อันตรายจากแร่ใยหิน


รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     อันตรายที่สำคัญที่เกิดจากแร่ใยหิน คือการที่อนุภาคของแร่ใยหินสามารถฟุ้งกระจายสู่ปอด ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด เช่นโรคปอดอักเสบจากแอสเบสตอส หรือ แอสแบสโตซิส โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น

      หากสังเกตุพฤติกรรมการบริโภคในสังคมไทยจะพบว่ามีการใช้สินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นองค์ประกอบอย่างแพร่หลาย โดยไม่มีข้อแนันำหรือข้อกำหนดใดๆที่ประชาชนพึงทราบ อันตรายที่สำคัญคือ การแตกกระจายของอนุภาคแร่ใยหินที่ฟุ้งกระจายสู่ปอด ซึ่งเกิดจากการกระทำของผู้ใช้ เช่น การเลื่อย การตัด กระเบื้อง ฝ้า หรือวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นองค์ประกอบ

      แร่ใยหิน เป็นวัสดุที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความทนทานและทนความร้อน เช่น ในกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแผ่นเรียบ ฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรค ท่อน้ำซิเมนต์ กระเบื้องยางไวนิลปูพื้น และอุสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น

      ประเทศไทยมีการใช้แร่ใยหินจำนวนมาก จึงมีภาครัฐและภาคเอกชนบางส่วนกังวลว่าถ้ามีการรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวและมีการเลิกใช้แร่ใยหินแล้วจะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจ

คำสำคัญ (Tags): #แร่ใยหิน
หมายเลขบันทึก: 430660เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2011 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 00:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แพทย์ใหญ่ “ย้ำชัด” ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิตเพราะ…..แร่ใยหิน!!

“ทีแรกรู้สึกดีใจว่าวงการแพทย์ไทยจะได้พบโรคเหตุใยหินจริงจังเสียที แต่เมื่อได้อ่านรายงานที่อ้างในวารสารแล้ว จึงมีความเห็นว่า ข้อมูลของผู้ป่วย ที่วินิจฉัยว่าเสียชีวิตจากแร่ใยหินนั้น เป็นแต่เพียงมีประวัติเคยทำงานในโรงงาน ใช้ใยหินเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าโรคที่มีสาเหตุจากใยหิน ดังนั้นจะไม่ขอรับว่าผู้ป่วย ๒ รายนั้นเป็นโรคเหตุใยหิน”

วงการแพทย์ป่วน หลังบทความชิ้นหนึ่งในวารสารแพทยสมาคมฉบับหนึ่งถูกเผยแพร่ โดยมีการกล่าวอ้างถึงการเสียชีวิตของผู้ป่วย ๒ รายว่ามีสาเหตุจากแร่ใยหิน แต่ แพทย์นักวิชาการมีความเห็นว่า การเสียชีวิตของผู้ป่วยทั้ง ๒ ราย ไม่มีสาเหตุจาก ใยหิน ตามที่กล่าวอ้าง

เมื่อเร็วๆ นี้(๑) มีการนำรายงานเกี่ยวกับการเสียชีวิตของผู้ป่วย ๒ ราย(๒) ซึ่งอ้างว่ามีสาเหตุมาจากการทำงานสัมผัสใยหิน มีเนื้อความว่าพบผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอด และโรคปอดใยหิน ซึ่งบทความดังกล่าวไม่ได้ให้หลักฐานการวินิจฉัยโรคที่ชัดเจน จึงอาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด ว่าใยหินชนิดไครโซไทล์ที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมไทยมาเนิ่นนานแล้ว ก่ออันตรายแก่คนไทย

ต่อมาได้ข่าวว่ามีแพทย์นักวิชาการอดีตผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข ได้แสดงความคิดเห็นโต้แย้งการเผยแพร่ข้อมูล กล่าวอ้างดังกล่าวนี้ พร้อมเปิดเผยข้อเท็จจริงยืนยันไว้ในบทความชื่อ “ตายเพราะใยหิน?” ในวารสารวิชาการฉบับหนึ่ง โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ดังนี้

ข้อมูลที่ถูกตีพิมพ์ในจดหมายเหตุทางการแพทย์ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เล่มปีที่ ๙๕ พ.ศ.๒๕๕๕ ฉบับผนวก หน้า เอส ๗๑ – เอส ๗๖ อ้างว่าเคยมีรายงานผู้ป่วยมะเร็งเยื่อเลื่อม (mesothelioma) ที่เป็นรายแรกที่เกิดจากทำงานสัมผัสใยหิน และเสียชีวิต (๓) แต่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีหลักฐานสาเหตุไม่เพียงพอ (๔) และไม่เคยมีผลการศึกษามะเร็งเยื่อเลื่อมทางพยาธิวิทยาสนับสนุน (๕) ประกอบกับความรู้ด้านสมุฏฐานวิทยาระบุว่ามะเร็งเยื่อเลื่อมเกิดจากสาเหตุอื่นได้หลายอย่าง แม้กระทั่งการ สูบบุหรี่ (๕)

“ผู้ป่วยที่รายงานว่าเป็นโรคสาเหตุใยหินอีก ๒ รายนั้น(๒) ขอตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ป่วยรายแรกเป็นมะเร็งเยื่อเลื่อม (mesothelioma) จริง และรายที่ ๒ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจากการสูบบุหรี่และมีแผลเป็นวัณโรคเยื่อหุ้มปอดเก่า ทั้ง ๒ ราย ไม่เป็นโรคจากสัมผัสใยหิน เป็นเพียงมีประวัติเคยทำงานในโรงงานใช้ใยหินเท่านั้น เพราะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า มีสาเหตุจากใยหิน จึงไม่ขอรับว่าผู้ป่วย ๒ รายนี้เป็นโรคเหตุใยหิน” ข้อมูลนี้ได้จากบทความที่กำลังลงพิมพ์ในวารสารการแพทย์

สมชัย บวรกิตติ พ.ด.

ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

เอกสารอ้างอิง

๑. อดุลย์ บัณฑุกุล. บทความ “เสียชีวิตจากแร่ใยหิน” อ้างในคอลัมน์ส่องโรคไขสุขภาพ หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันพุธที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หน้า ๑๐.

๒. พงษ์ลดา สุพรรณชาติ, ณรงค์ภณ ทุมวิภาต, สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์. จดหมายเหตุทางแพทย์ ๒๕๕๕; ๙๕ (ฉบับผนวก ๘): ส๗๑-ส๗๖.

๓. สุทธิพัฒน์ วงศ์วิทย์วิโชติ, ฉันทนา ผดุงทศ. เมโสเธลิโอมาเหตุอาชีพรายแรกของไทย. วารสารคลินิก ๒๕๕๑; ๒๘:๑๓๒-๖.

๔. สมชัย บวรกิตติ, อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ. กรณีอ้างอิงเมโสเธลิโอมา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ๒๕๕๒; ๓: ๒๐๐-๒.

๕. ชีพสุมน สุทธิพินทะวงศ์, สมชัย บวรกิตติ. พยาธิวิทยาปริทัศน์เนื้องอกเยื่อเลื่อมในประเทศไทย. ธรรมศาสตร์เวชสาร ๒๕๕๔; ๑๑:๔๒๐-๖.

๖. สมชัย บวรกิตติ. เมโสเธลิโอมาที่ไม่ได้เกิดจากสัมผัสใยหิน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ๒๕๕๔; ,๖-๘.

http://www.chrysotile.co.th
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท