The Clash of Civilizations or The War of Greedy?


การปะทะกันทางอารยธรรม หรือสงครามแห่งความละโมบ?

ศาสตราจารย์ฮันทิงตั้นนักปราชญ์ชาวตะวันตก ได้เขียนบทความเรื่อง "การปะทะกันทางอารยธรรม"  (The Clash of Civilizations?) ไว้ในวารสาร Foreign Affairs ฉบับฤดูร้อนปีค.ศ. 1993 ด้วยการมองย้อนหลังไปในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาแล้วคาดการความเป็นไปในอนาคต  แนวคิดที่ว่าหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็นแล้วจะมีอารยธรรมสำคัญๆ อยู่ 7 - 8 อารยธรรม แต่สิ่งที่คงเหลืออยู่จะเป็นความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมตะวันตกกับมุสลิมและขงจื้อ(วัฒนธรรมจีน) ในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันแนวคิดเชิงทฤษฎีของศาสตราจารย์ฮันทิงตันก็ปรากฏให้เห็นเป็นจริงอยู่บ้างแล้ว เช่น ในคาบสมุทรบอลข่านที่เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมเชื้อสายแอลเบเนียนในบอสเนียกับชาวคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ในเซอร์เบีย   ในเชสเนียระหว่างชาวรัสเซียกับชาวเชเชน รวมถึงความพยายามของกลุ่มประเทศอิสลามและจีนที่จะครอบครองอาวุธนิวเคลียร์เพื่อเพิ่มแสนยานุภาพและอำนาจทางการทหาร และการพัฒนาเศรษฐกิจของอินเดียและจีนอย่างก้าวกระโดด  หรือการก่อวินาศกรรม 911

ในพื้นฐานของความขัดแย้งต่างๆ ที่ศาสตราจารย์ฮันทิงตั้นได้หยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างนั้น หากวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้แล้ว ล้วนแต่เกิดจากสาเหตุอันเนื่องมาจากเพื่อการตอบสนองความต้องการหรือความอยากมี ความบ้าคลั่ง ในอำนาจหรือความกระหายสงคราม เพื่อเข้าแย่งชิงทรัพยากร โดยฝ่ายอารยธรรมตะวันตกต่ออารยธรรมอื่นๆ การเป็นพันธมิตรระหว่างกลุ่มที่มีอารยธรรมใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจในการครอบงำ หรือแก่งแย่งแสวงหาผลประโยชน์  โดยใช้กำลังบังคับเอาทรัพยากรมาจากกลุ่มอารยธรรมที่ด้อยกว่า  หลายๆ เหตุการณ์ของความขัดแย้ง อันเนื่องมาจากความละโมบที่เด่นชัดคือ สงครามศาสนา (Crusade) ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 – 13 เพื่อแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ การเกิดสงครามกลางเมือง (Civil War) เพื่อแย่งชิงอำนาจในการปกครอง ยุคสมัยการล่าอาณานิคม  ในศตวรรษที่ 19 สงครามอ่าวเปอร์เชีย  หรือแม้แต่สงครามในประเทศอัฟกานิสถาน ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นโดยผู้ที่เรียกตนเองว่า “ผู้มีอารยะ”ที่มีแต่ความละโมบทั้งสิ้น โดยอาศัยคำว่า “อารยธรรม” ที่มีองค์ประกอบคือ ศาสนา เชื้อชาติสัญชาติ  ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา นอกเหนือจากความเป็นรัฐชาติ เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการสะสมอำนาจและหาแนวร่วม พร้อมทั้งการบิดเบือนใส่ร้ายฝ่ายตรงข้ามว่าเป็น “อักษะแห่งความชั่วร้าย”  ในการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งในการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อหาแนวร่วมและสร้างความชอบธรรมที่อ้างขึ้นสำหรับการใช้กำลังเข้าทำสงครามเพื่อตอบสนองความละโมบของฝ่ายตน

ในอดีตที่ผ่านมาจะเห็นว่าตะวันตกเป็นผู้ค้นพบดินแดนต่างๆ เนื่องจากเพื่อเป็นการแสวงหาทรัพยากร  และใช้กำลังแย่งชิงมาจากชนพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็นทวีปอเมริกาเหนือที่ตั้งของประเทศสหรัฐอเมริกา  ทวีปออสเตรเลีย หรือทวีปแอฟริกา  ที่ได้นำชนพื้นเมืองเหล่านั้นมาบังคับใช้แรงงาน (Slave) และที่เห็นชัดเจนที่สุดคือการล่าอาณานิคม  ตะวันตกมีความยึดมั่นถือมั่นว่าชนกลุ่มตนเป็นผู้มีอารยะ แต่กลับปฏิบัติตนเองเฉกเช่นปิศาจผู้หิวกระหาย   อารยธรรมตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกาควรจะต้องพิจารณาดูว่า การกระทำในอดีตของกลุ่มตนต่อกลุ่มอารยธรรมอื่นๆนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและชอบธรรมหรือ

ปัจจุบันยังคงมีสงครามหรือความขัดแย้งเพื่อแย่งชิงทรัพยากรและผลประโยชน์เพื่อกอบโกยและสนองตัณหาความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุดของฝ่ายตะวันตกอยู่ตลอดเวลา  เพียงแต่รูปแบบของสงครามได้แปรเปลี่ยนไปตามเวลา  จากการใช้กำลังทางการทหาร  มาเป็นการใช้ทุนข้ามชาติ  การจู่โจมโดยใช้เทคโนโลยี  หรือแฝงเร้นมาในลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งรูปแบบของสงครามเพื่อแก่งแย่งชิงดีกันนั้น อาจนำมาใช้ได้ทุกรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภาวะของผู้นำในแต่ละอารยธรรม  เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการของตนเอง  การที่ศาสตราจารย์ฮันติงตันหยิบยกเอาคำว่า “การปะทะกันทางอารยธรรม”  (The Clash of Civilization) สำหรับบทความที่นำเสนอแนวคิดของตนเองให้แก่ผู้คนทั่วโลกนั้นจะไม่เป็นคำที่สละสลวยเลิศเลอเกินความจริงไปหน่อยหรือ?

ปัจจุบันยังคงมีปัญหาสงครามระหว่างชาติพันธมิตรตะวันตกที่นำโดยฝรั่งเศส  อเมริกา  อังกฤษ  เบลเยี่ยม ในสงครามกับลิเบีย หรือที่พยายามเรียกอย่างสวยหรูว่า "Odyssey Dawn" ส่วนหนึ่งเกิดมาจากปัญหาภายในประเทศที่อาจจะมีผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง   แต่เมื่อมีการเข่นฆ่าประชาชนแบบ Genocide ในลิเบีย  จึงเป็นการเปิดช่องให้ตะวันตกอ้างเอาสิทธิมนุษยชนเพื่อส่งกองกำลังเข้ามา เรียกว่า "เข้าทาง"  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลดปล่อยประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในเหตุการณ์ Genocide ที่รวันดาระหว่างชนเผ่าฮูตู และ ทุ๊ดซี่ ไม่มีประเทศในกลุ่มตะวันตกพยายามหยิบยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ  นั่นอาจเป็นเพราะที่รวันดาไม่ได้มีขุมทรัพย์หรือผลประโยชน์ที่จะสามารถกอบโกยได้เช่นที่ลิเบียหรือไม่  "การหยุดการทำลายล้าง  ด้วยการทำลายล้าง"  นั้นถือเป็นหนทางที่เหมาะสมเพียงพอแล้วหรือ?

การแอบอ้างความชอบธรรมในการทำสงครามเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ที่แอบแฝง  เมื่อใดจะสิ้นสุดสักที  นี่คือ "การปะทะกันทางอารยะธรรมหรือสงครามแห่งความละโมบ"  The Clash of Civilizations or The War of Greedy? กันแน่

"มนุษย์ทุกคน  ทุกหมู่เหล่าควรที่จะปฏิบัติตนต่อเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ อย่างเท่าเทียม  และด้วยความเสมอภาค ด้วยตัวของคุณเอง  เพื่อที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดแก่โลกอย่างแท้จริง"

 

อ้างอิง:

Huntington, Samuel P., “The clash of civilizations?” Foreign Affairs; Summer 1993; 72, 3; ABI/INFORM Global pg. 22 - 49

 

ข้อมูลเพิ่มเติม:

1. http://www.hks.harvard.edu/fs/pnorris/Acrobat/Huntington_Clash.pdf

2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2

หมายเลขบันทึก: 432557เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2011 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

ปัญหาคือ คนอย่างเราๆนี่ล่ะค่ะที่จะอ่านและเข้าใจสิ่งนี้

"มนุษย์ทุกคน  ทุกหมู่เหล่าควรที่จะปฏิบัติตนต่อเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ อย่างเท่าเทียม  และด้วยความเสมอภาค ด้วยตัวของคุณเอง  เพื่อที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดแก่โลกอย่างแท้จริง"

แต่พวกทีมีอำนาจตัดสินใจ ก่อสงคราม ไม่เข้าใจและไม่ได้อ่าน สันติสุข จึงบังเกิดยาก แต่เราก็ต้องพยายามต่อไปเท่าที่ทำได้เพื่อให้สันติ สงบ กลับมา อย่างน้อยก็ในใจเราก่อน :)

ทุกอย่างเริ่มต้นได้...ด้วยตัวเราครับ

ลองคิดกันหน่อยครับ  ว่า Syria คราวนี้จะออกมาเป็นเช่นไร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท