ครูเอ๋ กศน.ตำบลบ้านกรด
นางสาว จิตราวดี ครูเอ๋บ้านกรด สะระเนตร

งานโครงการอบรมฯ


สรุปโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ "Earth Science Inquiry"

สรุปโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร "Earth Science Inquiry"

วันที่ 15 มีนาคม 2554

09.30 - 10.00 น.  พิธีเปิด โดยนายดิศกุล  เกษมสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

10.00 - 10.45 น.  บรรยายเรื่อง การเรียนการสอนแบบ Earth Science Inquriy  โดยวิทยากร นางตติยา  ใจบุญ  จากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย และร่วมทำกิจกรรม "เพื่อนหิน" โดยให้ผู้ร่วมรับการอบรมจับหินคนละ 1 ก้อน แล้วแบ่งกลุ่มตามหินที่ตนเองจับได้ เพื่อเป็นการประสานสัมพันธ์ของผู้เข้าร่วมอบรม

10.45 - 12.00 น.  กิจกรรม "มีอะไรอยู่ในภาพ" ให้ภาพกลุ่มละ 2 ภาพ แล้วให้ดูว่าในภาพมีอะไรบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษและออกไปนำเสนอให้กับกลุ่มอื่นๆ ฟัง  เพื่อเป็นการแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม

13.00-16.30 น.  กิจกรรม "หินแร่อยู่ใกล้ชิดชีวิตเรา"  ให้สำรวจหิน-แร่ 9 ชนิดว่าหยดกรดลงไปแล้วจะเกิดปฏิกิริยา ฟู่/ไม่ฟู่ แล้วให้บอกประโยชน์ของหินแต่ละชนิดว่าวามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เช่นหินทราย มีสีน้ำตาล ใช้ตะปูขีดไม่เข้า หยดกรดไม่ฟู่ ประโยชน์ใช้เป็นหินลับมีด 

กิจกรรม "หิน หิน หิน"  ให้แปะสติกเกอร์แล้วอธิบายหินอัคนี หินแปร หินตะกอน หินอัคนีเกิดจากความร้อน ความดัน ปฏิกิริยาเคมี หินแปรเกิดจากผุพัง พัดพา ทับถม แข็งตัว หินตะกอนเกิดจากการผุพัง พัดพา ทับถม แข็งตัว

กิจกรรม "ฟอสซิลบอกอายุหิน"  ให้แปะสติกเกอร์ฟอสซิลดัชนีตามยุค เพื่อให้ทราบซากดึกดำบรรพ์ที่มีและลักษณะเด่นเฉพาะของแต่ละยุค

วันที่ 16 มีนาคม 2554

09.00 - 12.00น.  กิจกรรม ไปลือกโลกมิเคยหยุดนิ่ง"  ให้ประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกว่า แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกันของมหาสมุทรแอตแลนติกจะทำให้เกิดมหาสมุทรที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ ถ้าแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากันระหว่างแผ่นอินเดียและแผ่นยูเรเซียทำให้แผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่นถูกอัดดันขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัย  และการเคลื่อนที่ผ่านกันด้านข้าง ทำให้เกิดรอยเลือนซานอันเดรียสในแคลิฟอร์เนีย

13.00 - 16.30  กิจกรรม ไบ่งชั้นบรรยากาศโลก"  ให้ทำกราฟตามระดับความสูงและอุณหำมิ เพื่แบ่งชั้นบรรยากาศดลกได้ 4 ชั้น คือ

           1.โทรโพสเฟียร์ เป็นบรรยากาศชั้นล่างสุดจากผิวโลกถึงระดับความสูง 15 กิโลเมตร

           2.สตราโตสเฟียร์ อยู่ระหว่างความสูง 15 ถึง 50 กิโลเมตร ในชั้นนี้จะพบโอโซนที่ระดับความสูงประมาณ 30 กิโลเมตร

           3.มีโซสเฟียร์ อยู่ระหว่างความสูง 50 ถึง 80 กิโลเมตร

           4.เทอร์มอสเฟียร์ อยู่สูงกว่า 80 กิโลเมตร

- มอบวุฒิบัตร

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 435069เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2011 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท