รูปแบบการสอนและCIPPA MODEL


CIPPA MODEL คืออะไร

ความหมายของรูปแบบการสอน 

                    นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความหมายของรูปแบบการสอน (teaching models) หรือรูปแบบการเรียนการสอน (instructional models) เหมือนและแตกต่างกันไปตามภูมิหลัง   และประสบการณ์ของแต่ละท่าน จะขอนำมาเป็นตัวอย่างดังนี้

                   บุญชม  ศรีสะอาด  (2537: 140)  อธิบายว่า  รูปแบบการสอนมีความหมายสองแนวคือ        แนวแรกเป็นรูปแบบการสอนที่เป็นกิจกรรมหรือวิธีสอน ส่วนแนวที่สองเป็นรูปแบบการสอนที่มีความหมายกว้างกว่าแนวแรก  กล่าวคือเป็นโครงสร้างที่แสดงถึงองค์ประกอบต่างๆ ในการสอนที่จะนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดผลแก่ผู้เรียนตามจุดประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

                   ทิศนา  แขมมณี  (มปป.: 1) ให้ความหมายว่า  เป็นสภาพหรือการจัดการเรียน การสอนที่     จัดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ  ซึ่งประกอบด้วย  ขั้นตอน  วิธีการ และเทคนิคการสอน รวมทั้งการวัด      และประเมินผลการเรียนการสอนที่ได้ออกแบบไว้อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ  สามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเช่นเดียวกัน  

                    จอยส์ และวีล  (Joyce  and  Weil, 1972: 3) ให้ความหมายว่าเป็นแบบแผนหรือแผนที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบของหลักสูตรหรือรายวิชาเพื่อเลือกวัสดุการเรียนการสอน และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของครู

                    เซย์เลอร์ และคณะ (Saylor et al., 1981: 271) ให้ความหมายว่าเป็นแบบ หรือแบบแผนของการสอนที่มีการจัดกระทำพฤติกรรมขึ้น ที่มีความแตกต่างกันเพื่อจุดหมาย   หรือจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของเอ็กเก็น และเคาชัค (Eggen and  Kauchak, 1996:  11) ที่ให้ความหมายว่าเป็นรายละเอียดหรือคำชี้แจงของยุทธวิธีการสอนที่ออกแบบขึ้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์เฉพาะของการสอน และสอดคล้องกับความเห็นของ แอนเดอร์สัน (Anderson, 1997: 521 - 522) ที่กล่าวว่า  เป็นขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอนที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะ

                    เมคเคอร์  (Maker, 1982: 1)  ให้ความหมายว่าเป็นเค้าโครงที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมและสิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน  โดยอาจเป็นรูปแบบการสอนที่มีลักษณะความเป็นทฤษฎีหรือเป็นนามธรรมสูงหรืออาจเป็นรูปแบบการสอนในเชิงปฏิบัติก็ได้ 

                    อาเรนดส์  (Arends, 2000, 230 - 231)  อธิบายความหมายของรูปแบบการสอน (teaching  models) โดยการเปรียบเทียบกับคำที่มีความหมายคล้ายกันและมักจะมีการใช้แทนกันคือคำว่า         ยุทธศาสตร์การสอน (teaching strategies) วิธีสอน (teaching methods) หลักการสอน (teaching principles) โดยอธิบายว่ารูปแบบการสอนมีความหมายโดยนัยที่กว้างกว่ายุทธศาสตร์การสอน  วิธีการสอน        หรือขั้นตอนการสอน (procedure) และมีลักษณะบางอย่างที่ยุทธศาสตร์  การสอนหรือวิธีสอนไม่มี ได้แก่  แนวคิดหรือทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบ แนวทางเกี่ยวกับ  สิ่งที่ผู้เรียนจะเรียนและวิธีการเรียน คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมในการสอนและการจัดห้องเรียน เพื่อความต้องการในการเรียนรู้ประเภทต่างๆ แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของรูปแบบการสอนของอาเรนดส์  สอดคล้องกับความหมายของรูปแบบการสอนที่พิจารณาจากกรอบของการเรียนการสอน (instructional  framework)  ที่นำเสนอโดยฝ่ายการศึกษาของเมืองแซสแกตเชอวาน  ประเทศแคนาดา (Saskatchewan Education, 2000) ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของแนวการจัด การเรียนการสอน (instructional approaches) 

การจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้ CIPPA Model มีดังนี้

•เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2503 เป็นหลักสูตรพุทธ-ศักราช 2521 แนวคิดเรื่องการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นับเป็นแนวคิดหลักของการเปลี่ยนแปลง หลักสูตรฉบับดังกล่าวได้ส่งเสริมให้ครูเปลี่ยนแนวการจัดการเรียนการสอนจากการบรรยาย บอกเล่า มาเป็นการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์

. C มาจากคำว่า Construct ซึ่งหมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดของปรัชญา Constructivism กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี ควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง การที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทาง สติปัญญา

 

•I มาจากคำว่า Interaction ซึ่งหมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวทางร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ

•P มาจากคำว่า Physical Participation ซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทางกาย คือ ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ
•P มาจากคำว่า Process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

                                                       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 433343เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท