บันทึกช่วยจำเพื่อบ้านเมืองน่าน ตอน ๑


วันที่ ๑  เมษายน ๒๕๕๔ ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน นายพงษ์สวัสดิ์  ปัญญาอินทร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ร่วมกับผู้แทนบริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด นายยุทธนา จุฬพันธ์ทอง นายสรรเพชญ์ ปุละ และว่าที่ ร.ต.สมเดช อภิชยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ร่วมกันมอบประกาศนียบัตรเงินรางวัล แก่เยาวชนผู้ชนะการประกวดเรียงความโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา “เรียนรู้ถิ่น แผ่นดินเกิด จังหวัดน่าน” ในหัวข้อ “เมืองน่านในทศวรรษหน้า” และมอบทุนพัฒนาการศึกษาแก่บุคคลผู้ทำประโยชน์แก่จังหวัดน่าน จำนวน ๗๐ ทุน เกี่ยวกับโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา “เรียนรู้ถิ่น แผ่นดินเกิด จังหวัดน่าน”เป็นโครงการต่อเนื่องด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มุ่งหวังสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด ไม่ลืมถิ่นเกิดของตนเอง ให้แก่เด็กและเยาวชนในจังหวัดน่าน ด้วยการพากลุ่มเป้าหมายไปเรียนรู้ความเป็นมาของอดีตนครรัฐ อย่าง “น่าน” ตลอดจนถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในฐานะเป็น “เมืองต้นน้ำ”

วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ นายเสนีย์  จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นำคณะประกอบด้วยนายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกอบจ.น่าน และประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม รวมทั้งคณะทำงานประสานงานความสัมพันธ์จังหวัดน่าน กับแขวงไชยะบุรี แขวงหลวงพระบาง และแขวงอุดมไชย สปป.ลาว ได้ร่วมให้การต้อนรับฯพณฯอ้วน  พมมะจัก เอกอัครราชทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=148พร้อมด้วย คุณสุลีศักดิ์ สุลีทอน เลขาฯ และคุณวรพล พงษ์สุวรรณ์, คุณยุทธนา จุฬพันธ์ทอง จากบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้มีการปรึกษาหารือในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างน่านและลาว  มีประเด็นหารือกันดังนี้              

             ๑.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจระหว่างน่านและแขวงชายแดนของลาว ต้องมีการค้าการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องด่านชายแดนห้วยโก๋น-เมืองเงิน ทางน่านกำลังจะมีการพัฒนาด่านชายแดนห้วยโก๋นให้เป็นประตูสู่การค้าชายแดน ให้มีการเปิดศูนย์ราชการบริเวณด่านห้วยโก๋น แบบ One –stop Service  และพัฒนาการรูปแบบการค้าให้มีสินค้าที่แปลกไปจากตลาดทั่วๆ ไป เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับตลาดห้วยโก๋นเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว  และจะมีการปรับประตูด่านห้วยโก๋นใหม่เพื่อให้รถใหญ่สามารถวิ่งผ่านได้ 
              ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านได้แสดงความคิดเห็นว่า การค้าและการลงทุนระหว่างไทย-ลาว นั้นควรมองในภาพรวม ไม่ควรมองเฉพาะพื้นที่ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงและเชื่อมโยงกันได้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ/การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันจะทำให้เกิดการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า  ขณะนี้ น่านได้มีแผนทำวงกลมเศรษฐกิจ ล้านช้าง – น่าน – ล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นความพยายามส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ – การท่องเที่ยว ระหว่าง น่าน แขวงไชยบุรี แขวงอุดมไชย และหลวงพระบาง เข้าด้วยกัน รวมระยะทางในวงกลมเศรษฐกิจ 685 กิโลเมตร
              ๒. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว น่าน – ลาว มีความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์ และสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกันได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการสร้างถนนเชื่อมน่าน – ปากแบ่ง ทำให้สามารถเดินทางเข้าสู่หลวงพระบางได้สะดวกสบายขึ้น
              ๓. การคมนาคม นอกจากเรื่องถนนห้วยโก๋น – ปากแบ่ง ที่ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางน่านจะขอให้ทางลาวช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการขนส่งเส้น เชียงใหม่ – น่าน – หลวงพระบาง  และห้วยโก๋น – ปากแบ่ง ให้เห็นผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม เพราะหากมีการขนส่งสาธารณะที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเดินทาง/ขนส่งเพิ่ม มากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยว
              ๔. การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่า ต้องการให้น่าน  - ลาว ช่วยกันดูแลพื้นที่บริเวณชายแดนไม่ให้นักค้ายาเสพติดข้ามชาติใช้พื้นที่ใน การลักลอบขนและจำหน่ายยาเสพติด
              ๕. ด้านสาธารณสุข ปัจจุบันนี้มีความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างกัน เพื่อให้ชาวลาวสามารถเข้ามารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของจังหวัดน่านได้

วันที่ ๕  เมษายน ๒๕๕๔ คณะกรรมการบริหารโครงการทางเลือกการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุขจังหวัดน่าน คณะทำงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำน่าน ประกอบด้วย นายธนู ผลบุญ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการลุ่มน้ำน่าน นายวชิรพงศ์ สุวรรณโสภณ ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน นายสรรเพชญ์ ปุละผู้แทนบริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด ดร.ภาวิญญ์  เถลิงศรี ผู้แทนUNDP คุณอาวีระ ภัครมาตร สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ๓ คุณเบญจมาศ โชติทอง นักวิชาการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เข้าพบและประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารเขื่อนสิริกิติ์ ในฐานะผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต โดยมีนายประเสริฐ ธำรงวิศว ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ นายประภาส พันธุ์อร่าม หัวหน้ากองธุรการเขื่อนสิริกิติ์ และคณะ เพื่อร่วมกำหนดแนวทางจัดตั้งกองทุนต้นน้ำน่าน ของคณะกรรมการลุ่มน้ำน่าน ซึ่งจังหวัดน่านถือเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่ต้องให้สำคัญในการอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อรักษาและคืนสภาพป่าต้นน้ำให้สามารถทำหน้าที่ระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ โดยมีหลักประกันให้กับประชาชน ชุมชนที่องอาศัยว่าจะมีความอยู่เย็นเป็นสุข และมีวิถีีชีวิตที่เกื้อกูลกับป่า โดยที่ประชุมมีความเห็นในการสนับสนุนให้เกืดรูปแบบมูลนิธิต้นน้ำน่าน และจะร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์ กรอบการทำงาน และแสวงหาเครือข่ายสนับสนุน ตามหลักการ PES (Payment for Ecosystem Service)หรือ การจ่ายเพื่อทดแทนคุณของระบบนิเวศน์ บันทึกโดย : Suwanasophon Wachirapong

หมายเลขบันทึก: 434697เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2011 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณ'Mr.Tanu'

แวะมาอ่านบันทึกดีๆค่ะ...

เมื่อปีใหม่ที่ผ่านมา...เพื่อนๆเล่าให้ฟังว่า...เดี๋ยวนี้มาเที่ยวปายสบายๆ...

ไม่ค่อยมีคนมาเที่ยวมากเหมือนแต่ก่อน...เพราะว่าตอนนี้คนลงไปเที่ยวกันที่น่าน...

ก็ยังนึกกลัวๆอยู่ว่า...วิถีชีวิตและวัฒนธรรมดีๆของคนน่านจะเปลี่ยนไป...

ดร.พจนา ครับ  ขอขอบคุณในคำทักทาย  แน่นอนครับผมเองก็เชื่อว่า เปลี่ยนแปลงแน่นอนสำหรับชีวิตผู้คนที่น่าน หากแต่ว่ามีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง  โดยปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้มากน้อยหรือไม่เพียงใด ขอได้ติดตามและกรุณาให้ข้อคิด  เื่พื่อให้ชีวิตที่ดี ที่น่ารักยังคงดีและน่ารักต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท