การแก้ปัญหาการถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอลซ้ำ


ถ่ายภาพรังสีซ้ำ

การแก้ปัญหาการถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอลซ้ำ
Problem solving in repeated digital mammography

กัลยาณี  ธีรกุล , วท.บ.รังสีเทคนิค
ฝ่ายรังสีวิทยา  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

กัลยานี ธีรกุล.การแก้ปัญหาการถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอลซ้ำ.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553 ; 4(2) : 65-71 

 

บทคัดย่อ 

การถ่ายภาพรังสีเต้านมจะช่วยคัดแยกมะเร็งเต้านมได้ดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งระยะเริ่มแรก  อย่างไรก็ดีจะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงของรังสีในการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมด้วย  ปกติจะถ่ายภาพรังสีเต้านม  2  ท่า  ท่าตรง  (CC)  และท่าด้านข้าง  (MLO)  การประเมินปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมได้รับ  (Average Glandular Dose, AGD)  จะต้องอยู่ในขอบเขตที่ปลอดภัย  คือไม่เกิน  3  mGy  (มิลลิเกรย์)  with grid ใน  1  ท่า  ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา  “The Federal Mammographic Quality Standard Act” (MQSA)  จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการไม่ถ่ายภาพรังสีเต้านมซ้ำ

 

บทนำ 

การถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบสกรีนฟิล์ม  มักทำให้เกิดปัญหาฟิล์มเสีย  เนื่องจากเครื่องล้างฟิล์มเป็นส่วนใหญ่  เช่น  ฟิล์มมีรอยขีดข่วน  รอยเปื้อนบนฟิล์ม  ความดำของภาพต่ำหรือสูงเกินไป  คอนทราสต์ของภาพต่ำหรือสูงเกินไป  สิ่งแปลกปลอมเกาะติด  ฟิล์มแห้งช้า  เป็นต้น  รองลงมาเกิดจากเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม  ภาพรังสีที่ได้ไม่สามารถเห็นบริเวณผิวหนังและต่อมน้ำนมได้ในฟิล์มเดียวกัน  จึงทำให้เกิดการถ่ายภาพรังสีซ้ำ  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  ได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอล  ปัญหาจากเครื่องล้างฟิล์มหมดไป  รายละเอียดของภาพรังสีมีคุณภาพดีขึ้น  สามารถปรับความคมชัดได้ตามต้องการ  การถ่ายภาพรังสีซ้ำลดลง  แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการถ่ายภาพรังสีซ้ำ

 

วัสดุและวิธีการ 

                ได้ศึกษาจากการบันทึกข้อมูลการถ่ายภาพรังสีเต้านมซ้ำจากจำนวนผู้ป่วย7,600 ราย (ตารางที่ 1)  ลงในระบบเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอล  พบว่าสาเหตุเกิดจาก 

  1. positioning  การจัดท่าผู้ป่วย  มีถ่ายภาพรังสีซ้ำเป็นอันดับแรก  ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า  ภาพรังสีเหล่านั้นเกิดจากมีอวัยวะบางส่วนของผู้ป่วยเข้าไปบังเต้านม  เช่น  คาง  หัวไหล่  นิ้วมือ  ได้แก้ไขโดยให้นักรังสีการแพทย์สังเกตว่าผู้ป่วยก้มคางลงในขณะถ่ายภาพรังสีในท่า  MLO  หรือไม่  ท่า  CC  พยายามหมุนหัวไหล่ออกให้พ้น  สังเกตได้จากเงาที่เห็นขณะเปิดไฟที่หลอดเอกซเรย์  นิ้วมือข้างที่ดึงเต้านมด้านตรงข้ามในท่า  MLO  ไปบังเต้านมด้านที่ถ่ายภาพรังสีหรือไม่  โดยจัดให้มีการอบรมเทคนิคการถ่ายภาพรังสีเต้านมแก่นักรังสีการแพทย์ในหน่วยงาน  ให้สามารถจัดท่าได้มาตรฐาน  มีการจัดทำคู่มือการจัดท่าการถ่ายภาพรังสีเต้านม  และส่งนักรังสีการแพทย์เข้าร่วมประชุมวิชาการภายนอกโรงพยาบาล  เช่น  ศูนย์ถันยรักษ์  โรงพยาบาลศิริราช  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เป็นต้น  นักรังสีการแพทย์ใหม่  จะต้องมีนักรังสีการแพทย์พี่เลี้ยงคอยดูแลการจัดท่าตลอดเวลา  จนกว่าจะผ่านการประเมินผลการทำงาน  เมื่อนักรังสีการแพทย์เชี่ยวชาญแล้วจะต้องอยู่ประจำในหน่วยงาน  การถ่ายภาพรังสีเต้านมเท่านั้น  ไม่หมุนเวียนไปหน่วยงานอื่น
  2. Aborted  AEC  Exposure  เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอลนั้น  การตั้งเทคนิคการถ่ายภาพเป็นแบบ  Automatic  ผู้ป่วยที่ใส่ถุงเสริมเต้านมหรือผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อร้ายที่หนามากๆ  ไม่สามารถใช้แบบ  Automatic  ได้  จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความหนา  และความหนาแน่นของเต้านม  จะต้องเลือกแบบ  Manual  เช่น  ก้อนที่มีความหนาเกิน  7 ซม.  ควรใช้  35  kv  250  mAs  เลือก  และ  target /filter  เป็น  Rhodium/Rhodium หรือ Tungsten/Rhodiumหรือ Tungsten/Silverเป็นต้น  โดยแสดง  exposure  technic  chart  ไว้ประจำเครื่อง  (กรณีตั้งแบบ  Manual)  และควรสอบถามประวัติจากผู้ป่วยว่าเคยผ่าตัดใส่ถุงเสริมเต้านมหรือไม่  เพื่อป้องกันถ่ายภาพรังสีซ้ำ
  3. Artifacts  สิ่งแปลกปลอม เกิดจากแป้ง  ลูกกลิ้งระงับกลิ่นกาย  สิ่งเหล่านั้นสามารถมองเห็นเป็นลักษณะของหินปูนที่ผิดปกติในเต้านมได้  จึงต้องอธิบายการเตรียมตัวก่อนการตรวจ  ห้ามทาแป้ง และลูกกลิ้งระงับกลิ่นกายมาตรวจ  ขณะตรวจนักรังสีการแพทย์ต้องสังเกตสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ด้วย  เพราะผู้ป่วยอาจลืมวิธีการเตรียมตัว  ถ้าพบให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออกให้หมด  บริเวณเต้านมหรือรักแร้  เส้นผมผู้ป่วยที่ใส่เจลก็เป็นสิ่งแปลกปลอมอย่างชัดเจน  ในการถ่ายภาพรังสีเต้านมในระบบดิจิตอล  โดยเฉพาะท่า  CC   ควรให้ผู้ป่วยรวบผม  หรือจัดเตรียมหมวกคลุมผมไว้ให้ผู้ป่วย
  4. Motion  ผู้ป่วยเคลื่อนไหว ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีการตรวจ  และขั้นตอนการตรวจ  เพื่อให้ผู้ป่วยร่วมมือขณะตรวจ  การใช้แผ่นกดทับบริเวณเต้านมแล้วผู้ป่วยยังสามารถขยับตัว  ทำให้เกิดภาพไหว  และควรให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจ  นักรังสีการแพทย์จะต้องสังเกตว่าผู้ป่วยทำตามหรือไม่ 

 

ตารางที่  1    สาเหตุการถ่ายภาพรังสีเต้านมซ้ำ

สาเหตุ

Lt. CC

Rt. CC

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. other

Rt. other

รวมความถี่

% of repeat

ความถี่

ความถี่

ความถี่

ความถี่

ความถี่

ความถี่

1.  Positioning(การจัดท่า)

34

70

56

68

9

9

246

0.77%

2.  Aborted  AEC  Exposure

14

22

5

7

26

28

102

0.32%

3.  Artifacts
(สิ่งแปลกปลอม)

3

2

7

8

2

1

23

0.07%

4.  Motion
(ผู้ป่วยไหวตัว)

3

9

4

7

4

3

30

0.10%

Total  Exposure

31,978

 

401

1.25%

 

 

 

 

 

 

ตารางที่  2  หลังจากแก้ไขปัญหา สาเหตุการถ่ายภาพรังสีเต้านมซ้ำ 

สาเหตุ

Lt. CC

Rt. CC

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. other

Rt. other

รวมความถี่

% of repeat

ความถี่

ความถี่

ความถี่

ความถี่

ความถี่

ความถี่

1.  Positioning(การจัดท่า)

12

14

13

9

2

2

52

0.16%

2.  Aborted  AEC  Exposure

3

4

0

1

8

7

23

0.07%

3.  Artifacts
(สิ่งแปลกปลอม)

0

0

1

1

0

1

3

0.01%

4.  Motion
(ผู้ป่วยไหวตัว)

1

0

0

1

0

0

2

0.01%

Total  Exposure

32,701

 

    80

0.24%

 

ผลการศึกษา   ได้ศึกษาถึงปัญหาต่างๆและนำมาแก้ไข พบว่า 

1.   Positioning  การจัดท่าผู้ป่วยจาก  0.77%  เป็น 0.16 %   ลดลง 0.61% 

2.   Aborted  AEC  Exposure จาก  0.32%  เป็น 0.07 %  ลดลง 0.25 %

3.   Artifacts  (สิ่งแปลกปลอม) จาก 0.07%  เป็น 0.01%  ลดลง  0.06%

4.   Motion  (ผู้ป่วยเคลื่อนไหว)  จาก0.10%  เป็น0.01%  ลดลง0.09%

               

สรุป 

                ถึงแม้ว่าการถ่ายภาพรังสีเต้านมระบบดิจิตอลจะให้ภาพรังสีที่มีคุณภาพดี  โดยสามารถปรับแต่งภาพให้มีความคมชัดได้ตามต้องการ  สามารถขยายภาพที่สงสัยจากภาพเดิม  โดยไม่ต้องถ่ายภาพรังสีเพิ่มที่ตัวผู้ป่วยแล้วก็ตาม  แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการถ่ายภาพรังสีซ้ำอีก  จากการวิเคราะห์ถึงสาเหตุ  และนำมาแก้ไขปัญหาทำให้การถ่ายภาพรังสีซ้ำในทุกปัญหาลดลง  สามารถตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มแรกและช่วยลดปริมาณรังสีให้แก่ผู้ป่วยได้

 

เอกสารอ้างอิง 

  1. มาลัย  มุตตารักษ์ . Film – screen  Mammography  Text & Atlas   กรุงเทพฯ. ห.จ.ก.  พีบีฟอเรนบุคส์  เซนเตอร์  จำกัด,  2538.
  2. ลัดดา  เฉลยกิตติ .  การถ่ายภาพรังสีเต้านม  (Mammography)  เอกสารประกอบการสอนวิชา  radiology  residency  training  program  ภาควิชารังสีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , 2538.
  3. อัญชลี  กฤษณจินดา .  “Radiology  safety  in  mammogram”. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  โรงเรียนรังสีเทคนิค  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  สภากาชาดไทย  วันที่   28 – 29  มกราคม  2551.
คำสำคัญ (Tags): #mammography#repeat
หมายเลขบันทึก: 434423เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2011 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท