ความเป็นประชาชนและความเป็นพลเมือง


citizens

 

  วันนี้เป็นวันสงกรานต์ ซึ่งดิฉันก็คงจะไม่ออกไปไหนแน่นอน และก็นั่งคิดว่าจะเอาความรู้และประสบการณ์อะไรเข้ามาเล่าไว้ในบล็อกดี เพราะว่าดิฉันก็ห่างหายไปนาน ตอนนี้ดิฉันก็พอที่จะนึกออกแล้วค่ะ 

 

   ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีมากๆเลยค่ะ ดิฉันเคยได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมการส่งเสริมสำนึกพลเมือง โดย สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า  บางคนพอได้ยินว่าไปอบรมสำนึกพลเมืองก็มักจะแซวกันค่ะว่า  ทุกวันนี้ยังไม่มีสำนึกหรอ555 แต่ดิฉันก็ไม่ได้ตอบอะไรไปเพราะคิดว่ามันต้องมีอะไรมากกว่านั้นแน่นอน

 

    สิ่งที่ดิฉันได้จากการเข้าอบรมในครั้งนั้น ดิฉันได้เข้าใจความเป็นพลเมืองมากขึ้น มากขึ้นยังไง เดี๋ยวดิฉันจะเริ่มอธิบาย โดยสรุปตามความเข้าใจของดิฉันเลยนะค่ะ

 

    ในอันดับแรกอยากจะพูดถึง เรื่อง ของความเป็นประชาชนและความเป็นพลเมือง ซึ่งเรามักจะมองไม่เห็นความแตกต่างของคำสองคำนี้เท่าไหร่ เรามักจะได้ยินคนพูดถึงคนในประเทศ หรือแม้กระทั่งตัวเราเองที่พูดถึงคนในประเทศหลายๆคนว่า ประชาชน  แม้กระทั่งในข่าวที่มักจะใช้คำว่า  ประชาชนคนไทย เป็นต้น

 

     คำว่าประชาชน หมายถึง  บุคคลที่อยู่ในประเทศหรือรัฐ ซึ่งไม่สามารถมีสิทธิ มีเสียง หรือแสดงความคิดเห็น ภายในประเทศ รวมถึงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลในประเทศด้วย

 

    ส่วนคำว่า พลเมือง  หมายถึง บุคคลที่อยู่ในประเทศหรือรัฐ  ซึ่งมีสิทธิออกเสียงและสามารถแสดงความคิดเห็น รวมถึง การมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆภายในประเทศ และการบริหารประเทศรวมถึงนโยบายที่รัฐจัดขึ้น ซึ่งพลเมืองเองก็มีสิทธิและสามารถเสนอความคิดเห็นออกมาเป็นนโยบายต่างๆ ได้ ด้วยเช่นกัน

 

เพราะฉะนั้นคุณคิดว่าคุณจะเป็นประชาชนหรือเป็นพลเมืองกันค่ะ ?????

 

เราอย่าได้แต่พูดว่า เราควรทำตามหน้าที่และสิทธิ  แต่เราต้องทำให้ได้อย่างที่พูดจริงๆ  แสดงความเป็นพลเมืองเจ้าของประเทศกันเถอะค่ะ

 

  นอกจากนี้ชุมชนต่างๆที่มีปัญหาหรือประสบปัญหา เราก็สามารถยื่น หรือเสนอปัญหาของให้ให้กับหน่อวยงานราชการได้ด้วยนะค่ะ  โดยการทำนโยบายสาธารณะโดยการทำประชาคมในชุมชน  เพื่อหาข้อสรุป และนำเสนอเป็นนโยบายของเรา

 

โดยเริ่มจาก

1. ช่วยกันหาปัญหาที่ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วน 

2. เราต้องนำเสนอให้เห็นว่าทำไมปัญหานี้ถึงสำคัญ และเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

3. วิธีการแก้ไขปัญหาของชุมชน ให้เขารู้ไปเลยค่ะว่า นี่เรามีวิธีแก้ไขมาให้ด้วยนะค่ะ

4. งบประมาณที่ต้องให้ค่ะ  ว่าต้องใช้เท่าไหร่ในการแก้ไขปัญหาชุมชนของเรา

5.  เราก็เอาไปนำเสนอให้กับคนใหญ่ คนโตค่ะ

 

   เนี่ยแหละค่ะ  แค่นี้เอง  เราก็จะได้นำเสนอปัญหาและความคิดเห็นของเราในฐานะพลเมือง ได้แล้วค่ะ

 

    ทุกวันนี้ดิฉันก็ได้รับหน้าที่เป็นวิทยากรในการทำประชาคมให้กับชาวบ้านเพื่อหาปัญหาในชุมชนนั้นๆและเพื่อนำเสนอให้กับหน่อยงานของรัฐด้วยค่ะ

 

 

    ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสรุปองค์ความรู้ ที่ได้จากการอบรมและ ต้องการนำเสนอให้กับหลายๆท่าน ได้เห็นความสำคัญของการเป็นพลเมืองค่ะ

    สำหรับข้อมูลในที่นี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์เล็ก ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง และที่งาน  ผู้จัดการอบรมจากสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า  ซึ่งข้อมูลในวันนี้อาจจะไม่ครบถ้วนมากนัก และอาจมีข้อผิดพลาดประการใด ซึ่งต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 435343เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2011 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบใจมากจ้ะ เขียนได้ดี ขอให้เขียนต่ออีกนะคะ จะได้ share ความรู้กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท