ความมั่นคงและความไม่มั่นคงทางอาหาร


ต้องคิดและทำอย่างเป็นระบบ

ความมั่นคงทางอาหาร (Food security) มีมิติที่เกี่ยวข้องและต้องนำมาพิจารณารวมกัน ๕ มิติ ได้แก่

- การมีอาหาร (food availability)

- การเข้าถึงอาหาร (food accessibility)

- การใช้อาหาร (food utilization)

- การมีอย่างต่อเนื่อง (food stability)

- การ (food organization) เกี่ยวกับนโยบาย กลไก และกระบวนการที่ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร

 

ความไม่มั่นคงทางอาหาร (Food insecurity) มีมิติที่เกี่ยวข้องและต้องนำมาพิจารณารวมกัน ๔ มิติ ได้แก่

- การได้รับอาหารที่ไม่พอเพียงต่อความต้องการของแต่ละบุคคล (Food quantity)

- การได้รับอาหารที่ไม่มีคุณภาพ (Food quality) เช่น อาหารแบบทานด่วน อาหารที่มีสารอาหารเฉพาะบางประเภท

- ความกังวลเกี่ยวกับการมีอาหารประจำวัน (Food psychology) 

- การเข้าถึงอาหารด้วยวิธีการที่ไม่ได้รับการยอมรับของสังคม (Food social) เช่น การขโมยอาหาร

 

การทำความเข้าใจสภาพทั้งสองต้องให้แนวทางเชิงระบบ คือ คิดและทำอย่างเป็นระบบ ความมั่นคงทางอาหารเปรียบเสมือนการมองปัญหาจากมุมกว้าง ส่วนความไม่มั่นคงทางอาหารเปรียบได้กับการมองจากกรณีหรือมุมใดมุมหนึ่ง

 

คนจนในเมืองและคนจนในชนบทมีความมั่นคงและความไม่มั่นคงทางอาหารที่ต้องพิจารณาให้เข้าใจเพื่อการแก้ปัญหาได้อย่างมีส่วนร่วมของคนจนทั้งสองกลุ่ม

==============<><><>

อรรถชัย, เกียวโต

๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔

หมายเลขบันทึก: 432910เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2011 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท