รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

บันทึกเพื่อเรียนรู้ : ไตรสิกขา


บันทึกไว้เพื่อเป็นความรู้และแนวทางการปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้รู้ หรืออวดรู้แต่ประการใด

  

ไตรสิกขา  หมายถึงข้อที่พึงศึกษาปฏิบัติ 3 ประการ ที่สอดรับกับ มรรค  ไตรสิกขา ก็คือการสรุป การย่อ หนทาง 8 แนวทางลงมาเพื่อนำไปปฏิบัติ  ได้แก่

       1. ศีล(แปลว่า ปกติ)  ลูก ๆ ต้องเข้าใจว่า คนเราทุกคนเกิดมานั้น มีปกติวิสัยอย่างหยาบในตัวเองกั้นทุกคนคือมีกิเลสในตัวเอง  กิเลสคือ ตัวสำคัญที่ทำให้จิตใจของเราเป็นทุกข็ ดังนั้นเราต้องขจัดกิเลส ขัดเกลาความหยาบในตัวเอง  ด้วยการสงบกาย  สงบวาจา ด้วย ศีล อย่างน้อยก็ถือ  ศีล 5 ถ้าลูก ๆ ทุกคน ปฏิบัติได้ตาม ศีล 5 จิตใจก็จะมีแต่ความสุข

       2. สมาธิ คือการฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิ  ภาวนา  หัดใจไม่ให้คิดถึงความกำหนัดอันได้แก่ รัก  โลภ  โกรธ  หลง และความกลัว  ความฟุ้งซ่าน  ดังที่ครูได้ฝึกให้ลูก ๆ ได้นั่งสมาธิทุก ๆ เช้าก่อนเริ่มเรียนวิชาแรก ซึ่งลูก ๆ คนไหน ปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะเกิดผลดี เป็นคนมีสมาธิมา  ปัญญาเกิด  สมาธิ คือการขัดเกลากิเลสอย่างเป็นกลาง เป็นการสอนให้รู้ทันปัจจุบัน  คือความไม่ประมาทนั่นเอง

       3.ปัญญา คือการให้รู้จักคิดเห็นด้วยปัญญา  เป็นการฝึกขัดเกลากิเลสอย่างละเอียด คือการพิจารณาให้เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน  เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ต้องเสื่อมลงและดับไปในที่สุด  เป็นการใช้สมาธิที่ลึกและละเอียด พิจารณาลักษณะทั่วไปในสังขารของเรา (เรียกว่าการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน) คือ

    1) อนิจจัง  คือความไม่เที่ยงแท้ คือลูก ๆ ต้องเข้าใจว่า ทุกอย่างในโลกมีเกิด มีดับเป็นธรรมดา

    2) ทุกขัง คือความไม่ทนอยู่  ไม่คงที่ มีทุกข์อยู่ทุกขณะ มีเดือดร้อน ทรุดโทรม เก่าแก่ลง หรือป่วยเจ็บทรมานและที่สุดคือตาย เป็นธรรมดาของชีวิต

    3) อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน  ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่เข้าข้างตน  ไม่ลืมตน  ไม่หลงตน  เราจะบังคับทุกอย่างให้เป็นไปตามที่เราต้องการไม่ได้

เรียกว่า  "ปัญญาในไตรลักษณ์"  การปฏิบัติให้ลึกซึ้งเพื่อให้ทะลุปัญญาในไตรลักษณ์นั้น มิใช่จะได้มาโดยง่าย ๆ  ลูก ๆ จะต้องมีจิตที่เรียกว่า

  อิทธิบาท 4 คือ

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ  วิมังสา

 

หมายเลขบันทึก: 430948เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบพระคุณดอกไม้กำลังจากIco24  และ พระคุณเจ้าIco24

     เรื่องไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปฏิบัติ เรื่องไตรลักษณ์ หรือสามัญญลักษณะ ก็จะทำให้เรารู้เท่าทันความเป็นไปของโลก อยู่ในโลกได้อย่างมีความสุข

     ขออนุโมทนากับคุณครูด้วยนะที่นำหลักธรรมมาทำเป็นบันทึก ใครผ่านมาผ่านไปได้อ่านได้ศึกษา ที่มาก็เพียงเยี่ยมชมแสดงความเห็นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้กำลังใจคุณครู

     ธรรมะนี่เป็นสิ่งที่มีคุณมีค่าเหลือเกิน สมแล้วที่มีบาลีว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ สิ่งใดๆ เสมอด้วยพระธรรมย่อมไม่มี นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ธมฺโม เม สรณํ วรํ สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

     คนเราส่วนนึงเมื่อประสบทุข์แล้วค่อยนึกถึงธรรม แต่บางคนก็ประพฤติธรรมมาตลอด

นมัสการพระคุณเจ้าIco48

  • ความคิดเห็นของพระคุณเจ้า ที่แสดงความคิดเห็นไว้ในแต่ละบันทีก
  • ล้วนเป็นเนี้อหาเติมเต็ม และขยายความบันทึกของครูอิงให้มีความสมบูรณ์ขึ้น
  • บางความคิดเห็น สามารถนำไปเขียนเป็นบันทึกใหม่ได้ค่ะ

เรียน คุณรัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ดิฉันได้เปิดมาเจอบทความของอาจารย์ เขียนได้ดีมากค่ะ ชัดเจน ข้อความกระชับเข้าใจง่ายค่ะอยากจะขออนุญาตนำไปเผยแพร่จะได้ไหมคะ ขอบพระคุณค่ะAngela Vajrayothin

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท