ทราบหรือไม่ จังหวัดใดในประเทศไทย มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด


การฆ่าตัวตาย (อังกฤษ: Suicide) คือการกระทำที่ทำให้ตนเองเสียชีวิตโดยเจตนา
สำหรับมนุษย์อาจเกิดมาจากภาวะความเสียใจอย่างมาก เช่น สูญเสียคนรัก
หรือภาวะความเครียดที่ไม่สามารถหาทางออกได้ จึงคิดสั้นโดยการฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา
การฆ่าตัวตายของมนุษย์ถือเป็นปัญหาสังคม

คุณรู้ไหมว่าทำไม คนเราถึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย

- มองไปทางไหนก็เห็นแต่ปัญหา ไม่เห็นทางออก เจอแต่ทางตัน
- ซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก หดหู่ ท้อแท้
- ป่วยเป็นโรคจิต หลงผิดคิดว่ามีคนสั่งให้ไปตาย หรือระแวงว่าจะมีคนมาฆ่า ก็เลยอยากตายไปให้พ้น
- ติดเหล้า ติดยา ไม่ได้เสพก็ทรมาน พอเสพจนเมาก็ขาดสติ ไม่มีใครอยากเหลียวแล
- มีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยทางกาย จนไม่สามารถทนได้ จึงฆ่าตัวตายเพื่อให้พ้นทุกข์
...

เรามาดูว่า พื้นที่ไหน ในประเทศไทย มีอัตราการฆ่าตัวตายสุงสุด



...
ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลปี 2552 วิธีการดูแผนที่ ให้ดูตามโทนสี
พื้นที่ที่มี Tone scale เข้มขึ้นมาทางสีฟ้า - น้ำเงิน
นั่นคือพื้นที่ที่มีสถิติการเสียชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
ยิ่งพื้นที่ไหนมีสีฟ้าหรือน้ำเงินเข้มมาก พื้นที่นั้นยิ่งมีสถิติการเสียชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก

ส่วนในพื้นที่ที่มี Tone scale เข้มขึ้นมาทางสีเหลือส้ม - เลือดหมู
นั่นคือพื้นที่ที่มีสถิติการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
ยิ่งพื้นที่ไหนมีสีเหลือส้มหรือสีเลือดหมูเข้มมาก พื้นที่นั้นยิ่งมีสถิติการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก
...
SMR หรือ standard mortality ratio คือ การเปรียบเทียบอัตราตายจากโรคนั้นๆ ในจังหวัด
คำนวณจาก จำนวนตายที่เป็นจริงของพื้นที่ หารด้วยจำนวนตายที่ควรจะเป็นของพื้นที่
ถ้าพื้นที่นั้นมีการตายมากกว่าที่ควรจะเป็นค่า SMR จะมากกว่า 1 และยิ่งมากกว่า 1 เท่าใด
แปลว่ามีการตายมากขึ้นเท่านั้น ถ้าพื้นที่นั้นมีการตายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ค่า SMR จะต่ำกว่า 1 และยิ่งต่ำกว่า 1 แสดงว่ายิ่งมีการตายที่ลดลงเพิ่มมากขึ้น
ถ้า SMR < 1 : จำนวนตายในพื้นที่ต่ำกว่าประชาชนทั่วไป,
SMR = 1 : จำนวนตายในพื้นที่เท่ากับประชาชนทั่วไป,
SMR > 1 : จำนวนตายในพื้นที่สูงกว่าประชาชนทั่วไป
โดยสรุป ถ้า SMR อยู่ในโทนสีฟ้า อัตราตายของคนในจังหวัดนั้นต่ำกว่าประชากรมาตรฐาน
แสดงว่าสถานะสุขภาพของคนในจังหวัดนั้นดีกว่าประชากรโดยรวม
และถ้า SMR อยู่ในโทนสีเหลืองแดง แสดงว่าสถานะสุขภาพของคนในจังหวัดนั้นแย่กว่าประชากรโดยรวม

ลักษณะบุคคลที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หากพบว่าใครมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในข้อต่อไปนี้ ให้ระวังว่าอาจจะมีความเสียงต่อการฆ่าตัวตาย

- พูดถึงความตายหรือการฆ่าตัวตาย หรือบ่นว่าอยากตาย ไม่อยากเป็นภาระใคร 
  รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ไม่รู้จะอยู่เพื่อใคร

- พูดหรือเขียนสั่งเสีย

- เคยพยายามฆ่าตัวตาย

- นิสัยเปลี่ยนเป็นหงอยเหงา เศร้าซึม แยกตัวเอง หมดอาลัยตายอยาก ร้องไห้บ่อยๆ
  โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความรู้สึกผิด และดูถูกตนเอง

- ป่วยเป็นโรคจิต เช่น มีอาการหูแว่วว่ามีคนมาสั่งให้ไปตาย หลงผิดคิดว่าจะมีคนมาฆ่า
  จึงอยากตายให้พ้นๆ มีความคิดแปลกๆ ว่าถ้าตายแล้วจะช่วยไม่ให้โลกแตก เป็นต้น

- ติดสุราหรือยาเสพติด จนเลิกไม่ได้ ครอบครัวและชุมชนไม่ยอมรับ

- มีความทุกข์ทรมานจากโรคประจำตัวร้ายแรง โรคเรื้อรัง และรักษาไม่หาย เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง

- มีความพิการจากการสูญเสียอวัยวะสำคัญ จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเสียความสวยงาม

- สูญเสียบุคคลหรือของรักที่มีความสำคัญต่อชีวิต การตายจาก
   หรือแยกจากในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน

- ถูกเร่งรัดหนี้สินจนหาทางออกไม่ได้ สินเนื้อประดาตัว หมดทางทำมาหากิน

- เกิดการโต้เถียง ทะเลาะวิวาทรุนแรงบ่อยๆ ระหว่างคนในครอบครัว หรือเพื่อนฝูง
...

...
เราจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าตัวตายได้อย่างไร
- สังเกตว่ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้วหรือไม่ 
  ถ้ามีให้เฝ้าระวังว่ามีโอกาสกระทำได้จริง ควรเข้าไปพูดคุยซักถามด้วนความเอาใจใส่
  พร้อจะช่วยเหลือ

- ลองถามไถ่ว่ามีการเตรียมวิธีที่จะทำร้ายตัวเองหรือไม่อย่างไร 
  ถ้าผู้ช่วยเหลืออยู่ในฐานะเพื่อนบ้านหรือมิใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติ
  หรือคนในครอบครัวให้คอยระวังอย่างใกล้ชิด ให้อยู่ในสายตาและให้อยู่ห่างจากอุปกรณ์ 
  ที่เขาเตรียมไว้เพื่อทำร้ายตัวเอง

- พูดคุยให้คำปรึกษา ปลอบใจ ให้เขามีสติ ค่อยๆคิดหาทางแก้ไขปัญหา 
  อาจจะแนะนำให้เขาปรึกษา คนที่เขาไว้วางใจ และนับถือ เช่น ญาติ พระ ครู กำนัน
  ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
- กระตุ้นให้ญาติให้กำลังใจ ไม่ตำหนิ หรือลดการทะเลาะเบาะแว้งลง
- ติดต่อหาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่ เท่าที่จะทำได้ เช่น แหล่งฝึกอาชีพ
  แหล่งฟื้นฟูสมรรถภาพ แหล่งช่วยเหลือเรื่องการเงิน เช่น กรมประชาสงเคราะห์ เป็นต้น

- กระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหา และให้ความสนใจดูแล
  และเฝ้าระวังซึ่งกันและกัน ไม่ปล่อยปละละเลย

- ให้ความรู้เรื่องผลระยะยาวของสุขภาพที่เกิดจากการใช้ยา หรืออุปกรณ์ในการฆ่าตัวตาย
  แต่ไม่สำเร็จ เช่น สมองเสื่อมจากการผูกคอตาย หรือเกิดความพิการทางกายอื่นๆ

อย่าพูดซ้ำเติมคนคิดฆ่าตัวตาย เพราะจะกลายเป็นการผลักดันให้ลงมือทำซ้ำอีก
การปลอบใจและให้กำลังใจที่ดีที่สุด คือการรับฟังอย่างเข้าใจ
และใส่ใจความรู้สึกของผู้ประสบปัญหาและเห็นอกเห็นใจด้วยความจริงใจ ..
หวังให้ พรุ่งนี้ ไม่มีการฆ่าตัวตายนะครับ

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2
http://www.dhammajak.net/dhamma/62.html

หมายเลขบันทึก: 432091เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-ทำไมภาคใต้จึงมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าภาคอื่นคะ 

-แล้วทำไมสถานะทางสุขภาพของคนภาคใต้จึงแย่กว่าคนไทยภาคอื่นๆ 

-รัฐบาลไทยได้ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่คนภาคใต้เท่าเทียมมกับคนไทยภาคอื่นๆในประเทศไทยหรือเปล่า เช่นการมีโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ 

เนื่องจากรูปภาพแผนที่ที่ลงไปครั้งแรกเกิดความผิดพลาด และตอนนี้ได้แก้ไขแล้วคะ ดังนั้นจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนจึงเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนตายจากการฆ่าตัวตายสูงกว่าค่าคาดประมาณของทั้งประเทศ ส่วนสาเหตุที่ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีการฆ่าตัวตายสูงคงจะตอบไม่ได้ ต้องการศึกษาเพิ่มเติมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท