Grounded Theory


การสร้างทฤษฎีจากข้อมูลที่หลากหลายและเพียงพอ ที่ได้จากการเห็น การสัมผัส

Grounded Theory

             ท่านอาจารย์สุทธิดา ได้ให้ความหมายไว้ว่า "Grounded Theory" เป็นแนวทางการวิจัยหรือวิทยาการวิจัย (Research Methodology) ที่มีเป้าหมาย เพื่อสร้างข้อสรุปเชิงทฤษฎีขึ้นจากปรากฏการณ์ทางสังคม ตามความหมายของชุมชน อันเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่นำมาสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ทราบลักษณะของปรากฏการณ์ทางสังคม

             "Grounded Theory" เป็น Methododlogy อีกวิธีหนึ่ง บนพื้นฐานของความจริงจากปรากฏการณ์ทางสังคม เพื่อบรรยายลักษณะทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้น

             ในฐานะของนักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์ที่จะต้องไปทำวิจัยร่วมกับชาวบ้าน ร่วมกับชุมชน จะต้องถามตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่า เราต้องการอะไรจากความรู้   เราต้องการอะไรจากงานวิจัย เช่น

            -  เพื่ออธิบาย  ว่าทำไมต้องทำอย่างนั้น

            -  เพื่อทำนาย  ว่าถ้าเกิดสถานการณ์นี้จะเกิดอะะไรต่อไปในอนาคต

            -  เพื่อทำความเข้าใจ   ว่าทำอย่างไร ทำแบบไหน เพื่อบรรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

            จากประเด็นคำถามนี้ จึงต้องใช้ Methododlogy ที่เหมาะสมบนพื้นฐานของความจริงอะไร หรือบนพื้นฐานของคำถามอะไร อยากรู้อะไร และจะใช้กระบวนการหาความรู้อย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ซึ่งถ้าใช้กระบวนการหาความรู้ ( Methododlogy )  ผิดวิธีการวิจัยจะไม่สำเร็จได้ดังที่ตั้งใจไว้

             เมื่อตอบคำถามที่กล่าวมาได้ เราก็จะสามารถตั้งคำถามหลักที่เราอยากรู้ในเรื่องที่เราจะทำวิจัยคืออะไร และจะตอบคำถามอะไร

             จากแนวทางที่อาจารย์สุทธิดาสอนมาได้ทำให้นักศึกษาหลาย คนเริ่มตั้งคำถามที่ตรงกับใจตัวเองให้กระชับและชัดเจนมากขึ้นในระดับหนึ่ง  เช่น การตั้งคำถามที่ว่า

             เลี้ยงโคอย่างไรให้สมบูรณ์ในฤดูแล้ง

             ซึ่งจะต้องหาความรู้ใน  2  ประเด็น คือ

             1.   การเลี้ยงโคในฤดูแล้งของชาวบ้านเป็นอย่างไร เป็นการรวบรวมและบรรยายถึงความรู้เดิมที่ชาวบ้านมีเป็นความรู้ที่ประสบความสำเร็จ  ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีในชุมชนรวมกับข้อมูลจากแหล่งอื่นมาสนับสนุน

             2.   ชาวบ้านควรเลี้ยงโคอย่างไรในฤดูแล้งจึงจะดี เป็นการนำเอาความรู้ที่ประสบควมสำเร็จมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับชาวบ้านและชุมชน ภายใต้บริาทและเงื่อนไขของแต่ละคนที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ 

            หรืออาจจะเรียกได้ว่า เป็นการนำเอาความรู้ที่ชาวบ้านมีมาจัดการให้เป็นระบบภายใต้เงื่อนไขและบริบทของชาวบ้านและชุมชน

หมายเลขบันทึก: 43435เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เข้าได้ใจง่าย อธิบายและยกตัวอย่างชัดมาก ขอบคุณครับ

ทำไปเถอะครับ Grounded Theory เป็นอะไรที่ดีมากครับ คนทำไม่มาก

อยากศึกษารายละเอียดให้รู้มากๆกว่านี้จังค่ะ สนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท