คำแนะนำการดูดน้ำมูกและเสมหะด้วยลูกยางแดง


ด้วยความปรารถนาดีจาก เสริมศรี สันตติ
โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก
หน่วยโรคระบบหายใจเด็ก 
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี


อุปกรณ์

1. ลูกยางแดง เบอร์ 2 สำหรับเด็กเล็ก ลูกยางแดง เบอร์ 4 สำหรับเด็กโต
2. ผ้าห่อตัว
3. กระดาษทิชชูหรือภาชนะ เพื่อใช้รองน้ำมูกและเสมหะที่จะบีบทิ้งจากลูกยางแดง

วิธีการ

1. ใช้ผ้าห่อตัวเด็กให้แน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเอามือปัดและดิ้นไปมา เมื่อเด็กอยู่นิ่ง ๆ ผู้ดูดเสมหะจะได้ ดูดเสมหะได้ด้วยความนุ่มนวล

2. ใช้มือข้างที่ถนัดจับลูกยางแดงและบีบลมออกให้แฟบ เตรียมพร้อมที่ จะดูด ขณะที่มืออีกข้างจับหน้าเด็กให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. สอดปลายลูกยางแดงเข้าใน รูจมูกทีละข้าง โดยให้สอดเข้าไปตื้น ๆ พร้อมกับปล่อยมือช้า ๆ น้ำมูกจะถูกดูดเข้ามาในลูกยางแดง

4. บีบน้ำมูกที่ดูดมาได้ทิ้งในทิชชู หรือภาชนะที่เตรียมไว้ 
5. ทำซ้ำแบบเดิม และดูดน้ำมูกออกจนหมดในจมูกแต่ละข้าง
6. หากเด็กมีเสมหะในปอดค่อย ๆ สอดปลายลูกยางแดงเข้าไปในปากจนกระทั่งถึงโคนลิ้น จึงจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กไอ

7. ขณะเด็กไอจะมีเสมหะขึ้นมาในคอ ปล่อยลูกยางแดงให้ดูดเสมหะเข้ามาช้า ๆ 
8. บีบเสมหะทิ้งในกระดาษทิชชูหรือภาชนะที่รองรับและดูดเสมหะซ้ำอีกจนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงเสมหะครืดคราดในลำคอ

หมายเหตุ : 

     การจับให้เด็กหันหน้าไปด้านใด ด้านหนึ่ง เป็นการป้องกันไม่ให้เด็กสำลักเอาน้ำลายหรืออาหารเข้าปอด หากขณะดูดน้ำมูกหรือเสมหะแล้วเด็กอาเจียนออกมาพร้อม ๆ กัน 

การล้างทำความสะอาด : 

     หลังดูดเสมหะทุกครั้ง นำลูกยางแดงไปล้างน้ำสบู่ และบีบล้างในน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ควรนำไปต้มในน้ำเดือดนานประมาณ 5 นาที วันละ 1 ครั้ง

 

ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_may22052007.php

หมายเลขบันทึก: 431626เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2011 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท