ถูกหลอกโอนเงิน สู้จนถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน


ความทุกข์ที่หาหน่วยงานจัดการไม่ได้แม้กระทั่งกระบวนการยุติธรรมก็ไปไม่เป็น...ปัดไปหน่วยงานต่างๆจนคุณม่วยแทบหมดความเชื่อถือ คำขอร้องจึงกลายเป็นข้อเสนอแนะที่น่ารับฟังเพราะคุณม่วยทำเต็มที่แล้วในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง

 

30 มีนาคม 54 ที่ผ่านมา สภาผู้บริโภคสงขลามั่นใจผู้บริโภคใช้สิทธิตามกติกา แต่ขาดการบังคับใช้กฎหมายทั้งเรื่องไฟฟ้า ประปา สัญญาเช่าซื้อ สินค้าราคาแพง บริการรถสาธารณะ ผู้บริโภคพบปัญหาในพื้นที่ครอบคลุมทุกประเด็นที่ระบุในร่าง พรบ.องค์การอิสระผู้บริโภค ได้แก่ 1. ด้านการเงินและการธนาคาร 2. ด้านการบริการสาธารณะ 3. ด้านที่อยู่อาศัย 4. ด้านบริการสุขภาพ 5. ด้านสินค้าและบริการทั่วไป 6. ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม 7. ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยประเด็นสำคัญคือเรื่องโทรคมนาคมผู้บริโภคขานรับจัดการเรื่องวันหมดในระบบมือถือเติมเงินให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดโดยเร็ว
จากการชี้แจงวัตถุประสงค์โดยนางสาวจุฑา สังขชาติ เลขานุการสมาคมผู้บริโภคสงขลา ได้จัดเวทีสภาผู้บริโภคซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยมีการจัดในประเด็นผู้บริโภคตามสถานการณ์และความสำคัญจากการดำเนินการในรอบปีนั้นๆ องค์ประกอบของสภาในครั้งนี้คืออาสาสมัครผู้บริโภคและคณะทำงานในพื้นที่ 10 อำเภอรวมถึงอำเภอขยาย ผู้บริโภคที่เป็นกรณีร้องเรียนและผู้บริโภคที่สนใจ ผู้ประกอบการจาก CAT TOT รวมถึงหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคได้แก่ คปภ. สสจ. การค้าภายใน และทีมนักวิชาการที่ปรึกษา คณะทำงานศูนย์ โดยมีการถ่ายทอดการเสวนาช่วงเช้าผ่านสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ FM 88 Mhz

ซึ่งปีนี้ได้การเสวนาช่วงเช้า เป็นการนำเสนอกรณีร้องเรียนที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลาได้ดำเนินการติดตามให้คำปรึกษา โดยมีช่องทางการประสานงานร่วมกับสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ FM 88 Mhz เป็นกรณีศึกษาร่วมกัน 4 กรณี 

 เรื่องเล่าจากเวที สภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลาที่มีความยากลำบากในการเข้าถึงกระบวนการจัดการปัญหาคือเรื่องของ คุณม่วย..หญิงหม้ายคนหนึ่งทำมาหากินไม่ได้ดูข่าวสารทีวี ไม่เคยถูกหลอกแม้ค้าขายกับเถ้าแก่มาเลย์ที่ไม่เคยเห็นหน้าผ่านโทรศัพท์  เงินเข้าออกในมือเป็นแสนๆต่อวัน เจ้าหน้าที่ธนาคารบอกให้ทำประกันก็สงสารเขาจะได้ยอดตัวเงิน เป็นลูกค้าที่ดีของแบ๊งค์มาตลอด เมื่อมีปัญหากลับไม่ได้รับการใส่ใจจากทั้งธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร เพราะถูกหลอกให้เป็นพลเมืองดีรับโทรศัพท์อ้างเเป็นเจ้าหน้าที่แบ๊งค์ชาติติดตามคนร้ายที่ใช้บัญชีของคุณม่วยและให้คุณม่วยให้ความร่วมมือสืบหาคนร้าย เป็นต้นเรื่องของความทุกข์ที่หาหน่วยงานจัดการไม่ได้แม้กระทั่งกระบวนการยุติธรรมก็ไปไม่เป็น...ปัดไปหน่วยงานต่างๆจนคุณม่วยแทบหมดความเชื่อถือ คำขอร้องจึงกลายเป็นข้อเสนอแนะที่น่ารับฟังเพราะคุณม่วยทำเต็มที่แล้วในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง

พี่พยายามหาช่องทางหลายๆฝ่าย ทั้งจากการฟังรายการแลบ้านเมืองช่วงปรับทุกข์เรื่องปากท้อง มอ FM 88 อันดับแรกก็นึกถึงตำรวจ แล้วก็ติดต่อธนาคารถามหาปลายทางโอนเงิน โดยลำดับคือ 1. แจ้งความที่ สภ.คอหงส์    และ  แจ้งที่ธนาคาร 2. ร้องเรียนที่สมาคมผู้บริโภคสงขลา 3. ร้องเรียนหนังสือพิมพ์ ทีโพทส์ ,โฟกัส 4. ร้องเรียนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และกองปราบ ได้ข้อมูลกลับมาว่า คดีไม่ถึง 10 ล้าน ทำไม่ได้/ให้ท้องที่เป็นคนทำ 5. จากนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาหาถึงที่บ้านเพื่อจะดำเนินคดีให้) พี่วิ่ง 20 กว่ารอบไปโรงพักบ้าง ธนาคารที่ปาดังฯบ้าง 5 วันได้รายละเอียดเจ้าของบัญชี ส่วนดูกล้องวีดีโอคนที่กดเงินก็ปาเข้าไป 2 เดือน ซึ่งนานมาก

ศูนย์ ฯ  อยากฝากอะไรถึงธนาคาร? ผู้ร้อง  อยากให้เมนูที่ตู้เอทีเอ็มมีการกำกับภาษาไทยด้วย เพราะคนที่อ่านไม่ได้จะมีปัญหามาก ป้องกันการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผ่านทาง call center 1333 ในกรณีที่ขยายวงเงิน ควรที่จะขยายวงเงินที่เคาเตอร์ดีกว่า ไม่ใช่ขยายทางโทรศัพท์ แต่หากผู้บริโภคคนอื่นๆทั่วไปต้องการความสะดวกสบาย ง่ายในการทำธุรกรรม ก็สามารถขยายวงเงินผ่านทางระบบ call center ได้ในวงเงินที่ไม่เกิน 200,000 บาท หากเกินจากนั้นให้มาเพิ่มวงเงินที่ธนาคารดีกว่า เซ็นสัญญาต่อหน้าพนักงาน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคคนอื่นๆ ที่ไม่มีความรู้

สนใจข้อมูลรายละเอียดของเรื่องนี้อ่านได้ใน 

http://www.consumersongkhla.org/upload/forum/ATM.pdf

หมายเลขบันทึก: 434876เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2011 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท