อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

อาการของความไม่สมดุลของร่างกาย


อาการของความไม่สมดุลของร่างกาย

อาการของความไม่สมดุลของร่างกาย

                                                              ผู้เผยแพร่ ดร.ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

อาการของความไม่สมดุล

    1.  อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
    2.  อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
    3.  ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
เมื่อมีภาวะความไม่สมดุลของร่างกาย จะก่อให้เกิดความไม่สบายกายในอาการต่าง ๆ นานเข้าก็จะก่อให้เกิด เป็นโรคเฉียบพลัน หรือเรื้อรังได้ ในแง่การแพทย์แผนปัจจุบัน จะแบ่งโรคออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ ..
1. โรคติดเชื้อ
2. โรคไม่ติดเชื้อ

ซึ่งจะจเกิดตามระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
ถ้าในแง่แพทย์แผนไทยจะเด่นในการวิเคราะห์ความไม่สมดุลในลักษณะตามส่วนประกอบของร่างกาย ได้แก่ ธาตุิดิน น้ำ ลม ไฟที่พิการไปในลักษณะกำเริบ (เกิน) หรือหย่อน (ขาด - พร่อง) ส่วนในแง่แพทย์ทางเลือก โดยเฉพาะแพทย์แผนจีนและธรรมชาติบำบัดแนวแมคโครไบโอติก จะเด่นในการวิเคราะห์ความไม่สมดุลของร่างกาย ออกเป็นกลุ่มร้อน (หยาง) และเย็น (หยิน)
สำหรับในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขออนุญาต อธิบายความไม่สมดุลของร่างกายในลักษณะร้อนเย็นเป็นหลัก เพราะข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการง่ายต่อการจดจำและง่ายต่อการทำความเข้าใจในร่างกายของเราเอง โดยข้าพเจ้าจะใช้หลักการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน อธิบายขยายความแทรกในบางส่วน ที่เห็นว่าจะช่วยเสริมให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้นทฤษฎีแพทย์ทางเลือก โดยเฉพาะแพทย์แผนจีนและธรรมชาติบำบัดแนวแมคโครไบโอติก จะแบ่งโรคออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ และเท่าที่ข้าพเจ้าเก็บข้่อมูลจากการตรวจรักษาดูแลผู้ป่วยมา ข้าพเจ้าพบสิ่งที่น่าประหลาดใจว่า แท้จริงแล้ว คนป่วยเป็นโรค 2 กลุ่มหลัก ๆ เท่านั้นเอง คือ
1. กลุ่มที่ไม่สมดุลแบบร้อนเกิน (หยาง)
2. กลุ่มที่ร่างกายไม่สมดุลแบบเย็นเกิน (หยิน)

เมื่อเราตรวจสอบว่าร่างกายไม่สมดุลโด่งไปทางไหน วิธีแก้ไข เราก็จะปรับตรงกันข้ามให้เกิดความสมดุลเราจึงควรจะเรียนรู้ว่า ถ้าร่างกายเราโต่งมาทางด้านร้อนจะมีอาการอย่างไร และ้ถ้าโต่งไปทางเย็นมีอาการอย่างไรและจะรู้ได้อย่างไร
1. อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
เมื่อมีภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ร่างกายจะระบายความร้อนไปตามจุดต่าง ๆ เพื่อเฉลี่ยความร้อนและระบายออกจากร่างกายตามเส้นทางต่าง ๆ จุดใดที่อ่อนแอหรือทนพิษร้อนไ้ด้น้อยก็จะแสดงอาการออกมา ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีอาการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีอาการหลายอย่างร่วมกันก็ได้
อาการของภาวะร้อนเกิน (ไฟกำเริบ หรือภาวะหยางเกิน) มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว
2. มีสิว ฝ้า
3. มีตุ่ม มีแผลในช่องปากด้านล่าง ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
   (ถ้าเป็นแผลในช่องปากด้านบนเกิดจากภาวะเย็นเกิน)
4. นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
   (อาการปากคอแห้งนี้ในแพทย์แผนไทย คือ น้ำหย่อน มักเกิดจากไฟเผาจน้ำแห้ง  ถ้าเป็นรุนแรงหรือเรื้อรังแม้ดื่มมากก็จะยังมีอาการอยู่)
5. ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยาย

6. ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน แขน - ขาร้อน มือร้อน เท้่าร้อน ออกร้อนตามร่างกาย ครั่นเนื้อครั่นตัว
7. บริเวณท้องแขนด้านใน น่อง หน้าแข้ง เส้นเลือดจะขยายตัวใหญ่ มีเส้นเลือดขอดตามจุดต่าง ๆ
8. ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
9. กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
10. ผิวหนังผิดปกติ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย
11. ตกกระสีน้ำตาล หรือสีดำตามร่างกาย
12. ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็ก ๆ
13. ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัดมักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2
14. ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีท้องอืดร่วมด้วย
15. มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
16. เป็นเริม งูสวัด
17. หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลือง หรือเขียว
18. โดยสารรถ มักอ่อนเพลีย และหลับขณะเดินทาง
19. เลือกกำเดาออก
20. มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
21. เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
22. เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย
23. หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน
24. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช๊อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
25. อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
26. รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
27. เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆ จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
28. เจ็บคอ คอแห้ง เสียงแหบ เป็นมาก ๆ จะพูดไม่มีเีีสียง
29. หิวมาก หิวบ่อย กินเท่าไรก็ไม่อ้วน บางครั้งหิวจนหูอื้อตาลาย ลมออกหู
      (สำนวนโบราณจะบอกว่าหูดับตับไหม้ ดังนั้น ถ้าหูอื้อก้แสดงว่าตับกำลังร้อน)
      ถ้าปล่อยให้เป็นนาน ๆ ก็จะหูตึง ถ้าตับไตร้อน ก็มักจะทำให้ปวดตาและแสบตาด้วย

30. สะอึก
      (ถ้าสะอึกแสดงว่าร้อนจนถึงขั้นความร้อนเข้าเส้นสุมนา ซึ่งเป้นเส้นลมปราณไทยเส้นหนึ่งที่อยู่แนวกลางลำตัว)

31. ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้่า
      (ซึ่งการเจ็บส้นเท้านั้น เป็นได้ทั้งภาวะร้อนเกินและเย็นเกิน ถ้าจากภาวะร้อนเกิน มักจะมีอาการเจ็บออกร้อน
      บางครั้งเหมือนไปช๊อต แต่ถ้าภาวะเย็นเกิน ก็จะเจ็บแบบหนาวเหน็บเข้ากระดูก)

30. ภาวะ้ร้อนเกิน ถ้าเป็นมาก ๆ จะเกิดอาการชัก
31.โรคที่เกิดจากภาวะร้อนเกิน เช่น
      - โรคหัวใจ
      - เป็นหวัดร้อน
      - ไซนัสอักเสบ
      - หลอดลมอักเสบ
      - กล่องเสียงอักเสบ
      - ตับอักเสบ
      - กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ
      - ไทรอยด์เป็นพิษ
      - ริดสีดวงทวาร
        (แสดงว่า ตับร้อนมาก มักจะส่งความร้อนมาขยายเส้นเลือดเส้นที่ต่อมาเชื่อมลำไส้ใหญ่ พอความร้อนดัน
         เส้นเลือดขยาย ก็จะมีลักษณะ ปูดออกมาเป็นริดสีดวงทวาร)

      - มะเร็ง และเนื้องอกต่าง ๆ
      - มดลูกโต
      - ตกขาว
      - ตกเลือด
      - ปวดมดลูก
       (อาการมดลูกโต ตกเลือด ตกขาวนั้น เป็นได้ทั้งภาวะร้อนและ ภาวะเย็นเกิน ควรสังเกตให้ดี ต้องใช้องค์ประกอบของอาการข้ออื่น ๆ ช่วยพิจารณาด้วย แต่ในยุคนี้ส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดจากภาวะร้อนเกิน)

      - หอบหืดที่มีเสลดเหนียวข้น ไอแห้ง ๆ หรือไอร่วมกับการมีเสลดเหนียวข้น
      - ไตอักเสบ ไตวาย
       (ไตวายและไตอักเสบ เป็นได้ทั้งร้อนและเย็นเกิน ต้องการใช้อาการข้ออื่น ๆ ร่วมพิจารณาเช่นกันแต่ส่วนใหญ่ก็มักเกิดจากภาวะร้อนเกิน)

      - นิ่วไต
      - นิ่วถุงน้ำดี
      - นิ่วกระเพาะปัสสาวะ
      - กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
      - ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต
      - โรคเกาต์
      - ความดันโลหิตสูง
      - เบาหวาน
      (มีทั้งภาวะร้อนและเย็นแทรกอยู่ด้วยกัน เพราะ คนเป็นเบาหวานชอบกินทั้งหวานและมันหวาน หวานเป็นเย็น มันเป็นร้อน เวลาแก้ต้องแก้ทั้งสองอย่าง)
      - และภูมิแพ้จากร้อนแมลงสัตว์กัดต่อย ก็ถือว่าเป็นภาวะร้อนเกิน
 

 

2. อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน

1. หน้าซีดผิดปกติจากเดิม
2. ตุ่มหรือแผลในช่องปากด้านบน
3. ตาแฉะ ขี้ตามาก ตามัว
4. เสมหะมาก ไม่เหนียว สีใส
5. หนักหัว หัวตื้อ
6. ริมฝีปากซีด
7. ขอบตา หนังตาบวมตึง
8. เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า คิดช้า
9.  ไอ อาการมักทุเลาเมื่อถูกภาวะร้อน
10. ผิวหน้าบวมตึง แต่ไม่ร้อน
11. เจ็บหน้าอกด้านขวา
12. หายใจไม่อิ่ม
13. ท้องอืดจุกเสียดแน่น
14. ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก
15. อุจจาระเหลวสีอ่อน มักท้องเสีย
16. มือเท้า มึนชา เย็น สีซีดกว่าปกติ หนาวสั่งตามร่างกาย
17. ตกกระสีขาว
18. มักมีเชื้อราตามผิวหนังหรือที่เล็บมือ/เล็บเท้า
19. เล็บยาวแคบกว่าปกติ
20. เท้าบวมเย็น
3. ภาวะร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
1. ไข้สูงแต่หนาวสั่นหรือเย็นมือเย็นเท้า
2. ปวดหัวตัวร้อนร่วมกับท้องอืด
3. ปวด/บวม/แดง/ร้อนร่วมกับมึนชาตามเนื้อตัวแขนขา
 
1. อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
เมื่อมีภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ร่างกายจะระบายความร้อนไปตามจุดต่าง ๆ เพื่อเฉลี่ยความร้อนและระบายออกจากร่างกาย
ตามเส้นทางต่าง ๆ จุดใดที่อ่อนแอหรือทนพิษร้อนไ้ด้น้อยก็จะแสดงอาการออกมา ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีอาการเพียงอย่างใด
อย่างหนึ่ง หรือมีอาการหลายอย่างร่วมกันก็ได้
อาการของภาวะร้อนเกิน (ไฟกำเริบ หรือภาวะหยางเกิน) มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว
2. มีสิว ฝ้า
3. มีตุ่ม มีแผลในช่องปากด้านล่าง ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
   (ถ้าเป็นแผลในช่องปากด้านบนเกิดจากภาวะเย็นเกิน)
4. นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
   (อาการปากคอแห้งนี้ในแพทย์แผนไทย คือ น้ำหย่อน มักเกิดจากไฟเผาจน้ำแห้ง  ถ้าเป็นรุนแรงหรือเรื้อรังแม้ดื่มมากก็จะยังมีอาการอยู่)
5. ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยาย

6. ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน แขน - ขาร้อน มือร้อน เท้่าร้อน ออกร้อนตามร่างกาย ครั่นเนื้อครั่นตัว
7. บริเวณท้องแขนด้านใน น่อง หน้าแข้ง เส้นเลือดจะขยายตัวใหญ่ มีเส้นเลือดขอดตามจุดต่าง ๆ
8. ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
9. กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
10. ผิวหนังผิดปกติ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย
11. ตกกระสีน้ำตาล หรือสีดำตามร่างกาย
12. ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็ก ๆ
13. ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัดมักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2
14. ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีท้องอืดร่วมด้วย
15. มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
16. เป็นเริม งูสวัด
17. หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลือง หรือเขียว
18. โดยสารรถ มักอ่อนเพลีย และหลับขณะเดินทาง
19. เลือกกำเดาออก
20. มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
21. เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
22. เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย
23. หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน
24. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช๊อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
25. อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
26. รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
27. เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากๆ จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
28. เจ็บคอ คอแห้ง เสียงแหบ เป็นมาก ๆ จะพูดไม่มีเีีสียง
29. หิวมาก หิวบ่อย กินเท่าไรก็ไม่อ้วน บางครั้งหิวจนหูอื้อตาลาย ลมออกหู
      (สำนวนโบราณจะบอกว่าหูดับตับไหม้ ดังนั้น ถ้าหูอื้อก้แสดงว่าตับกำลังร้อน)
      ถ้าปล่อยให้เป็นนาน ๆ ก็จะหูตึง ถ้าตับไตร้อน ก็มักจะทำให้ปวดตาและแสบตาด้วย

30. สะอึก
      (ถ้าสะอึกแสดงว่าร้อนจนถึงขั้นความร้อนเข้าเส้นสุมนา ซึ่งเป้นเส้นลมปราณไทยเส้นหนึ่งที่อยู่แนวกลางลำตัว)

31. ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้่า
      (ซึ่งการเจ็บส้นเท้านั้น เป็นได้ทั้งภาวะร้อนเกินและเย็นเกิน ถ้าจากภาวะร้อนเกิน มักจะมีอาการเจ็บออกร้อน บางครั้งเหมือนไปช๊อต แต่ถ้าภาวะเย็นเกิน ก็จะเจ็บแบบหนาวเหน็บเข้ากระดูก)

30. ภาวะ้ร้อนเกิน ถ้าเป็นมาก ๆ จะเกิดอาการชัก
31.โรคที่เกิดจากภาวะร้อนเกิน เช่น
      - โรคหัวใจ
      - เป็นหวัดร้อน
      - ไซนัสอักเสบ
      - หลอดลมอักเสบ
      - กล่องเสียงอักเสบ
      - ตับอักเสบ
      - กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ
      - ไทรอยด์เป็นพิษ
      - ริดสีดวงทวาร
        (แสดงว่า ตับร้อนมาก มักจะส่งความร้อนมาขยายเส้นเลือดเส้นที่ต่อมาเชื่อมลำไส้ใหญ่ พอความร้อนดันเส้นเลือดขยาย ก็จะมีลักษณะ ปูดออกมาเป็นริดสีดวงทวาร)

      - มะเร็ง และเนื้องอกต่าง ๆ
      - มดลูกโต
      - ตกขาว
      - ตกเลือด
      - ปวดมดลูก
       (อาการมดลูกโต ตกเลือด ตกขาวนั้น เป็นได้ทั้งภาวะร้อนและ ภาวะเย็นเกิน ควรสังเกตให้ดี ต้องใช้องค์ประกอบของอาการข้ออื่น ๆ ช่วยพิจารณาด้วย แต่ในยุคนี้ส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดจากภาวะร้อนเกิน)

      - หอบหืดที่มีเสลดเหนียวข้น ไอแห้ง ๆ หรือไอร่วมกับการมีเสลดเหนียวข้น
      - ไตอักเสบ ไตวาย
       (ไตวายและไตอักเสบ เป็นได้ทั้งร้อนและเย็นเกิน ต้องการใช้อาการข้ออื่น ๆ ร่วมพิจารณาเช่นกันแต่ส่วนใหญ่ก็มักเกิดจากภาวะร้อนเกิน)

      - นิ่วไต
      - นิ่วถุงน้ำดี
      - นิ่วกระเพาะปัสสาวะ
      - กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
      - ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต
      - โรคเกาต์
      - ความดันโลหิตสูง
      - เบาหวาน
      (มีทั้งภาวะร้อนและเย็นแทรกอยู่ด้วยกัน เพราะ คนเป็นเบาหวานชอบกินทั้งหวานและมันหวาน หวานเป็นเย็น มันเป็นร้อน เวลาแก้ต้องแก้ทั้งสองอย่าง)
      - และภูมิแพ้จากร้อนแมลงสัตว์กัดต่อย ก็ถือว่าเป็นภาวะร้อนเกิน
 อ้างอิง ... http://www.morkeaw.net/k-nobalance.html
หมายเลขบันทึก: 432486เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2011 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2018 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท