รายงานการพัฒนาองค์การ


การพัฒนาองค์การ
   
   

 

 

 

การพัฒนาองค์การ

 

เสนอ

ดร.ยงยุทธ  ยศยิ่งยง

 

จัดทำโดย

นายอนุวัฒน์               ชูแก้ว

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา การพัฒนาองค์การ

ภาคเรียนที่2                 ปีการศึกษา2553

มหาวิทยาลัยปทุมธานี  ศูนย์ห้องเรียนหาดใหญ่

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การพัฒนาองค์การ มีจุดประสงค์เพื่อให้ศึกษาหาความรู้และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่องของ การพัฒนาองค์การ แนวคิดการพัฒนาองค์การ รวมไปถึงลักษณะและกลยุทธ์ต่างๆ ของการพัฒนาองค์การ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจเพิ่มมากขึ้น  ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ทางผู้จัดทำขอขอบคุณ ดร.ยงยุทธ ยศยิ่งยง ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

 

                                                                                                                นายอนุวัฒน์  ชูแก้ว

          ผู้จัดทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                                       หน้า

การพัฒนาองค์การ                                                                                                                                                           1

- แนวคิดการพัฒนาองค์การ                                                                                               1-2

- ความหมายของการพัฒนาองค์การ                                                                                               3

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ                                                                                             4-5

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ                                                                                                            5

สาระสำคัญของการพัฒนาองค์การ                                                                                              5

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ                                                                                                                6

- ตัวอย่างปัญหาขององค์การ                                                                                             6-8

ข้อจำกัดของการพัฒนาองค์การ                                                                                                           9-10

เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ                                                                                           10

ลักษณะเด่นของการพัฒนาองค์การ                                                                                           11

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ                                                                                           12

- การยอมรับปัญหา                                                                                             12

- การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ                                             12-13

- การวิเคราะห์ปัญหา                                                                                           14-15

- การป้อนข้อมูลป้อนกลับ                                                                                          15

- การวางแผนดำเนินงาน                                                                                              15-16

- การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ                                                                                           16

- การประเมินผล                                                                                                 17

ประเภทของเทคนิคการพัฒนาองค์การ                                                                                                            18-19

- เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล                                                                                             20

- เทคนิคการพัฒนาองค์การระหว่างบุคคล                                                                                             20

- เครื่องสอดแทรกการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม                                                                                             20-25

-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม                                                                                              25-26

- ตัวอย่างโครงการเทคนิคองค์การ                                                                                       26-28

การต่อต้านการเปลี่ยนองค์การ                                                                                     28-29

เหตุผลในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง                                                                                         29-30

การขจัดความรู้สึกต่อต้านการเปลี่ยนแปลง                                                                                           31

-องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยขจัดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาองค์การ    31-32

บทสรุป                                                                                       32

เอกสารอ้างอิง                                                                                              33

การพัฒนาองค์การ

 

ความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์การ

 

แนวคิดการพัฒนาองค์การ(OrganizationDevelopment)

Organization Development (OD) – การพัฒนาองค์การ เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ระยะยาว ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร  ถือได้ว่าเป็นศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดในเชิงสังคมศาสตร์และในเชิงวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน เกี่ยวข้องกับเครื่องมือในเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การที่ถูกนำมาใช้อย่างเป็นระบบ 

 พบว่าปัจจุบันผู้บริหาร นักพัฒนาบุคลากรหลายคนสงสัยว่า OD นั้นมีความหมายแตกต่างไปจาก HRD อย่างไร   จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาความหมายของคำว่า OD จะเห็นได้ว่ามีนักคิด นักวิชาการมากมายที่ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับODที่เหมือนและแตกต่างกันดังต่อไปนี้

               Richard Beckhard (1969) กล่าวถึง OD ว่าเป็นความพยายามที่เกี่ยวข้องกับ 1) แผนงานที่ถูกกำหนดขึ้น 2) องค์การในภาพรวม 3) การบริหารจัดการจากผู้บริหารระดับสูง 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในระดับองค์การ และ 5) เครื่องมือที่มีการวางแผนงานและถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานขององค์การ

               Wendell French (1969) กล่าวถึง OD ว่าเป็นกระบวนการระยะยาวที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการปรับปรุงขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอกองค์การ โดยมีที่ปรึกษาทั้งจากภายในและภายนอกองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ

               Michael Beer (1980) กล่าวว่า OD  กระบวนการที่เป็นระบบในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการวางแผนงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์การ   

               Warner Burke (1982) กล่าวว่า OD เป็นกระบวนการที่มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ ด้วยการนำแนวคิด การวิจัย และเครื่องมือทางพฤติกรรมศาสตร์มาใช้ในองค์การ

               จากแนวคิดของนักคิดและผู้รู้ดังกล่าวข้างต้น พบว่า OD เป็นกระบวนการหรือเครื่องมือที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมภายนอกในยุคของการแข่งขัน ดังนั้นองค์การต่างๆ  จึงมุ่งเน้นให้คนในองค์การเกิดการปรับปรุง และการพัฒนาในขีดความสามารถของตน ทั้งนี้แนวคิดของ OD จะเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง มิใช่การหยุดนิ่งอยู่กับที่ และหลายครั้งที่การทำ OD ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้บริหารไม่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของ “คน” ในองค์การเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ผู้บริหารขาดการมีส่วนร่วม ขาดการผลักดันในการนำเครื่องมือต่างๆ  มาใช้ในองค์การอย่างจริงจัง ซึ่งบุคคลที่จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญขอเครื่องมือODก็คือ นักพัฒนาบุคลากร ที่จะต้องค้นหาปัญหา (Problem Identification) ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นหากองค์การไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการคิดและวิธีการทำงานของบุคลากรในองค์การ

               เมื่อค้นหาว่าอะไรเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการหาแนวร่วมจากผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ รวมทั้งพนักงานทุกคนในองค์การ การจัดทำแผนการสื่อสาร (Communication Plan) จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานเกิดความเข้าใจในเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง นักพัฒนาบุคลากรจะต้องสร้างจิตสำนึกของคนในองค์การก่อนเพื่อให้พวกเขาไม่ต่อต้านและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของระบบงานหรือกระบวนการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติ และเมื่อพนักงานทุกคนตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ โดยไม่ควรลอกเลียนรูปแบบหรือแนวปฏิบัติจากองค์การอื่น โดยเฉพาะองค์การที่ได้ชื่อว่าเป็น Best Practices ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการนำเครื่องมือ OD มาใช้เพื่อพัฒนาองค์การ และเพื่อให้เครื่องมือที่คิดขึ้นถูกนำมาประยุกต์ใช้งานได้ ข้อพึงระวังก็คือ การให้ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดและรูปแบบของเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในองค์การ โดยเข้าไปพบเพื่อสอบถามความคิดเห็น หรือการทำแบบสำรวจเพื่อสอบถามถึงแนวคิดในการนำเครื่องมือต่างๆมาใช้ในการพัฒนาองค์การ

               ดังนั้น OD จึงเป็นเรื่องของแผนงาน กิจกรรม และระบบงานที่ถูกคิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์การ ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงว่าปัจจุบันองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาในเรื่องใด เช่น หากองค์การเผชิญปัญหาว่าพนักงานเก่ง (Talented People) ลาออกค่อนข้างมาก นักพัฒนาบุคลากรสามารถนำเสนอเครื่องมือการบริหารจัดการคนเก่ง โดยการสร้างจิตสำนึก หรือ Talent Mindset ให้กับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ก่อน และหากผู้บริหารมีจิตสำนึกของการบริหารจัดการคนเก่งแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการหาเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้าง พัฒนา จูงใจและรักษาพนักงานเก่งเหล่านี้ไว้ให้ได้

 

 

 

ความหมายการพัฒนาองค์การ

                ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

                  1. การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

                  2. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมโดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ

                  3. การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ
  2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ
  3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ
  4. สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด
  5. วางแผนปฏิบัติการ
  6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

 

 

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ

                การพัฒนาองค์การนั้นควรมุ่งเพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์การ จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์การสามารถสร้างวัตถุประสงค์ขึ้นทั้ง 3 ประเภท คือ

  1. วัตถุประสงค์ของสมาชิกทุกคนในองค์การ
  2. วัตถุประสงค์ของทีมงาน
  3. วัตถุประสงค์ขององค์การ

 

วัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ของการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะคล้ายคลึงกัน

ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

  1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ
  2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง
  3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน
  4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัย ไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ
  5. ควรมุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล
  6. ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆ กัน
  7. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ
  8. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่
  9. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือมุ่งประสานเป้าหมายของบุคคลกับเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ

  1. ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทางด้านวิทยาการสมัยใหม่
  2. ความล้าสมัยอย่างรวดเร็วของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์
  3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม
  4. ปัญหาขององค์การ แบบระบบราชการ
  5. ผลจากทฤษฎีการบริหาร ที่เปลี่ยนแปลงจากแนวการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
  6. ผลจากการฝึกอบรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการ
  7. ผลจากวิธีการสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ และ
  8. ผลจากระบบเทคนิคและสังคม

 

สาระสำคัญของการพัฒนาองค์การ

  1. การพัฒนาองค์การเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบใหญ่
  2. มิใช่มุ่งเน้นเฉพาะระบบย่อยบางระบบเท่านั้น องค์การจะประกอบไปด้วยระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ด้านวัตถุประสงค์, ด้านสังคม-มนุษย์, ด้านเทคโนโลยี, ด้านงาน, ด้านโครงการ และด้านการประสานกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นต้น
  3. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่องโดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ และการวางแผน ตั้งแต่ระบบบุคคลจนถึงระดับองค์การ
  4. การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลและแม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา
  5. การพัฒนาองค์การมุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การเพราะ
         -ความสำเร็จขององค์การสืบเนื่องจากประสิทธิภาพของทีมงาน

           -วัฒนธรรมของทีมงาน มีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของบุคคล

 

 

 

 

ลักษณะของการพัฒนาองค์การ

                การพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพื่อการวิเคราะห์แหล่งที่มาของปัญหาภายในองค์การ และการดำเนินแผนงานเพื่อการแก้ไขปัญหาขององค์การ การพัฒนาองค์การจะเป็นกระบวนการร่วมมือร่วมใจของสมาชิกที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาขององค์การอย่างจริงจัง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานใหม่ขึ้นมา เพื่อการแก้ปัญหาภายในองค์การของพวกเขา

 

ตัวอย่างปัญหาขององค์การ

                ทุกองค์การย่อมจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในขึ้น การเปลี่ยนแปลงภายในอาจจะเป็นค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ ตลอดจนโครงสร้างและกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล

                ผู้บริหารสองคนภายในแผนกเดียวกัน ไม่ชอบกันเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของพวกเขาจะเป็นการโต้แย้งกันอยู่บ่อยครั้ง และมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างรุนแรง ผู้บริหารแต่ละคนเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและความขัดแย้งของพวกเขา ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของพวกเขา ความไม่สามารถทำงานร่วมกันของพวกเขา ได้ทำให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงแก่ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เมื่อการบรรลุความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกันของพวกเขา ซึ่งนี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

 

 

2. การสร้างทีมงาน

                ทีมงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่องค์การมองว่าเป็นหัวใจของการแข่งขัน และความสำเร็จขององค์การในอนาคต ทีมงานจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแผนกงานภายในองค์การ สมาชิกแต่ละคนของทีมงานต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขา ผลงานของทีมงานภายในระยะแรกจะมีความคืบหน้าน้อยมาก ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ แทนที่จะเป็นความร่วมมือของ "ทีมงาน" องค์การจะมีทีมงานที่เข้มแข็งและฉลาดไม่ได้ ตราบใดที่สมาชิกแต่ละคนกำลังเดินไปในทิศทางของเขาเอง ทำให้ความคืบหน้าของโครงการมีน้อยมาก ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสำเร็จขององค์การจะต้องเกิดขึ้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

 

 

3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

                พนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง จะมองว่างานของพวกเขาคือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าให้สูงสุดเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน พนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทเดียวกัน ก็จะมองว่างานของพวกเขาคือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าไว้คงเดิม แผนการตลาดมักจะยอมรับเงื่อนไขพิเศษจากลูกค้า เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวสินค้าและวันส่งมอบสินค้า เพื่อการเพิ่มยอดขายของพวกเขา ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตมักจะคัดค้านเงื่อนไขเช่นนี้ เพราะว่าต้นทุนการผลิตของพวกเขาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากงานพิเศษและค่าล่วงเวลา และจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการลดต้นทุนของพวกเขา ผลที่เกิดขึ้นคือ สองแผนกงานนี้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความไม่ไว้วางใจสูงขึ้น และการติดต่อสื่อสารแย่ลง เราจะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองแผนกนี้อย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

 

4. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

                การคุกคามของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อองค์การกำลังเพิ่มสูงขึ้น องค์การบางแห่งได้เพิ่มงบประมาณให้แก่นักวิจัยและวางแผนเกือบเท่าตัว ด้วยงบประมาณจำนวนนี้ เจ้าหน้าที่ของแผนกวิจัยและวางแผนจึงได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นด้วย ในขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความสามารถ แต่ผลงานของแผนกวิจัยและวางแผนไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก การลงทุนอย่างมากภายในแผนกการวิจัยและวางแผน เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ เจ้าหน้าที่ใหม่หลายคนได้ร้องเรียนว่า ความสามารถของพวกเขาได้ถูกใช้ประโยชน์น้อยไป และเริ่มมองว่าพวกเขาควรจะทำงานภายในองค์การอยู่ต่อไปหรือไม่ ? ทำไมการลงทุนอย่างมากเช่นนี้ไม่ได้ผลคุ้มค่าเลย นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

 

5. การตกต่ำทางเศรษฐกิจ

                การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ยาวนาน ส่งกระทบต่อตลาดและยอดขายขององค์การเป็นอย่างมาก ผู้บริหารขององค์การเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์การ ขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์การจะต่ำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดออกจากงานหรือไม่? ผู้บริหารขององค์การควรจะดำเนินการอย่างไร? นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งขององค์การ

 

 

 

 

 

 

6. คู่แข่งขันรา

หมายเลขบันทึก: 430722เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2011 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

<p “=”“>คุณอนุวัฒน์ ขอไฟล์รายงานหน่อยได้ป่ะจ๊ะ ถ้าได้ติดต่อกลับ 0892176970 </p>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท