HR_MHK
นาง วรรณวิมล ดั่นประดิษฐ์

รายงานสรุปผลการประชุม


ผลการประชุม

รายงานการประชุม

 ชี้แจงเพื่อให้ความรู้ด้านคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) 

วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔  เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น.  

ณ ห้องประชุม ๔๐๖ ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม

                             ----------------------------------------------------- 

ผู้มาประชุม 

๑. นายวินัย  ตรงจิตพิทักษ์      

หัวหน้าสำนักงานจังหวัดมหาสารคาม 

สำนักงานจังหวัด 

๒. นางวรรณวิมล   ดั่นประดิษฐ์  

หัวหน้ากลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล

สำนักงานจังหวัด

๓. นางจันทร์เพ็ญ  ศักดิวงษ์

หัวหน้ากลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศฯ

สำนักงานจังหวัด

๔. นายวชิระ  สิทธิหาโคตร

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

สำนักงานจังหวัด

๕. นายชูชัย  โง้วศิลปศาสตร์

หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ

สำนักงานจังหวัด

๖. นางชฏาพร  รักษาเคน

นักวิชาการตรวจสอบภายในชำนาญการ

สำนักงานจังหวัด

๗. นางวนิดา  บุญเลิศ

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

สำนักงานจังหวัด

๘. นายศุภชัย  ละครไชย

เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

สำนักงานจังหวัด

๙. นางสาวนุชนาท  เศรษฐวิภักดิ์

พนักงานวิเคราะห์งานบุคคล

สำนักงานจังหวัด

๑๐. นางสาวดลนภา  เรืองสมบัติ

พนักงานวิเคราะห์งานบุคคล

สำนักงานจังหวัด

๑๑. นางสาววันวิสาข์  สุเสนา

เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

สำนักงานจังหวัด

๑๒. นางพิมพ์ชนก พันธ์หนองหว้า

เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน

สนง.ขนส่งจังหวัด

๑๓. นายนิยม  ศรียศ

นักวิชาการที่ดินชำนาญการ

สนง.ที่ดินจังหวัด

๑๔. นายอดุลเดช  สาพิมาน

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

สนง.ที่ดินจังหวัด

๑๕. นายราวิน  ดวงกางใต้

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด

๑๖. นางสาวอัชนีญา  ไหมหรือ

นักวิชาการแรงงานปฏิบัติงาน

สนง.แรงงานจังหวัด

๑๗. นายวงศ์วิวรรธ  ธนูศิลป์

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ

สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

๑๘. นางจิตติมา  ศิริเมืองราช

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

๑๙. นายพินิจ  ตั้งใจ

คลังจังหวัด

สนง.คลังจังหวัด

๒๐. นายรักสัจ  ศุขเกษม

นักวิชาการประมงชำนาญการ

สนง.ประมงจังหวัด

๒๑. นายสริด  รามนุรัตน์

นักวิชาการแรงงานชำนาญการ

สนง.จัดหางานจังหวัด

๒๒. นางจักราวรรณ  ไทยสงคราม

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

สนง.จัดหางานจังหวัด

๒๓. นางสาวเกษรา  ศรีคำบ่อ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

สนง.คุ้มประพฤติจังหวัด

๒๔. นายธีรพัชร์  วงศ์วรนิตย์

นักวิชาการศาสนาชำนาญการ

สนง.พระพุทธศาสนาจังหวัด

๒๕. นางนรมน  ครองสุขศิริชัย

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

สนง.โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด

๒๖. นางสาวสุดสาคร  เย็นสวัสดิ์

นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ

สนง.พาณิชย์จังหวัด

๒๗. นางกานต์พิชชา  ทวีอินทร์

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด

๒๘. นายศรีเกษม  ชื่นสกุลไชย

วัฒนธรรมจังหวัด

สนง.วัฒนธรรมจังหวัด

๒๙. นางทองสุข  น้อยหว้า

นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

สนง.วัฒนธรรมจังหวัด

๓๐. นายพงษ์สันต์  ขันโยธา

นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

สนง.วัฒนธรรมจังหวัด

๓๑. นางยุภาพร  มูลอัต

นักวิชาการสถิติชำนาญการ

สนง.สถิติจังหวัด

๓๒. นางวิไลจิตร  นำพูลสุขสันต์

นสถ.ปฏิบัติการ

สนง.ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

๓๓. นางสาวสุพัตรา ชาติชนบท

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

สนง.บังคับคดีจังหวัด

๓๔. นายเวฬุวัน  จันทศิลป์

นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ

สนง.สหกรณ์จังหวัด

๓๕. นางภัลนาวา  สิทธิจันทร์

นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ

สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัด

๓๖. นายศุภเศรษฐ์  แสนเสริจ

นิติกรชำนาญการ

สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัด

๓๗. นางสาวกุณฑล  แพนพา

นักวิชาการเงินและบัญชี ชำนาญการ

สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัด

๓๘. นายไพโรจน์  เกยจอหอ

นายช่างสำรวจชำนาญงาน

สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัด

๓๙. นางรัศมี  บรรณกิจ

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัด

๔๐. นายณัฐพล  จันทรคติ

นักวิชาการพัฒนาสังคมชำนาญการ

สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัด

๔๑. นางอรวรรณ  นุตะดี

เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ

ที่ทำการปกครองจังหวัด

๔๒. นายสมชาย  สร้อยจุฑา

นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ

สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัด

๔๓. นายคฑาวุธ  มูลสมบัติ

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

สนง.ป้องกันและบรรเทา

๔๔. นางสาวนุชลี  ดางเทียอ้ม

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด

๔๕. นางสาวจริยา  จันทร์เฉลิม

สถิติจังหวัดมหาสารคาม

สำนักงานสถิติจังหวัด

๔๖. นายปรีชา  เชาว์ตระกูล

เกษตรจังหวัดมหาสารคาม

สนง.เกษตรจังหวัด

๔๗. นายณรงค์  กาจณา

หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต

สนง.เกษตรจังหวัด

๔๘. นายบุญมี  แท่นงาม

หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต

สนง.เกษตรจังหวัด

๔๙. นายสุวิทย์  เศษโถ

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

สนง.เกษตรจังหวัด

๕๐. นายคึกฤทธิ์ เรกะลาภ

เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ

ที่ทำการปกครองจังหวัด

๕๑. นางพรสวรรค์  พิมพา

นักวิชาการคลังชำนาญการ

สนง.คลังจังหวัด

๕๒. ว่าที่ ร.ต. พิสุทธิ์  ขอดี

เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

ศตส.จังหวัดมหาสารคาม

๕๓. นายสุชาติ  ต่ายทรัพย์

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด

๕๔. นางสาวเนาวรัตน์

นักวิชาการแรงงานชำนาญการ

สนง.แรงงานจังหวัด

๕๕. นางสาวชุพธิดา  จีระผจญ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง

๕๖. นางวิภาพร  บุญหล้า

เจ้าหน้าที่ธุรการ

เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม

ผู้ไม่มาประชุม  (ติดราชการ)

๑. นายสุทธินันท์  บุญมี

รองผู้ว่าราชการจังหวัด

จังหวัดมหาสารคาม

๒. นางพรพรรณ  โสเจยยะ

หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน

สำนักงานจังหวัด

๓. นางสาวแสงจันทร์  วัฒนวานิชย์กุล

เจ้าพนักงานที่ดิน

สนง.ที่ดินจังหวัด

๔. นายปรีชา  ยามา

ประมงจังหวัด

สนง.ประมงจังหวัด

๕. นายวิริทธิ์พล  สันติศราวุฒิ

พาณิชย์จังหวัด

สนง.พาณิชย์จังหวัด

๖. นางวนิชา  ตั้งใจ

นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ

สนง.วัฒนธรรมจังหวัด

๗. นายราวิน  ดวงกางใต้

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด

๘. นายชาญชิต  เจือสุวรรณ์

นักจัดการงานทั่วไป

สนง.ปศุสัตว์จังหวัด

๙. นายชัยสิทธิ์  บุญศิริโรจน์

สัตวแพทย์ชำนาญงาน

สนง.ปศุสัตว์จังหวัด

๑๐. นายศิริพันธ์  ศรีกงพลี

นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชำนาญการพิเศษ

สนง.ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

๑๑. นายวิรัช  กุลเพชรประสิทธิ์

ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดี

สนง.บังคับคดีจังหวัด

๑๒. นางสาวเนาวรัตน์  โอนนอก

นักวิชาการแรงงานชำนาญการ

สนง.ประกันสังคมจังหวัด

๑๓. นายเสรี  ถวิลอนุสรณ์

ปฏิรูปที่ดินจังหวัด

สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัด

๑๔. นางสาวพิสมัย  จำปามูล

นักพัฒนาสังคม

สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัด

๑๕. นางสาวขวัญสุดา  โยวะผุย

เจ้าหน้าที่ปกครอง

ที่ทำการปกครองจังหวัด

๑๖. นายชัยยงค์  กบิลพัฒน์

อุตสาหกรรมจังหวัด

สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด

๑๗. นายชัชวิทย์  ภัทรสุเมธี

หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน

สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัด

๑๘. นางสาวสุพิชา  สอนบุญลา

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัด

๑๙. นางพจนีย์  เรืองมนตรี

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ

สนง.สาธารณสุขจังหวัด

๒๐. นายสงัด  เชื้อลิ้นฟ้า

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

สนง.สาธารณสุขจังหวัด

๒๑. นางสาวรัชนีวิภา  จิตรากุล

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

สนง.สาธารณสุขจังหวัด

 

เริ่มประชุมเวลา  ๑๐.๐๐ น.    :  นายวินัย  ตรงจิตพิทักษ์   หัวหน้าสำนักงานจังหวัดมหาสารคาม      

ประธานที่ประชุม  ได้กล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ  สรุปได้ดังนี้  

ระเบียบวาระที่  ๑         เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 

 

ประธาน

 

ตามที่  จังหวัดมหาสารคามได้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๔  มิติที่  ๔ ตัวชี้วัดที่  ๑๑  ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  (PMQA)  น้ำหนักร้อยละ  ๒๐  โดยสำนักงานจังหวัดมหาสารคามเป็นเจ้าภาพดำเนินการ

 

การดำเนินการตามตัวชี้วัด  PMQA  ในปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๒  และ  พ.ศ. ๒๕๕๓  ที่ผ่านมาจังหวัดมหาสารคามได้นำเนินการยกระดับการบริหารจัดการตามเกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน  (Fundamental  Level : FL)  จำนวน  ๔  หมวด  ได้แก่  หมวด ๑ , หมวด ๒ , หมวด ๓  และหมวด ๔  สำหรับในปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๔  สำนักงาน ก.พ.ร.  ยังคงมุ่งเน้นเพื่อผลักดันให้จังหวัดปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง  โดยจะวัดความสำเร็จจากการดำเนินการตามเกณฑ์  (FL)  ในหมวดที่เหลือจำนวน  ๒  หมวด  ได้แก่  หมวด ๕ และหมวด ๖  รวมทั้งให้ความสำคัญกับการ “รักษา”  ระบบการบริหารจัดการที่ดีที่จังหวัดได้ดำเนินการมาแล้ว  ในปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๓  ซึ่งขอบเขตการดำเนินงาน  PMQA  ในระดับจังหวัดนี้จะดำเนินการเป็นภาพรวมของจังหวัดครอบคลุมทุกส่วนราชการที่เป็นส่วนภูมิภาคทุกส่วนราชการ  และครอบคลุมไปถึงหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดของส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นด้วย

มติที่ประชุม               รับทราบ

ระเบียบวาระที่  ๒        เรื่องเพื่อทราบ

 

อ.ลินไสว พนาสุวรรณ

 

๒.๑  ในการดำเนินการตามตัวชี้วัดดังกล่าวข้างต้น  ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม  ได้อนุมัติโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ในวงเงินงบประมาณ  ๑,๐๐๐,๐๐๐  บาท  โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาตามโครงการดังกล่าว  ซึ่งในโครงการได้กำหนดดำเนินการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  (PMQA)  โดยมีวัตถุประสงค์  ดังนี้

 

๑.  เพื่อให้จังหวัดจัดทำเอกสารหลักฐานสำคัญประกอบการดำเนินงานตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐได้อย่างถูกต้อง

๒.  ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการตามแผนพัฒนาองค์การประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ (หมวด ๕ และหมวด ๖) และผลลัพธ์ในหมวด ๗

๓.  มีความพร้อมในการรับการตรวจจับรองการผ่านเกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน  (Certify  FL)

ทั้งนี้  การจัดกิจกรรมติดตามและเตรียมความพร้อมฯ  ดังกล่าว  จะประกอบ

ด้วยกิจกรรมย่อยๆ  ดังนี้

๑.  จัดประชุมชี้แจงเพื่อให้ความรู้ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ

ภาครัฐตามกรอบแนวคิดของ  ก.พ.ร.  ให้แก่บุคลากรของจังหวัด

๒.  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  (Workshop)  แก่คณะทำงานของจังหวัดในการดำเนินการตามเกณฑ์การพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ

๓.  ให้คำปรึกษาและตรวจแก้ไขรายงานตามที่จังหวัดได้จัดทำตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

สำหรับวันนี้ จะเป็นการจัดกิจกรรมจัดประชุมชี้แจงเพื่อให้ความรู้ด้านคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามกรอบแนวคิดของ ก.พ.ร. ให้แก่บุคลากรของจังหวัดซึ่งจังหวัดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากการจัดกิจกรรมในวันนี้แล้ว  เจ้าหน้าที่ทุกท่านจะได้ทราบแนวทางที่จะดำเนินการในแต่ละประเด็นที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและมีเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถตอบโจทย์ของสำนักงาน  ก.พ.ร. ได้อย่างถูกต้อง สำหรับในรายละเอียดจะได้ขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินการ ต่อไป

๒.๒  การชี้แจงเกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔  โดยอาจารย์ลินไสว  พนาสุวรรณ  อาจารย์ประจำโครงการพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

-  ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ สำนักงาน ก.พ.ร. ยังคงมุ่งเน้นเพื่อผลักดันให้จังหวัดปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง โดยวัดความสำเร็จของการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานในหมวดที่เหลือจำนวน ๒ หมวด ได้แก่ หมวด ๕ และหมวด ๖ รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับการ “รักษา” ระบบการบริหารจัดการที่ดีที่จังหวัดได้ดำเนินการมาแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ และ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level: PL) ที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ต่อไป

 - สาระสำคัญของแนวทางดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ และ พ.ศ. ๒๕๕๓ มีความแตกต่างเพียง ๓ ประการ ดังนี้

(๑) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานทั้ง ๗ หมวด

(๒) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ของหมวด ๗ เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้ง ๖ หมวด ซึ่งจังหวัดจะเลือกจากตัวชี้วัดแนะนำมาหมวดละ ๑ ตัวชี้วัด

มติที่ประชุม               รับทราบ

ระเบียบวาระที่  ๓        เรื่องเพื่อพิจารณา 

 

อ.ลินไสว พนาสุวรรณ

 

                             ๓.๑  การเลือกตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินการ  หมวด ๑ – ๖ ดังนี้

 

                             หมวด ๑ การนำองค์การ ประกอบด้วย

RM ๑.๑

ร้อยละของบุคลากรที่เข้าใจทิศทางขององค์การ

 

RM ๑.๒

ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการนำองค์การของผู้บริหาร

 

RM ๑.๓

ร้อยละความสำเร็จเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของตัวชี้วัดที่สำคัญที่ผู้บริหารใช้ในการติดตามการบริหารงาน

RM ๑.๔

ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความสำเร็จของผลสัมฤทธิ์ของมาตรการ/โครงการ           ตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (อย่างน้อยด้านละ ๑ มาตรการ/  โครงการ)

RM ๑.๕

ระดับความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาลของผู้รับบริการต่อองค์การ (ค่าเฉลี่ย)

 

หมวด ๒ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

RM ๒.๑

ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัด

RM ๒.๒

ร้อยละของบุคลากรที่เข้าใจแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่ระดับความเข้าใจ             ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

RM ๒.๓

ร้อยละของตัวชี้วัดระดับบุคคลที่สอดคล้องตามเป้าหมายของจังหวัด

RM ๒.๔

ร้อยละความสำเร็จเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของส่วนราชการประจำจังหวัดที่           ปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่จังหวัดกำหนด

RM ๒.๕

ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความสำเร็จของเป้าหมายของโครงการตามแผน         บริหารความเสี่ยง

 

หมวด ๓ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย

RM ๓.๑

ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ

RM ๓.๒

ร้อยละความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ

RM ๓.๓

ร้อยละความพึงพอใจของเครือข่ายที่มีต่อกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์

RM ๓.๔

ร้อยละความสำเร็จของผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ/โครงการ ที่เปิดโอกาส              ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ

RM ๓.๕

ร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินการตามมาตรฐานคู่มือการให้บริการ

 

หมวด ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ประกอบด้วย

RM ๔.๑

ร้อยละของความครอบคลุมถูกต้อง และทันสมัยของฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์อย่างน้อย ๑ ประเด็นยุทธศาสตร์

RM ๔.๒

ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าถึงหรือเข้ามาใช้ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง         เว็บไซต์ของจังหวัด

RM ๔.๓

ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

RM ๔.๔

ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัด

RM ๔.๕

ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความสำเร็จจากผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้อย่างน้อย ๓ องค์ความรู้

 

 

 

หมวด ๕ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย

RM ๕.๑

ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อองค์กร

RM ๕.๒

ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร

RM ๕.๓

ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน

RM ๕.๔

ร้อยละของหลักสูตรการอบรมที่ผ่านเกณฑ์ตามหลักประกันคุณภาพ

การฝึกอบรม

RM ๕.๕

ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านระดับของขีดสมรรถนะที่จังหวัดกำหนด

(Competency Level)

 

หมวด ๖ การจัดการกระบวนการ ประกอบด้วย

RM ๖.๑

ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อขั้นตอนการปฏิบัติงาน

RM ๖.๒

ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อระบบรองรับภาวะฉุกเฉิน

RM ๖.๓

ร้อยละของกระบวนการสร้างคุณค่าที่มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

(Work Manual)

RM ๖.๔

ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรฐาน

งานของกระบวนการที่สร้างคุณค่า

RM ๖.๕

จำนวนกระบวนการที่ได้รับการปรับปรุงให้ผลการดำเนินงานดีขึ้น

มติที่ประชุม 

                             ที่ประชุมมีมติเลือกตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินการ  หมวด ๑ – ๖ ดังนี้ 

                            

หมวด ๑ เลือกตัวชี้วัด RM ๑.๔

ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความสำเร็จของผลสัมฤทธิ์ของมาตรการ/โครงการ           ตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (อย่างน้อยด้านละ ๑ มาตรการ/  โครงการ)

หมวด ๒ เลือกตัวชี้วัด RM ๒.๔

ร้อยละความสำเร็จเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของส่วนราชการประจำจังหวัดที่           ปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่จังหวัดกำหนด

หมวด ๓ เลือกตัวชี้วัด RM ๓.๑

ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ

หมวด ๔ เลือกตัวชี้วัด RM ๔.๔

ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัด

หมวด ๕ เลือกตัวชี้วัด RM ๕.๕

ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านระดับของขีดสมรรถนะที่จังหวัดกำหนด

(Competency Level)

หมวด ๖ เลือกตัวชี้วัด RM ๖.๑

ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ระเบียบวาระที่  ๔        เรื่องอื่นๆ  (ไม่มี) 

เลิกประชุมเวลา  ๑๖.๓๐  น. 

หมายเลขบันทึก: 432037เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท