถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระใหม่  ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้มากขึ้น  เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง

            2. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์  ความรู้สึก  ทัศนคติ  ค่านิยม (Affective Domain)  หมายถึง  เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกด้านจิตใจ  ความเชื่อ  ความสนใจ

            3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความชำนาญ (Psychomotor Domain) หมายถึงการที่บุคคล

ได้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความคิด  ความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกนึกคิด   ค่านิยม  ได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ  จึงทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น ( อารี   พันธ์มณี  . 2534 . หน้า  85 -86)

ทั้งนี้การเรียนรู้จะมีลักษณะเป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยสิ่งสำคัญ   7  ประการคือ

            1. จุดมุ่งหมายของผู้เรียน  หมายถึงสิ่งที่ผู้เรียนต้องการ  หรือสิ่งที่มุ่งหวัง  การเรียนอย่างไม่มีจุดหมาย  ย่อมจะไม่เกิดผลดีขึ้น

            2.ความพร้อมเป็นลักษณะเฉพาะตัวผู้เรียนแต่ละคน คนที่มีความพร้อมจะเรียนได้ดีกว่าทั้ง ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน

            3. สถานการณ์  หมายถึงสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระทำต่อผู้เรียน

            4. การแปลความหมาย  เป็นการศึกษาหาลู่ทางในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่   เพื่อเข้าไปสู่จุดหมาย  หรือการวางแผนการกระทำให้บรรลุจุดมุ่งหมาย

            5. ลงมือกระทำ  การกระทำนั้นผู้เรียนย่อมจะคาดหวังว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เขาบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

            6. ผลที่ตามมา หลังจากการตอบสนองสิ่งเร้าหรือสถานการณ์แล้ว  ผลที่ตามมาคือ  อาจจะประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย จะเกิดความพอใจ ถ้าไม่ประสบผลสำเร็จย่อมไม่พอใจ  ผิดหวัง

            7. ปฎิกิริยาต่อความผิดหวังซึ่งจะกระทำใน 2 ลักษณะคือการปรับปรุงการกระทำของตนใหม่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายโดยย้อนไปพิจารณาหรือแปลสถานการณ์สิ่งเร้าใหม่แล้วหาวิธีกระทำพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทางได้ (Cronbach :อ้างใน อารี  พันธ์มณี . 2534 , หน้า 87-88)

          สำหรับแนวคิดเรื่องการเรียนรู้ได้นำมาใช้ในการอธิบายผลการเรียนรู้ของนิสิต อันเกิดจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม

 

  1. 2.      แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

 

กระบวนการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning หรือ  Action  Learning) เป็นการสร้างความรู้ผ่านประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งสร้างเกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง  เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความรู้ที่ทุกคนมีอยู่ออกไปอย่างกว้างขวาง   โดยอาศัยการแสดงออกทางภาษาได้แก่ การพูด และการเขียนเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้

2.1. องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

  1. ประสบการณ์ (Experience) เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนนำประสบการณ์

เดิมของตนมาพัฒนาเป็นองค์ความรู้

  1. การสะท้อนความคิดและการถกเถียง(Reflect  and  Discussion)  เป็นขั้นตอนที่ผู้

สอนช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออกและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

  1. ความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด (Understanding and Conceptualization)

เป็นขั้นตอนสร้างความเข้าใจเพื่อนำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอด      อาจจะเกิดขึ้นโดยผู้เรียนเป็นฝ่ายริเริ่มและผู้สอนเป็นฝ่ายช่วยเติมแต่งให้สมบูรณ์หรือในทางกลับกัน  ผู้สอนอาจเป็นผู้นำทางและผู้เรียนเป็นผู้สานต่อจนความคิดนั้นสมบูรณ์เป็นความคิดรวบยอด

  1. การทดลองหรือประยุกต์แนวคิด(Experiment) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนำเอาการเรียนรู้

ที่เกิดขึ้นใหม่ไปประยุกต์ใช้ในลักษณะหรือสถานการณ์ต่างๆจนเกิดเป็นแนวทางปฏิบัติของผู้เรียนเอง

 

 ประสบการณ์

 

 

การทดลองหรือประยุกต์ความคิด                                           การสะท้อนความคิดและการถกเถียง

                                                                       

                                   

เข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด

 

            แผนภูมิที่  1  แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ  4  ประการในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

            ทั้งนี้ความสัมพันธ์ของทั้ง  4  องค์ประกอบจะเป็นไปอย่างมีพลวัตร  โดยอาจเริ่มต้นจากจุดใดจุดหนึ่ง และเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ  ดังนั้นในแง่ของการเรียนการสอนจึงอาจเริ่มต้นที่จุดใดก่อนก็ได้  แต่สำคัญที่การจัดกระบวนการให้ครบทุกองค์ประกอบ  และการสอนแบบมีส่วนร่วมนี้  นอกจากจะเป็นพื้นฐานของการสอนด้านพุทธิพิสัย โดยมุ่งเน้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และความคิดวิจารณ์ ยังเป็นพื้นฐานในการสอนด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยอีกด้วย

 

2.1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการบรรลุผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

            สำหรับวิธีการสำคัญในการทำให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในทุกองค์ประกอบคือ  กระบวนการกลุ่ม ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันประสบการณ์ได้สะท้อนความคิด  การถกเถียง  สรุปความคิดรวบยอด  ตลอดจนได้ทดลองหรือประยุกต์แนวคิด  และกระบวนการกลุ่มที่จะบรรลุผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนั้น  จะต้องมีปัจจัยที่สำคัญ  2  ประการคือ

 1.การมีส่วนร่วมสูงสุด

            2.การบรรลุงานสุดสูง

  1. การมีส่วนร่วมสูงสุด (Maximum  Group  Performance)    เกิดจากการออกแบบ

กระบวนการกลุ่มที่เหมาะสมในแต่ละองค์ประกอบของการเรียนรู้  ซึ่งกลุ่มแต่ละประเภทจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน     เช่น การจัดกลุ่มย่อยขนาด 5 – 6 คน   เพื่อทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายทำให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถกเถียงกันอย่างลึกซึ้งจนได้ข้อสรุป  แต่ก็ใช้เวลามาก ฯลฯ     ดังนั้นหากมีการจัดกระบวนการกลุ่มที่หลากหลายเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม  ก็จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างสูงสุด  มีพลวัตร หรือการเคลื่อนไหวของการเรียนรู้ตลอดเวลา  ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอย่างเนื่อง

2.การบรรลุงานสูงสุด (Maximum Task Performance)  แม้ว่าการออกแบบกระบวนการ

กลุ่มที่หลากหลายจะช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมได้มาก  แต่ไม่ได้หมายความว่า  การมีส่วนร่วมนั้นได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยไม่เสียเวลา  หัวใจสำคัญของการบรรลุงานสูงสุดจึงขึ้นอยู่ที่การกำหนดงานให้กับกระบวนการกลุ่ม  ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญของการกำหนดงาน  3  ประการคือ

1.)    กำหนดกิจกรรมที่ชัดเจนว่า  จะให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มอย่างไร  เพื่อทำอะไร  ใช้เวลามาก

น้อยแค่ไหนเมื่อบรรลุงานแล้ว จะให้ทำอะไรอย่างไรต่อ

2.) กำหนดบทบาทของกลุ่มหรือสมาชิกที่ชัดเจน  โดยปกติการกำหนดบทบาทในกลุ่ม

ย่อยควรให้แต่ละกลุ่มมีบทบาทที่แตกต่างกัน  เมื่อรวมเสนอในกลุ่มใหญ่จึงจะเกิดการขยายเครือข่าย  การเรียนรู้โดยไม่น่าเบื่อ  การกำหนดบทบาทยังรวมสมาชิกในกลุ่มด้วย เช่น  บทบาทของผู้เล่น  บทบาทสมมติ และผู้สังเกตการณ์ หรือบทบาทของการนำกลุ่ม  การรวบรวมความคิดเห็น และการนำเสนอ ฯลฯ

     3.) ควรให้มีโครงสร้างของงานที่ชัดเจน  ซึ่งบอกรายละเอียดของกิจกรรมและบทบาท 

โดยทำเป็นกำหนดงานที่ผู้สอนแจ้งแก่ผู้เรียน หรือมอบหมายให้ทำในกลุ่ม  ซึ่งประการหลังจะเหมาะกับการทำงานกลุ่มย่อย ที่ต้องการทำงานให้มีผลงานที่เป็นข้อสรุปของกลุ่ม

2.3. หลักและวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

1.  การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเจตคติ

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเจตคติมีองค์ประกอบ  2  ด้านคือ การสร้างความรู้สึกที่สอดคล้องกับเจตคติ  และการจัดระบบความคิดความเชื่อ  ซึ่งมีลักษณะ  4 ประการดังนี้

องค์ประกอบของการเรียนรู้
ลักษณะเฉพาะของการสอนเจตคติ

ประสบการณ์

เน้นประสบการณ์ด้านความรู้สึกของนักเรียน

การสะท้อนความคิดและถกเถียง

ให้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นและโต้แย้งได้อย่างเต็มที่

การสรุปความคิดรวบยอด

ให้เกิดข้อสรุปด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนคิดและช่วยเพิ่มเติม

การทดลองหรือประยุกต์แนวคิด

ให้ได้ทำกิจกรรมทั้งในหรือนอกเวลาเรียนเพื่อให้มีเจตคติที่ฝังแน่นมากขึ้น

ทั้งนี้ในการสร้างเจตคติจะต้องมี 2  ขั้นตอนคือ ขั้นตอนของการเกิดการเรียนรู้ด้านความรู้สึกและการจัดความคิดความเชื่อให้เป็นระบบ  โดยจะเริ่มจากการใช้สื่อหรือกิจกรรมที่สามารถสร้างความรู้สึก ที่จะเน้นสร้างความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับเจตคติเดิม  จากนั้นจะใช้กระบวนการกลุ่มในการเปลี่ยนแปลงเจตคติ เพื่อช่วยกันจัดระบบความคิดความเชื่อ  จนทำให้สามารถหาข้อสรุปรวมกันได้    ซึ่งอาจดำเนินโดยใช้ขั้นตอนและกิจกรรมดังนี้

ขั้นตอน

กิจกรรม
  1. การสร้างความรู้สึก

 

 

 

 

 

 

 

 

เป็นการมุ่งกระตุ้น  จูงใจ หรือโน้มน้าวให้เกิดอารมณ์ตามจุดประสงค์ เพื่อนำไปสู่การจัดระบบความคิดความเชื่อและสร้างเจตคติที่ต้องการ สำหรับสื่อที่ให้ความรู้สึก : บทสำหรับอ่าน  แถบเสียง  วีดีทัศน์

กิจกรรมสร้างความรู้สึกประกอบด้วย กิจกรรมสร้างความรู้สึกโดยตรงเช่น : ละคร  บทบาทสมมติ การต่อเรื่อง  และกิจกรรมที่จำแนกเจตคติเพื่อกระตุ้นความรู้สึกและสร้างความตระหนักเช่น   การสำรวจความคิดเห็น การทำแบบสอบถาม การจัดลำดับความสำคัญ โต้วาทีฯลฯ

2. การจัดระบบความคิดความเชื่อ

กระบวนการกลุ่ม : โดยการ

  1. การเปิดเผยตนเอง : เป็นการเปิดเผยความรู้สึกนึกคิดจากประสบการณ์เดิมเช่น การเล่าความรู้สึก ,ตอบคำถาม
  2. การอภิปรายข้อขัดแย้ง : เป็นการฝึกทักษะด้านการคาดคะเนและการตัดสินใจด้วยตนเอง
  3. การสรุป : เป็นการร้อยรัดเนื้อหา 2 ขั้นตอนเข้าด้วยกันเพื่อให้มีการจัดระบบความคิดความเชื่อที่ชัดเจน
  4. การประยุกต์แนวคิด : กิจกรรมที่นักเรียนได้ประยุกต์ใช้เจตคติที่เกิดขึ้นอาจทำในคาบหรือกิจกรรมเสริมเช่น คำขวัญ , สรุปข้อความสำคัญ ,จัดบอร์ด ฯลฯ

 

2.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างทักษะพิสัย

“ ทักษะ ”  เป็นความสามารถที่คนเราไม่เคยมีมาก่อน  หากแต่เรียนรู้ได้ และสามารถกระทำ

อย่างชำนาญดังนั้นการสอนด้านทักษะจะต้องอาศัยการสร้างให้เกิดความชัดเจนในตัวทักษะ  ให้เห็นเป็นขั้นตอนที่ปฏิบัติได้ง่าย และผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติในสถานการณ์ใกล้ตัว  ซึ่งการสอนเพื่อให้เกิดทักษะพิสัยจึงควรมีลักษณะเฉพาะ  ดังเช่น

 

องค์ประกอบของการเรียนรู้
ลักษณะเฉพาะของการสอนทักษะพิสัย

ประสบการณ์

อาศัยเหตุการณ์ที่ตรงกับชีวิตจริงในการเรียนรู้ทักษะ

การสะท้อนความคิดและการถกเถียง

นักเรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันในการหากฎเกณฑ์ และการประเมินผลการฝึกทักษะ

การสรุปความคิดรวบยอด

ได้ความคิดรวบยอดหลายขั้นตอนจากการฟังบรรยายจากการสังเกต การสาธิต การประเมินผลในกลุ่มและการประเมินผลรวม

การทดลอง    หรือประยุกต์แนวคิด

นักเรียนได้มีโอกาสฝึกซ้ำๆ โดยการแสดงบทบาทสมมติตามสถานการณ์ต่าง ๆ

 

ขั้นตอนและกิจกรรมในการสอนทักษะพิสัย

 

ขั้นตอน
กิจกรรม

1. ขั้นรู้ชัดเห็นจริง :  เป็นขั้นตอนที่มุ่งให้เกิดการรับรู้ถึงความสำคัญและความจำเป็นในการฝึกฝนทักษะเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้

  1. การบรรยายนำ :  เพื่อการนำเข้าสู่บทเรียนให้เกิดความน่าสนใจและดึงการมีส่วนร่วม
  2. สถานการณ์จำลอง :  เป็นการเรียนรู้จากการอภิปรายและสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง , กรณีจำลอง
  3. การสาธิต :  จะช่วยให้เห็นจริงเป็นลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจน

4.การแบ่งกลุ่มย่อย : การวิเคราะห์จากสถานการณ์จำลอง,การสาธิตถึงขั้นตอนและวิธีการในแต่ละขั้นตอนเพื่อหากฎเกณฑ์

 

2. ขั้นลงมือกระทำ :  เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ได้ลงมือปฏิบัติตามที่ได้เรียนรู้จากขั้นตอนแรก

1.การฝึกปฏิบัติ :  การฝึกบทบาทสมมติ  , การฝึกซ้อมบท เพื่อให้ฝึกเป็นตัวของตนเองในสถานการณ์ที่ทราบว่า เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  ซึ่งจะเน้นการฝึกเพื่อหาทางออกเช่น การปฏิเสธ , การเตือน

2.การประเมินการฝึก : เป็นการสะท้อนความคิดว่า เหมาะสมตรงตามขั้นตอนอย่างไร โดยครูและนักเรียนเป็นผู้ประเมิน 

 

          สำหรับแนวคิดเรื่องการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้นำมาใช้เป็นกรอบในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อมของนิสิต รวมทั้งยังนำมาใช้เป็นกรอบในการอธิบายผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

 

3.แนวคิดเกี่ยวกับการปลูกฝังจริยธรรม

 

          ก.  ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม  (Morality)  คือแนวทางของการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี  เพื่อประโยชน์สุข

ของตนเอง และส่วนรวม  จริยธรรมไม่ใช่กฎหมาย จึงไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน  การเกิดจริยธรรมมาจากแรงจูงใจโดยมีกฎหมายเป็นแรงหนุนภายนอกให้คนมีจริยธรรม   โดยทั่วไปจริยธรรมมักจะอิงกับศาสนา  ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม และยังหยั่งรากลึกอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี   โดยนัยนี้จริยธรรมจึงเป็นระบบอันมีศีลธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญ  สำหรับระบบจริยธรรมประกอบด้วย  (พระเมธีธรรมาภรณ์ . 2544  . หน้า  87 – 101 .)

  1. ความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีส่วนในการกำหนดโครงสร้างทางจริย

ธรรมเช่น  หากเชื่อว่า  มนุษย์เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ระบบจริยธรรรมก็จะเต็มด้วยข้อห้าม  หากเชื่อว่ามนุษย์มีธาตุแห่งความเป็นพุทธซ่อนอยู่    ระบบจริยธรรมก็จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่

2. ความเชื่อเกี่ยวกับอุดมคติหรือความดีสูงสุด 

            3. ระเบียบปฏิบัติหรือแนวทางแห่งการดำเนินชีวิต   เหตุจูงใจให้คนปฏิบัติดีและละเลิกการ

ปฏิบัติผิด  สำหรับเหตุที่คนปฏิบัติตามหลักจริยธรรมหรือกฎศีลธรรมมี  3  ประการคือ 

1.)    ผลประโยชน์ส่วนตน  เป็นเหตูจูงใจให้คนปฏิบัติความดี  เนื่องจากหลีกเลี่ยงการถูก

ตำหนิจากสังคม หรือกฎหมาย และเพื่อรักษาประโยชน์ของตนเช่น การเล็งเห็นประโยชน์ในอนาคต

2.)    การเคารพกฎกติกาที่เกิดจากการฝึกฝนจนเป็นนิสัยทำให้อยู่ในระเบียบวินัยและดำเนิน

ตามหลักจริยธรรม          

3.)    ความมีน้ำใจต่อผู้อื่น อันรวมถึงความรักเคารพต่อผู้อื่น

 

ข. แนวทางการปลูกฝังจริยธรรม

การปลูกฝังคุณธรรมหรือจริยธรรมเป็นการปลูกฝังคุณค่าต่างๆ  ที่สังคมกำหนดว่า เป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ให้แก่คนในสังคม โดยวิธีการต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดการยึดถือปฏิบัติ  อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  สำหรับแนวทางในการปลูกฝังจริยธรรม มีทั้งหมด   4 วิธีการ ดังมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

 

3.1.    การปลูกฝังจริยธรรมด้วยการกระจ่างค่านิยม (Value  Clarification : VC)

Raths , Harmin  and Simon (1966 อ้างในชัยพร  วิชชาวุธและคณะ . 2544 . หน้า  120 –

24)   ได้กล่าวว่า การกระจ่างค่านิยม คือ   การทำค่านิยมให้กระจ่าง (Value  Clarification)  ซึ่งเป็นวิธีการสอนจริยธรรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวางแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการนี้ถือว่าค่านิยมคือหลักการประพฤติปฏิบัติตนต่อสิ่งต่าง ๆ ที่บุคคลถือว่า  ดีงาม ถูกต้องและควรแก่การยึดถือ  กระบวนการ VC มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนค้นพบตนเองว่า  หลักการประพฤติปฏิบัติของตนเองต่อสิ่งต่าง ๆ เป็นอย่างไร  และหลักการที่ดีที่ถูกที่ควรตามทรรศนะของตนควรเป็นอย่างไร    ในทรรศนะเช่นนี้  ค่านิยมที่เกิดจากการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลจะแสดงออกมาในรูปของความเชื่อ  ทัศนคติ พฤติกรรม และความรู้สึกของแต่ละบุคคลทั้งนี้ความเชื่อทัศนคติ  พฤติกรรมและความรู้สึกที่บุคคลแสดงออกมาในชีวิตประจำวันมีมากมาย   แต่จะเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เชื่อว่า  เป็นการแสดงค่านิยม  ซึ่งสามารถตัดสินได้ด้วยเกณฑ์  7  ประการดังนี้ 

  1. การเลือกกระทำอย่างอิสระ  ไม่มีการบังคับ
  2. การเลือกจากทางเลือกหลาย ๆ ทาง
  3. การเลือกที่เกิดจากการพิจารณาผลของทางเลือกแต่ละทางแล้ว
  4. การรู้สึกภูมิใจและมีความยินดีที่ได้เลือกกระทำสิ่งนั้น
  5. ยืนยันการตัดสินใจเลือกของตนอย่างเปิดเผย
  6. การกระทำตามที่ตนตัดสินใจเลือก
  7. การกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก

สำหรับวิธีการในการปลูกฝังพฤติกรรมด้วยวิธีการกระจ่างค่านิยม   เชื่อว่า เป็นหน้าที่ของผู้

สอนในการปลูกฝังค่านิยม  คือ  การชี้นำหรือจัดการให้มีการชี้นำเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการฉุกคิดขึ้นมาว่า  ความเชื่อทัศนคติ พฤติกรรม และความรู้สึกของตนที่มีต่อสิ่งหนึ่ง ๆนั้น เป็นไปตามเกณฑ์  7  ประการของกระบวนการของค่านิยม  ได้แก่

  1. เกิดจากการเลือกของตนอย่างอิสระ
  2. การได้พิจารณาทางเลือกอื่น ๆ
  3. การได้พิจารณาผลของทางเลือกอื่น ๆ
  4. การมีความภูมิใจหรือยินดีในสิ่งที่ตนเองเลือก
  5. การยืนยันการตัดสินใจเลือกของตนเองอย่างเปิดเผย
  6. การกระทำตามสิ่งที่ตนเองเลือก
  7. การกระทำซ้ำในสิ่งที่เลือก

3.2.การปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผล  (Moral  Reasoning : MR)

Kohlberg ,(1963 อ้างในดวงเดือน   พันธุนาวิน และคณะ . 2536 . หน้า 12 - 15) ได้เสนอ

แนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมว่า  จริยธรรมหมายถึงกฎเกณฑ์ในการตัดสินความถูกผิดของการกระทำ  ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งผูกพันกับอายุของบุคคล  โดย Kohlberg  ได้ยึดถือพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์  เป็นหลักการสร้างทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม   โดยแบ่งพัฒนาการออกเป็น  3  ระดับ    ภายในแต่ละระดับยังแบ่งพัฒนาการออกเป็น  2  ขั้น  รวมเป็น  6  ขั้นดังนี้

  1. ระดับก่อนกฎเกณฑ์  (อายุประมาณ  2 –12 ปี)

ขั้นที่  1        ใช้การลงโทษเป็นเหตุผลในการตัดสิน

ขั้นที่  2        ใช้การตอบสนองความต้องการของตนเองเป็นเหตุผลในการตัดสินใจ

  1. ระดับกฎเกณฑ์สังคม  (อายุตั้งแต่  12 ปีขึ้นไป)

ขั้นที่  3        ใช้การยอมรับทางสังคมเป็นเหตุผลในการตัดสิน

ขั้นที่  4        ใช้ระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์ของสังคมเป็นเหตุผลในการตัดสิน

  1. ระดับเลยกฎเกณฑ์สังคม (อายุ  20 ปีขึ้นไป)

ขั้นที่  5        ใช้สัญญาสังคมเป็นเหตุผลในการตัดสิน

ขั้นที่  6        ใช้หลักการจริยธรรมสากลเป็นเหตุผลในการตัดสิน

            ทั้งนี้ Kohlberg  เชื่อว่า  กฎเกณฑ์ที่คนเราใช้ในการตัดสินความผิดถูกจะพัฒนาเป็นขั้น ๆ จากขั้นต่ำกว่าไปสู่ขั้นที่สูงกว่า  ที่ละ  1 ขั้น  ไม่มีการย้อนขั้น  ไม่มีการข้ามขั้น และไม่มีการเร่งขั้น  ซึ่ง ตามทรรศนะของ  Kohlberg  จริยธรรมแต่ละขั้นเป็นผลของการคิดไตร่ตรอง  ในการคิดไตร่ตรองจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่จะนำมาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งประสบการณ์ทางสังคมที่ได้รับ  โดยเฉพาะการได้รับฟังจากผู้ที่มีพัฒนาการอยู่สูงกว่าตนเอง  1 ขั้น   ซึ่งหากข้อมูลต่างๆที่ได้รับมีความขัดแย้งไม่สมดุลย์ ก็จะเกิดการปรับตัวโดยการสำรวจและจัดระเบียบความคิดความเข้าใจตนใหม่ มีการจำแนกประเด็นให้มีความชัดเจนและมีการบูรณาการประเด็นต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจใหม่ในการอธิบายสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นด้วยเหตุนี้กระบวนการของการจำแนกและการบูรณาการจึงเป็นกลไกของการพัฒนาจริยธรรม  

            สำหรับวิธีการพัฒนาจริยธรรมตามทรรศนะของการให้เหตุผล (MR) จึงเป็นการพัฒนาโดยให้ผู้เรียนมีกฎเกณฑ์ในการตัดสินความถูกผิดด้วยเหตุผลในระดับสูงขึ้น และอย่างน้อยก็ให้อยู่ในระดับกฎเกณฑ์ของสังคม  ดังนั้นวิธีการพัฒนาจริยธรรมแบบ  MR  จึงมิอาจกระทำได้โดยการสอน  หรือการกระทำให้เป็นตัวอย่าง  หากแต่ต้องเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง   ด้วยการเปิดโอกาสให้ได้รับรู้ทรรศนะของผู้อื่นที่มีจริยธรรมในขั้นที่สูงกว่า  1 ขั้น และการได้ทดลองปฏิบัติ โดยเฉพาะการทดลองแสดงบทบาทของผู้อื่น ซึ่งจะทำให้มีโอกาสได้ประสบทรรศนะที่ขัดแย้งกับโครงสร้างความคิดทางจริยธรรมของตน   และในจังหวะที่เกิดความขัดแย้งนี้  หากมีการชี้นำที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดการพัฒนาเหตุผลทางจริยธรรมได้   ฉะนั้นกิจกรรมที่เป็นหัวใจของการพัฒนาจริยธรรมตามแนวคิด MR คือ  การอภิปรายแลกเปลี่ยนทรรศนะ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปลูกฝังจริยธรรมในชั้นเรียน

            สำหรับขั้นตอนในการปลูกฝังการพัฒนาจริยธรรมตามแนว  MR คือ

  1. การเสนอเรื่องราวที่มีความยากแก่การตัดสินความถูกผิด
  2. แยกผู้เรียนตามความเห็นที่ต่างกัน  และแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยที่ประกอบด้วยผู้ที่มีความเห็นต่างกัน
  3. อภิปรายกลุ่มย่อยเพื่อให้ได้ข้อสรุปพร้อมทั้งเหตุผลทางจริยธรรม
  4. สรุปเหตุผลของฝ่ายต่าง ๆ

โดยสรุปวิธีการปลูกฝังจริยธรรมแบบ  กระจ่างค่านิยมและการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมคือ  วิธี

การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมเป็นการปลูกฝังจริยธรรมที่มีเป้าหมาย และมีส่วนในการชักนำมากกว่าวิธีการกระจ่างค่านิยม  แต่อย่างไรก็ตามวิธีการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมอาจทำให้เกิดปัญหาใน  2  ลักษณะคือ

  1. เหตุผลทางจริยธรรมอาจไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรม
  2. เหตุผลทางจริยธรรมอาจเป็นเพียงข้อแก้ตัว ซึ่งตรงกับลักษณะที่ว่า  ผู้ที่ฉลาดกว่า  มี

ประสบการณ์มากกว่า ก็จะสามารถหาเหตุผลอธิบายพฤติกรรมของตนเองได้อย่างแนบเนียน สมเหตุผลและเป็นที่ยอมรับ

 

3.3.การปลูกฝังจริยธรรมด้วยการปรับพฤติกรรม  (Behavior  Modification : BM)

การปรับพฤติกรรมเป็นการประยุกต์หลักการเรียนรู้เพื่อกำารเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ

บุคคลซึ่งจะใช้ได้ผลดีในการสร้างและรักษาพฤติกรรมที่พึงปรารถนา  รวมทั้งการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา   สำหรับแนวคิดสำคัญของวิธีการปลูกฝังจริยธรรมแบบ  BM ตั้งอยู่บนรากฐานความเชื่อว่า  พฤติกรรมของคนเราถูกควบคุมโดยเงื่อนไขการเสริมแรงและการลงโทษ  ดังนั้นการปลูกฝังจริยธรรมตามแนววิธีนี้คือ  การจัดเงื่อนไขเพื่อให้ผู้กระทำได้รับการเสริมแรงและไม่ได้รับการเสริมแรง หรืออาจโดยการลงโทษ  แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ก็ยังคงให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขการเสริมแรงมากกว่าการลงโทษ  เพราะการลงโทษอาจทำให้เกิดผลเสียเช่น  การต่อต้าน  การหลีกเลี่ยง หรือการลักลอบ ฯลฯ

            ขั้นตอนของการปลูกฝังจริยธรรมด้วยการปรับพฤติกรรม สามารถทำได้ดังนี้

  1. กำหนดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และ/หรือ พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
  2. กำหนดผลของการแสดงพฤติกรรมที่ผู้แสดงพฤติกรรมจะได้รับ  โดยเน้นผลบวกมากที่สุด
  3. นำพฤติกรรมในข้อ 1 และผลการกระทำในข้อ  2 มาสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเงื่อนไขในการเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรม
  4.   ให้และระงับพฤติกรรมการเสริมแรงในข้อ  3 และสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  5. ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

จะเห็นได้ว่า  วิธีการปลูกฝังจริยธรรมแบบ  BM แตกต่างจากแบบ  VC และ  MR  อย่าง

มากคือ  แบบ VC  และ  MR   จะเน้นความเข้าใจของบุคคลเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การตัดสินความถูกต้องของพฤติกรรม  แต่แบบ  BM  เน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ต้องการด้วยการสร้างเงื่อนไขการเสริมแรงและการลงโทษ    โดยไม่คำนึงถึงความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการตัดสินความถูกผิด   โดยนัยเช่นนี้จึงอาจทำให้เกิดปัญหาใน  2  ประการคือ

  1. วิธีการแบบ  BM  เป็นการมองข้ามความสำคัญของความเข้าใจกฎเกณฑ์ทางจริยธรรม 

ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากเงื่อนไขเป็นสำคัญ  ทำให้เกิดการกระทำตามโดยภาวะจำยอมตามเงื่อนไขมากกว่าการกระทำตามสิ่งที่คิดว่าถูกต้องและดีงามกว่า

  1. ความสามารถในการควบคุมเงื่อนไขของผลแห่งการแสดงพฤติกรรมมีจำกัด  เนื่องจาก

การแสดงพฤติกรรมของแต่ละบุคคลอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น  เงื่อนไขการยอมรับของกลุ่ม  เงื่อนไขการเสริมแรงหรือการลงโทษ ฯลฯ

3.4.การปลูกฝังจริยธรรมด้วยการเรียนรู้ทางสังคม  (Social  Learning : SL)

Bandura (1977 อ้างในชัยพร  วิชชาวุธและคณะ , 2544 . หน้า  131 – 134)ได้กล่าวถึงแนว

คิดพื้นฐานของการปลูกฝังจริยธรรมด้วยการเรียนรู้ทางสังคมว่า  การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากประสบการณ์ตรงของตนเอง  และการสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น รวมทั้งการเรียนรู้จากการฟังคำบอกเล่าและการอ่านสารบันทึกของผู้อื่น  ซึ่งการเรียนรู้ด้วยการอ่านนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ทั้งนี้ผลจากการเรียนรู้จะอยู่ในรูปแบบของความเชื่อว่า สิ่งใดสัมพันธ์กับสิ่งใด อย่างไร และมีอานุภาพในการกำหนดพฤติกรรมของบุคคล  

            สำหรับการปลูกฝังจริยธรรมตามแนวของการเรียนรู้ทางสังคม  คือ  การจัดประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ได้แก่  ตัวอย่าง คำบอก

หมายเลขบันทึก: 435718เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2011 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท