ปฏิรูปที่ดิน..


โดย Sutti Atchasai เมื่อ 19 มีนาคม 2011 เวลา 11:37 น.

ประเทศไทยมีที่ดิน ๓๒๐.๗ ล้านไร่ เป็นที่ดินเพื่กการเกษตร ๑๓๑ ล้านไร่ สภาพการถือครองที่ดินมีลักษณะกระจุกตัว ผู้ถือครองที่ดินในมือจำนวนมากคือนายทุน ทั้งนายทุนไทยและนายทุนต่างชาติ  ด้วยรัฐบาลแต่ล่ะยุคมีการยกเลิกกฎหมาย พรบ.ประมวลกฎหมายที่ดิน ๒๔๙๗ ถูกยกเลิกไปเมื่อ ๒๕๐๒ , ๒๕๑๑ , ๒๕๑๗ , ๒๕๑๘ , ๒๕๒๔ .. 

กับข่าว เรื่องโฉนดที่ดินชุมชนที่นายกจะมอบให้กับชาวบ้าน เหมือนเป็นข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้ดีได้หน้า ทั้งที่สภาพปัญหาของที่ดินจริงๆที่ประชาชนคนไทยประสบอยู่รัฐบาลจะแก้ได้หมด หรือไม่..

- เกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน ๘๘๙,๐๒๒ ราย

- เกษตรกรมีที่ทำกินแต่ไม่เพียงพอ ๕๑๗,๒๖๓ ราย

- มีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ ๘๑๑,๒๗๙ ราย

- ทำกินในที่ดินของรัฐ ๑.๑๕ ล้านราย ในพื้นที่ ๒๑ ล้านไร่

- ที่ดินทิ้งร้าง ๔๘ ล้านไร่ (ข้อมูลปี ๒๕๔๓)

- ที่ดินเกษตรกรติดอยู่กับธนาคาเป็น  NPL,NPA เกือบ ๔๐ ล้านไร่

- เกษตรกรพิพาทที่ดินกับรัฐถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังอยู่ในคุกแล้ว ๘๓๖ ราย

 

และ ทราบไหมว่า ยุครัฐบาลนายกต้มยำกุ้ง กับหนี้ IMF ทำให้ที่ดินไทยของเราตกอยู่ในมือนายทุนต่างชาติอย่างมหาศาล

 

การ ถือครองจึงมีทั้งถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย โดยถือครอง สปก.นั้นผิดกฎหมายจำนวนมาก ทางคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินได้เสนอข้อเสนอไปยังรัฐบาล..คือ

๑.ให้ ระงับการจับกุมดำเนินคดีประชาชนผู้ยากไร้ที่ใช้ชีวิตและทำกินอยู่ในเขตป่า และที่ดินของรัฐจนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินตามนโยบายของรัฐ สำเร็จลุลวงเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย นอกจากนี้ขอให้จำหน่ายคดีชั่วคราว สำหรับกรณีที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยอนุญาตให้เกษตรกรผู้ต้องหาและครอบครัวอยู่อาศัยทำกินในที่ดินเดิมได้ ส่วนคดีที่ดินศาลพืพากษาถึงที่สุดแล้ว ขอให้มีการพักโทษ ลดโทษ และคุมประพฤติแทนการจำคุก

๒. ให้เปิดเผยข้อมูลการถือครองที่ดิน โดยจัดระบบข้อมูลที่ดินเพื่อการเกษตรทั้งประเทศให้เป็นข้อมูลสาธาณะ เพื่อใช้ในการวางแผนกระจายการถือครองที่ดิน การตรวจสอบการถือครองและใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรให้เหมาะสม

๓. ให้กำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรขึ้นใหม่ โดยอาศัยฐานข้อมูลที่ดินและการมีส่วนรวมของชุมชน ทั้งนี้เริ่มจากแผนที่ดินเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชน โดยแบ่งพื้นที่หลักออกเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร พื้นที่เมือง พื้นที่เพื่อการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และที่สาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันให้ชัดเจน แล้วจึงบูรณาการแผนระดับชุมชนเป็นแผนระดับจังหวัดและแผนระดับชาติให้แล้ว เสร็จภายใน ๑ ปี

๔. จำกัดขนาดการถือครองที่ดินไว้ที่ครัวเรือนละไม่เกิน ๕๐ ไร่ เพื่อให้ที่ดินได้กระจายไปยังเกษตรกรรายย่อยผู้ทำการเกษตรด้วยตนเองได้อย่าง ทั่วถึง นอกจากนี้ยังเห็นควรให้ออกกฎหมายคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อช่วยหยุด ยั้งการกว้านซื้อที่ดินเพื่อซื้อขายเก็งกำไรรายใหม่ๆ ทำให้ราคาที่ดินลดลง และเป๋นการคุ้มครองที่ดินเพื่อการเกษตรไม่ให้นำไปใช้ผิดประเภท..อนึ่ง ผู้ที่มีสิทธิ์ที่ดินเพื่อการเกษตรจะต้องเป็นผู้ทำการเกษตรด้วยตนเองเท่า นั้น ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเช่า หรือปล่อนทิ้งร้าง หรือกระทำการเป็นการอำพรางโดยไม่มีเจตนาทำการเกษตรจริง

๕. กำหนดมาตราการทางภาษีเพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินที่ถือครองเกินขนาดจำกัดในอัตรา ก้าวหน้า ที่ดินขนาดต่ำกว่า ๑๐ ไร่ ที่เป็นขนาดที่จำเป็นต่อการทำกินยังชีพ  ให้เสียภาษีในอัตราต่ำร้อยล่ะ ๐.๐๓ ที่ดิน ๑๐-๕๐ ไร่ เสียภาษีอัตราปานกลาง ร้อยล่ะ ๐.๑ สำหรับที่ดินปล่อยทิ้งร้างหรือส่วนที่เกินจาก ๕๐ ไร่ ให้เสียภาษีอัตราก้าวหน้าสูงร้อยล่ะ ๕

๖. ให้รัฐจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตรเพื่อนำเงินไปซื้อที่ดินที่ ถือครองเกินขนาดจำกัดรวมทั้งจัดซื้อที่ดินที่เป็นทรัพย์ประกันหนี้เสียของ ธนาคารและสถาบันการเงินมาบริหารให้กระจายไปยังเกษตรกรที่ไร้ที่ดินและที่มี ที่ดินไม่พอทำกิน ทั้งนี้กองทุนธนาคารที่ดินควรมีโครงสร้างการบริหารแบบกระจายอำนาจในระดดับ ตำบล ระดับจังหวัด และระดัลชาติ เพื่อกระจายภารกิจความรับผิดชอบไปยังชุมชนและท้องถิ่นทุกระดับ

 

เรียก ว่า..คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน และภาคประชาชน เราอาจจะไม่ง่ายเลย ในการขับเคลื่อนให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาให้ประชาชนเจ้าของประเทศมีที่ดินทำกิน กันอย่างยั่งยืน พอเพียง

 

เพราะฉะนั้น..การออกมาใช้สิทธิ เสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญต้องเข้มแข็ง มวลชนทั้งประเทศต้องออกมาร่วมกันขับเคลื่อนเราจึงจะไปสู่เป้าหมายโฉนดที่ดิน ประชาชน ชุมชน ทั้งประเทศได้..ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ข่าว
หมายเลขบันทึก: 432220เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2011 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท