Economic impacts of alcohol consumption


Economic impacts of alcohol consumption

 

Private economic cost of alcohol consumption

ปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ของการเกิดปัญหาคือปริมาณและรูปแบบ (pattern) ของการดื่ม

ค่าเฉลี่ยในภาพรวมของปริมาณไม่มากนัก แต่ผู้ที่ดื่มมาก จะได้รับอันตรายมากกว่า เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพ มีผลกระทบต่อสภาพร่างกาย เช่น เมา เป็นพิษต่อตับ ติดเหล้า ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเรื้อรัง, อุบัติเหตุ, ความรุนแรง, ปัญหาสังคม, สัมพันธภาพในครอบครัว, ปัญหาสังคมเรื้อรัง (การตกงาน)

ความผิดปกติและโรคที่เกิดจากสุราโดยตรง ปริมาณที่ดื่ม 100 ซีซี มี alcohol 5 กรัม

Relative risk ที่เกี่ยวกับการดื่มสุรา

  • ดื่มระดับไหน (category)
  • แบ่งตามเพศ
  • สุขภาพจิต
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรค Ischemic heart disease
  • ตับแข็ง

ปัญหาด้านอื่นๆ ที่สุรามีส่วนเกี่ยวข้อง และก่อให้เกิดความสูญเสีย ไม่เฉพาะสุขภาพ เช่น อุบัติเหตุ ความรุนแรง การทำร้ายร่างกายตนเอง การฆ่าตัวตาย การจมน้ำ การบาดเจ็บในการประกอบอาชีพจากเครื่องจักร

สุราก่อให้เกิดความสูญเสียหลักๆ 4 ประการ ดังนี้

  1. ผลต่อสุขภาพ เพิ่มค่าใช้จ่ายเมื่อเป็นผู้พิการ ต้องรณรงค์เมาไม่ขับ
  2. การสูญเสียผลิตภาพ (productivity) เช่น ตายก่อนวัยอันควร ศักยภาพในการทำงานลดลง ทำงานได้ลดลง เกิดอุบัติเหตุทำให้พิการ ระยะเวลาที่นอนป่วยในโรงพยาบาล ศักยภาพในการทำงานหายไป (โดยเฉพาะคนงานรายวัน)
  3. ความสูญเสียที่มีต่อการบังคับใช้กฏหมาย กระบวนการยุติธรรม เช่น เมาแล้วทำร้ายร่างกายคนอื่น ต้องเพิ่มผู้คุมขังในเรือนจำ ต้องสร้างเรือนจำเพิ่ม
  4. อื่นๆ เช่น ทรัพย์สินเสียหาย ชนสะพาน ตกสะพาน เพลิงไหม้

 

 

ผลการวิจัยของ  TDRI ในปี 2547 พบว่า

                ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา มีดังนี้

  • ค่ายาบำบัดโรค
  • ค่าเสียเวลาของการเข้ารับการบำบัด
  • ค่าเสียเวลาของการขาดงาน เมาแล้วทำงานไม่ไหว
  • การสูญเสียชีวิตจากสุรา
  • การเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา
  • ค่ารักษาพยาบาล
  • ทำงานไม่ได้

การดื่มสุรามีผลต่อสุขภาพและปัญหาอื่นๆ ดังนี้ (Alcohol consumption : increase severe illness and death)

  • การดื่มสุราเป็นสาเหตุของการตาย 1.8 ล้านคน (2.2%)
  • ความสูญเสียต่อสุขภาพ 58.3 ล้าน DALYs (4.1%)
  • ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ มีมูลค่ามหาศาล 5-6% ของ GDP
  • กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว มีแนวโน้มการดื่มสุราลดลง
  • ใน 3 ปีที่ผ่านมา คนไทยดื่มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้น
  • ประชากรไทยประมาณ 1 ใน 3 ดื่มสุราและมีแนวโน้มดื่มเพิ่มขึ้น
  • มีผู้ที่ดื่มมากกว่า 20 วัน ใน 30 วัน
  • ภาคอีสาน คนอีสานดื่มหนัก เคยดื่ม 62%, ดื่ม 30 วัน ก่อนการสำรวจ 1 ใน 3
  • สถิติการผลิตเหล้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งเหล้าขาว (spirit) เหล้าสี และเบียร์

ในประเทศไทย แนวโน้มการดื่มสุราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว, 1 ใน 3 ดื่มสุรา, ภาวะโรคที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุรา เป็นปัจจัยเสี่ยงตัวที่ 2 ที่ทำให้เกิดโรค ผู้ชายสูญเสียเพิ่มขึ้นเป็น 9 เท่าของผู้หญิง

ในจังหวัดขอนแก่น มีพฤติกรรมเสี่ยง ดังนี้

  • 45% ดื่มสุราในรอบ 1 ปี
  •  ในรอบ 30 วัน ดื่มหนัก (Binge drinking) อย่างน้อย 1 ครั้ง
  • 8.9% ของอุบัติเหตุ 20% ของมอเตอร์ไซค์ เกี่ยวข้องกับ alcohol
  • Social cost ยังไม่มี paper พูดถึง
  • การสูญเสียผลิตภาพ productivity loss มากกว่า 2 ใน 3
    • Indirect cost คิดเป็นเงินมากที่สุด เช่น ตายก่อนวัยอันควร

คนขอนแก่นส่วนใหญ่ มีรายได้น้อย (ยากจน) เก็บข้อมูลในผู้ที่มีอายุ 12-65 ปี จากการวิเคราะห์ปัจจัย           ที่เกี่ยวข้อง ประเมินความสูญเสียในรอบ 12 เดือน แล้วคำนวณความสูญเสียที่วัดได้ (Tangible cost) เช่น การรักษาพยาบาล, การสูญเสียผลิตภาพ, การสูญเสียอื่นๆ

พฤติกรรมการดื่ม โรคและผลกระทบที่ได้รับ เช่น อุบัติเหตุ, การบาดเจ็บ, การทะเลาะวิวาทในครอบครัว, การเกิดโรคเรื้อรัง

Cost ได้แก่

  • ค่ารักษาโรค
  • ค่าวินิจฉัย ทั้งในและนอกโรงพยาบาล
  • ค่าเดินทาง ที่พัก อาหาร
  • ค่าเสียเวลา เช่น เมาแล้วขาดงาน, ขาดเรียน, ตื่นสาย
  • เสียเวลาไปดำเนินคดี
  • ครอบครัวเสียเวลาในการดูแล
  • ทรัพย์สินเสียหาย เช่น ค่าซ่อมรถ
  • อื่นๆ เช่น ค่าปรับ, ค่าสินไหม, ค่าชดเชย, ค่าประนีประนอมคดี

เกณฑ์เรื่องการดื่มหนัก ดื่มมาก เกิน 5 หน่วยมาตรฐาน, เบียร์ 6 กระป๋องขึ้นไป, ไวน์ 6 แก้วขึ้นไป

                = ความถี่ x ปริมาณที่ดื่ม

ระเบียบวิธีวิจัย

เป็น Cross-sectional study ใน 5 อำเภอ 15 หมู่บ้าน เขตเมืองและเขตชนบท จำนวน 592 ครอบครัว (2000 คน) โดยใช้ questionnaire แบบ face to face interview

Validity test ปริมาณการดื่ม โดย ใช้ tri-level questionnaire บันทึกว่าดื่มเท่าไหร่ อย่างไร ดื่มหนัก ดื่มเท่าไหร่ ดื่มน้อย ดื่มเท่าไหร่ ถ้าดื่มเท่าๆ กัน มากบ้างน้อยบ้าง มากขนาดไหน บ่อยแค่ไหน แล้วมาคำนวณ เทียบกับ duplication technique โดยเก็บใส่ถุงหรือขวดไว้ในปริมาณที่เท่าๆ กัน ให้ อสม. เก็บ สัมภาษณ์ แล้วเทียบกับของจริง ถามเจ้าตัวและเทียบกับคนรอบข้าง ได้ค่า correlation 0.7

Secondary data เป็นภูเขาน้ำแข็ง

Response rate ต่ำ ในเขตเมือง

ผลการวิจัย พบว่า

  • อาชีพ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร, รายได้ น้อยกว่า 3000 บาทต่อเดือน
  • อายุ น้อยกว่า 20 ปี ดื่มเหล้า 1 ใน 3, อายุ 20-29 ปี ดื่มมาก
  • อายุเมื่อเริ่มดื่ม น้อยกว่า 14 ปี เพศชาย 10%, เพศหญิง 4%
  • ผู้ชายดื่มเมื่ออายุน้อย, ผู้หญิงดื่มเมื่ออายุมาก (ดื่มตอนอายุ 25-30 ปี)
  • Generation ใหม่ ดื่มเมื่ออายุน้อย

ความถี่ในการดื่ม ดื่มบ่อยแค่ไหน

  • ผู้ชายดื่มทุกวันมาก, ผู้หญิงดื่มนานๆ ครั้ง
  • ดื่มหนัก ผู้ชายอายุ 20-29 ปี ซึ่งเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีความสำคัญ อาจเป็นการสะสมโรค (อีก 10 ปี อาจมีโรคเรื้อรังจาก alcohol มาก)

                                                                Value                                     Max

Direct treatment cost                         88010                                    35000

Individual productivity loss            269705                                  85800

 

  • Cost per drink 975 บาท
  • Cost per respondent  517 บาท/คน
  • Weighted cost per capita 499 บาท/คน
  • Estimated cost ทั้งขอนแก่น 671 ล้านบาท
  • เกิดปัญหาการสูญเสียผลิตภาพเฉพาะตัว เช่น ขาดงาน, เสียเวลา, บาดเจ็บ, ปัญหาครอบครัว
  • ไม่มีคนเสียชีวิตใน record
  • ความสูญเสีย อายุน้อย จากอุบัติเหตุ, วัยกลางคน จากการเจ็บป่วย
  • แม้เลิกดื่มแล้วยังมีความสูญเสียจากผลตกค้างที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย
  • ผู้ที่ดื่มประจำ มากบ้าง น้อยบ้าง มีความเสี่ยงมากกว่า

 

Limitation

  • เจอ case เล็กๆ น้อยๆ
  • Prevalence ต่ำๆ ไม่เจอ เพราะเป็น cross-section
  • Sample size ไม่มาก หากต้องการ prevalence ต่ำ

 

ประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

  • หาค่าสูญเสีย หาจากการ review และทำ pilot 2 ครั้ง
  • Indirect cost มาจากการตายก่อนวัยอันควร คิดเป็นมูลค่าแสนกว่าล้านบาท
  • สุราเป็นสินค้าแบบ Economy of scale ยิ่งทำมาก ยิ่งมีกำไรมาก
  • คนจีนดื่มเหล้ามากขึ้น
  • เหล้าเป็น protective factor ของโรคหัวใจ
  • มีความเสี่ยงเป็น j shape
  • เหตุที่ทำให้คนดื่มมากขึ้น เช่น ใช้การตลาดมากขึ้น มี Promotion ซื้อมาก ลดราคา
  • แม้ว่าจะมีกฏหมายบังคับให้ซื้อขายเป็นเวลา และห้ามขายให้เด็ก แต่มาตรการนี้ยังใช้ไม่ได้เท่าที่ควร เพราะรายได้ของร้านค้ามาจากการขายเหล้า
  • ประเด็นสำคัญคือ ต้องมีความเข้มงวดในการบังคับใช้กฏหมาย และการมีวินัยในตนเอง
คำสำคัญ (Tags): #economic impacts of alcohol consumption
หมายเลขบันทึก: 430468เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2011 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท