เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดรุ่นใหม่ช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับหรือไม่


low dose DSA

เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดรุ่นใหม่ช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับหรือไม่

Is recent DSA machine promoted low dose to patient?

 

วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์      วท.บ.รังสีเทคนิค
วสันต์ ปันเขื่อนขัติย์           วท.บ.รังสีเทคนิค
วันพามี ผิวทอง                 วท.บ.รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์, วสันต์ ปันเขื่อนขัติย์,วันพามี ผิวทอง  .เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดรุ่นใหม่ช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับหรือไม่. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553 ; 4(2) : 88-92 

การตระหนักถึงปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโรคทางหลอดเลือดในเป็นหัตถการทางรังสีร่วมรักษา เป็นประเด็นทีได้รับความสนใจจากบุคลากรทางการแพทย์ทุกฝ่าย แนวปฏิบัติต่างๆ จึงถูกนำใช้ และจำเป็นต้องประเมินผล เพื่อพิจารณาแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดในด้านการลดปริมาณรังสีแก่ผู้ป่วย โดยการพัฒนาจากระบบตัวรับภาพจาก Image intensifier system (II system) ไปสู่ Flat panel detector system (FPD) [1] ในทางทฤษฎีระบบตัวรับภาพชนิด flat panel detector จะให้การขยายสัญญาณทางรังสีที่ดีกว่าระบบตัวรับภาพชนิด image intensifier system ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้รังสีปริมาณสูงเพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดีเท่าเดิม หรือก็คือสามารถใช้ปริมาณรังสีลดลงได้ และด้วยคุณสมบัติของผลึกรับภาพ ทำให้สามารถสร้างตัวรับภาพที่มีต่าง ๆได้ ซึ่งการเลือกติดตั้งเป็นไปตามความเหมาะสมกับผู้ป่วย และชนิดหัตถการหลักๆ ของหน่วยงานนั้น อย่างไรก็ตามคำถามที่สำคัญที่เกิดขึ้นก็คือในทางปฏิบัติแล้ว ผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้รับผลงานได้รับปริมาณรังสีที่ลดลงจริงหรือไม่ ในหัตถการทางรังสีวิทยาหลอดเลือดเดิมๆ การศึกษาเปรียบเทียบจึงเป็นประโยชน์สำคัญในการสร้างความตระหนักแก่ผู้ปฏิบัติงานถึงความสำคัญของการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วยและตัวผู้ปฏิบัติงานเองด้วย

 

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโรคทางหลอดเลือดลำตัวจากเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดใน 2 ระยะของการพัฒนา

กระบวนวิธีวิจัย :  ศึกษาเปรียบเทียบแบบตัดขวางปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากหัตถการทางรังสีร่วมรักษา ซึ่งเกิดขึ้นจาก เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดชนิด Image Intensifier system ยี่ห้อ Philips รุ่น Integris โดยใช้ฐานข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้ระหว่าง ก.ค.-ส.ค.2550 และ ข้อมูลปริมาณรังสีในหัตถการต่างๆ จากเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด flat panel detector system ยี่ห้อ GE รุ่น Innova 4100IQ และเปรียบเทียบผ่านการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าร้อย

ผลลัพธ์ : การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยหัตถการ TACE เป็นหัตถการที่เกิดขึ้นมากที่สุด ใช้เวลา fluoroscopic time : FT  23.60 นาที   ผู้ป่วยหัตถการ TACE ที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องที่ติดตั้งตัวรับภาพชนิด flat panel detector system  ได้รับรังสีเฉลี่ย 783.59 mGy   ขณะที่หัตถการ GI bleeding embo.  ผู้ป่วยได้รับรังสีเฉลี่ยสูงถึง 1122.80 mGy

จากการวิเคราะห์ ข้อมูลในปี 2550 ที่ได้รวบรวมข้อมูลปริมาณรังสี ในผู้ป่วยหัตถการ TACE ที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องที่ติดตั้งตัวรับภาพชนิด image intensifier system   ได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ยสูงสุด 401.29 mGy และ หัตถการกลุ่ม IR อื่นๆ เช่น ivalon or glue embolization ได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ยสูงสุด 285.86 mGy 

เมื่อเปรียบเทียบกันจะพบว่า หัตถการ TACE  ใช้เวลา fluoroscopic time ใกล้เคียงกัน (23.60 นาที : 32.40 นาที)  แต่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีต่างกัน (783.59 mGy :  401.29 mGy)  และยังพบว่า GI bleeding embo. ในผู้ป่วยที่ทำจากเครื่อง flat panel system ในปี 2553 ผู้ป่วยได้รับรังสีเฉลี่ยสูงถึง 1122.80 mGy เมื่อเทียบกับหัตถการทางรังสีหลอดเลือดลำตัวอื่นๆ จากเครื่องที่ติดตั้งตัวรับภาพ image intensifier system ได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ยเพียง 285.86 mGy อย่างไรก็ตามผู้ป่วยหัตถการ angioplasty ที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องที่ติดตั้งตัวรับภาพชนิด flat panel detector system   ได้รับปริมาณรังสีสูงขึ้นจากผู้ป่วยหัตถการ angioplasty ที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องที่ติดตั้งตัวรับภาพชนิด image intensifier system จาก 31.35mGy เป็น 258.20 mGy

ตารางที่ 1 ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจด้วยเครื่องที่ติดตั้งจอรับภาพขนิด flat panel detector จำแนกตามหัตถการ ปี 2553

Procedure

 

No.

 

Series

 

Image

 

Flu time

 

Mean 
 dose
(mGy)

Angioplasty

5

8.00

70.40

17.50

258.20

Bronchial embo.

5

7.00

125.40

25.78

228.40

GI bleed

5

7.20

165.60

37.50

1122.80

PVE

8

3.00

52.78

28.61

536.22

TACE

105

4.51

76.23

23.60

783.59

ตารางที่ 2 ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจด้วยเครื่องที่ติดตั้งจอรับภาพขนิด Image intensifier system จำแนกตามหัตถการ ปี 2550

Procedure

 

No.

 

Series

 

Image

 

Flu time

 

Mean
dose
(mGy)

Angioplasty

2

12.50

77.00

5.15

31.35

Other VIR

8

4.13

83.63

33.63

285.86

TACE

44

3.89

81.98

32.40

401.29

จากภาพที่ 1 พบว่าหัตถการการรักษาทางรังสีวิทยาหลอดเลือดลำตัวนั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีแตกต่างกัน เนื่องจากเทคนิคและกระบวนการในหัตถการ แม้จะมีจำนวนการถ่ายภาพ และเวลาในการฟลูโอโรสโคปีที่ใกล้เคียงกัน แต่ปริมาณรังสีเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน โดย GI bleeb embo. ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูงสุด ในขณะที่ angioplasty กับ bronchial embo. ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีใกล้เคียงกัน

 

จากภาพที่ 2 พบว่าหัตถการการรักษาโรคหลอดเลือดด้วยวิธี angioplasty นั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นจากระบบตัวรับภาพ II system อย่างมาก  แม้ว่าจะมีเวลาฟลูโอโรสโคปีและจำนวนการถ่ายภาพที่ใกล้เคียงกัน

จากภาพที่ 3 พบว่าหัตถการการรักษาโรคหลอดเลือดด้วยวิธี embolization ทั้ง PVE, bronchial embo. และ GI bleed embo. นั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นจากระบบตัวรับภาพ II system เมื่อเทียบกับหมวดหัตถการอื่นๆ ของฐานข้อมูล แม้ว่าจะมีเวลาฟลูโอโรสโคปีใกล้เคียงกัน  แต่ก็มีจำนวนการถ่ายภาพที่แตกต่างกันไม่มากนัก โดยเฉพาะ PVE และ GI bleed embo.

จากภาพที่ 4 พบว่าหัตถการการรักษา TACE ซึ่งเป็นหัตถการหลักนั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นจากระบบตัวรับภาพ II system ถึง 2 เท่า  แม้ว่าจะมีเวลาฟลูโอโรสโคปีและจำนวนการถ่ายภาพที่ใกล้เคียงกัน

 

การวิจารณ์ : โดยทั่วไปเชื่อกันว่าเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดที่พัฒนาล่าสุดกว่าจะมีระบบที่ช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับจากหัตถการ แต่จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าในทางปฏิบัติผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยหัตถการทางรังสีหลอดเลือด ณ ห้องตรวจที่ติดตั้งเครื่อง GE Innova ซึ่งเป็น flat panel detector system ได้รับปริมาณรังสีมากกว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยหัตถการทางรังสี ณ ห้องตรวจที่ติดตั้งเครื่อง Philips Intergris ซึ่งเป็น Image Intensifier system  ในเชิงเทคนิคอาจเชื่อว่าเป็นผลจากการเพิ่ม FOV เพื่อจะได้เห็นภาพได้บริเวณกว้างขึ้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจาก flat panel detector มีขนาด detector ที่ใหญ่กว่า คือ 40 นิ้ว เทียบกับขนาด image intensifier system ที่มีขนาดตัวรับภาพเพียง 15 นิ้ว ดังนั้นจึงควรตระหนักว่าแม้ flat detector จะช่วยลดปริมาณรังสี แต่การที่ใช้ detector ขนาดใหญ่ ก็ทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีที่สูงขึ้น เช่นกัน

 

บรรณานุกรม

  1. วาทิต คุ้มฉายา, ปฏิยุทธ ศรีวิลาศ และเอนก สุวรรณบัณฑิต. การพัฒนาตัวรับภาพ. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553; 4 (1) : 1-5
  2. สมจิตร จอมแก้ว, ตองอ่อน น้อยวัฒน์, เสาวนีย์ หอมสุด และคณะ. ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจรักษาทางรังสีวิทยาหลอดเลือดระบบหลอดเลือดลำตัว. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2550; 1 (2) : 46-50
  3. radiation and your patient: a guide for medical practitioners. http://www.icrp.org
  4. Allura Integris EP-workmate Integration for allura integris. Philips manual, 2003
  5. Innova 4000IQ. GE manual, 2009
คำสำคัญ (Tags): #dose#flat detector
หมายเลขบันทึก: 434917เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2011 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท