รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

เก็บความคิดเห็นเป็นบันทึก : สืบเนื่องจาก "ทุกข์"


ความคิดเห็นของพระคุณเจ้าIco48พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ ทิวาพัฒน์จากบันทึก บันทึกเพื่อเรียนรู้ : ทุกข์ ใน ใต้ร่มกาสาวพัตร์ :อิงจันทร์

                                  *************************

      ที่ว่าเกิดเป็นทุกข์ มีบาลีว่า ชาติปิ ทุกฺขา แม้ความเกิดเป็นทุกข์ ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์  ที่ว่าเป็นทุกข์ก็เพราะความเกิด เป็นเหตุนำมาชซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เศร้าโศก เสียใจก็ไม่มี 

     แต่ความทุกข์นี่ก็ให้ข้อคิดให้บทเรียนเช่นกัน ความเป็นทุกข์สอนให้คนเราได้คิด ได้เพียรพยายาม ได้ต่อสู้ดิ้นรน ได้หาหนทางเพื่อที่จะพ้นไปจากความทุกข์ ชีวิตจริงๆ ของคนเรามีความทุกข์เป็นพื้น ที่ปรากฏว่าเป็นสุขก็เพราะทุกข์ลดลง (เรื่องนี้มีบาลีรับรองอยู่)ทุกข์ลดลงมากเท่าใด ความสุขก็ปรากฏมากขึ้นเท่านั้น เหมือนทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าความเย็นไม่มี ที่ปรากฏว่าเย็น ก็เพราะความร้อนลดลง ลดลงมากเท่าใดความเย็นก็มากขึ้นเท่านั้น

    พูดถึงความสุขเมื่อคนเราได้ประสบ บางคนก็ประมาทมัวเมา หลงลืมตน จนคิดว่าสุขนั้นจะอยู่กับเราไปตลอด ไม่ได้ทำใจให้รู้เท่าทันมันเลย เมื่อความสุขจืดจางไป ตามกฏธรรมชาติหรือที่เรียกว่าไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน คนนั้นก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะยึดมั่น ถือมั่นด้วยความเป็นผู้ไม่มีสติพิจารณา ทั้งสุขและทุกข์นี้เป็นโลกธรรมที่ทุกคนจะต้องประสบ ท่านว่าให้มีสติรู้เท่าทันทั้งสองอย่าง ม่ดีใจจนเกินไปในเมื่อได้รับสุข ไม่เสียใจจนเกินไม่เมื่อได้รับทุกข์ ควรวางใจเป็นกลางๆ 

     กล่าวถึงความทุกข์ ความทุกข์นี้แลที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  นี่แลเรียกว่าแปรทุกข์ให้เป็นสติปัญญา (ทุกข์ในที่นี้ ถ้าจะมองให้ใกล้ตัวเรา ก็คือตัวปัญหา) พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ให้หลบหลีกความทุกข์ ไม่ได้สอนให้หลบปัญหา แต่ทรงสอนให้กำหนดรู้  กำหนดให้รู้ว่าเป็นของจริงที่จะต้องประสบ (สัจจญาณ) เมื่อกำหนดรู้แล้วก็พยายามสาวหาเหตุ เหตุของทุกข์เหตุแห่งปัญหาเกิดมาจากอะไร เมื่อดับเหตุได้ตัวทุกข์ก็สิ้นไป ปัญหาก็หมดไป

    อริยสัจ แปลได้หลายนัย อริ แปลว่า ข้าศึก,ศัตรู, ย แปลว่า ไป สัจจะ แปลว่าความจริง แปลจากหลังมาหน้า ก็คือความจริงที่ทำให้บุคคลไปจากข้าศึกคือกิเลส   (กิเลส เป็น ข้าศึกต่อจิตใจ) ความจริงของพระอริยะ, คงามจริงที่ทำให้บุคคลเป็นพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ, นี่คือความหมายของคำว่า อริยสัจ

   

         ในอริอัษฎางคิกมรรค,อริมรรค,มรรคมี องค์ ๘,นั้น ท่านเรียงลำดับจากสัมมาทิฏฐิก่อน เมื่อพิจารณาดูจากการเรียงลำดับ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สองอย่างนี้เป็นตัวปัญญา, สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามอย่างนี้เป็นตัวศีล, สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สามอย่างสุดท้ายนี้เป็นตัวสมาธิ, เมื่อพิจารณาตามหลักนี้แล้ว ก็คือ ปัญญา ศีล สมาธิ ที่จริงก็รวมลงในไตรสิกขานั่นแล ในการปฏิบัติ ท่านให้เอาปัญญาขึ้นก่อน คือจะต้องมีความเห็นที่ถูกต้อง ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องแต่เบื้องต้น ก็จะส่งผลให้มีการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามมา ถ้าเบื้องต้นมีความเข้าใจเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ส่งผลให้มีการกระทำที่ผิดๆ หลักธรรมทั้งหลายในพระพุทธศาสนา ก็รวมลงในอริยสัจนี้แล

         เรื่องไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปฏิบัติ เรื่องไตรลักษณ์ หรือสามัญญลักษณะ ก็จะทำให้เรารู้เท่าทันความเป็นไปของโลก อยู่ในโลกได้อย่างมีความสุข

     ขออนุโมทนากับคุณครูด้วยนะที่นำหลักธรรมมาทำเป็นบันทึก ใครผ่านมาผ่านไปได้อ่านได้ศึกษา ที่มาก็เพียงเยี่ยมชมแสดงความเห็นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้กำลังใจคุณครู

     ธรรมะนี่เป็นสิ่งที่มีคุณมีค่าเหลือเกิน สมแล้วที่มีบาลีว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ สิ่งใดๆ เสมอด้วยพระธรรมย่อมไม่มี นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ธมฺโม เม สรณํ วรํ สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

คนเราส่วนนึงเมื่อประสบทุกข์แล้วค่อยนึกถึงธรรม

แต่บางคนก็ประพฤติธรรมมาตลอด

หมายเลขบันทึก: 431065เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2011 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • เห็นภาพหนูน้อยเต้นได้น่ารักมาก ๆ  นึกถึงกัลยาณมิตรก็เลยนำมาฝากกัน ชมเพื่อความเพลิดเพลินค่ะ
  • ด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                   ภาพขนาดย่อ

สวัสดีค่ะน้องนก Ico48

  • ขอบพระคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยาเยียน
  • ขออภัยที่ตอบเม้นท์ช้า
  • น้องนกสบายดีนะคะ คิดถึงเสมอเช่นกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท