Strategic planning and balanced score card


Strategic planning and balanced score card

 

การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning)

สิ่งที่สำคัญคือผู้นำ (Leader) ต้องวางแผนติดตาม เพื่อให้ได้งานตามเป้าหมาย และคอย support        ให้แผนที่วางไว้ดำเนินการไปได้ เช่น ในการทำ TQA ไม่ใช่มีแต่แผนยุทธศาสตร์ แต่ต้องดูด้วยว่าผู้นำองค์กรเป็นอย่างไร ควรเป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการแสดงออก และการสื่อสาร ผู้นำควรมีวิสัยทัศน์ (Vision) ทำให้เกิด Best practice ทำให้งานประจำที่ทำสามารถบรรลุ KPI ได้ การจัดทำ KPI เป็นการทำ TOR ส่วนบุคคล เพิ่ม document ให้สามารถตรวจสอบได้ (accountability) วัดได้ ประเมินได้ รวมถึงต้องวางระบบเรื่อง reward system ให้ดี ถ้าทำได้ไม่ดี คนทำงานอาจไม่มีความสุข TOR หรือ Port folio เป็นของแต่ละบุคคล เพราะแต่ละบุคคลมีความสามารถไม่เท่ากัน

ประเทศอังกฤษ GP เป็นผู้ประกอบการอิสระ ทำสัญญากับ National Health คิดเรื่องที่ทำให้คนอยู่ได้ (Humanized) ทั้งเวลาทำงาน เวลาหยุดพัก บางครั้งเกิดจากการเจรจาต่อรอง โดยแพทย์รวมตัวกันเป็นสหภาพ เป็นสมาคมเพื่อต่อรองเรื่องสวัสดิการ และค่าตอบแทน

เรื่องจากชุมชนไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

มีคุณประยงค์ รณรงค์ เป็นผู้นำชุมชน มีการคิดแบบเชื่อมโยง มองแบบองค์รวม มีการจัดทำแผนแม่บทชุมชน โดยการชวนคิดชวนคุย ตั้งคำถามถึงปัญหาที่เป็นผลกระทบส่วนใหญ่

ในอดีตคนในชุมชนทำการเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ทำสวนยางพารา) ปัญหาที่เกิดขึ้นคือปัญหาเรื่องหนี้สิน   พบว่าเงินที่ชาวบ้านหามาได้นั้นหายไปไหน อะไรคือรายจ่ายของชุมชน ทำให้กำเนิดแนวคิดวิสาหกิจชุมชน ให้รู้จักตนเอง เกิดการพึ่งตนเอง โดยแนวคิดพอกินพอใช้ และลดรายจ่าย มีโครงการการผลิตเพื่อทดแทน   การนำเข้า ทั้งการทำอาชีพอิสระและอาชีพเสริม ทำให้รายจ่ายของคนในชุมชนกลายเป็นรายรับของชุมชน พบว่า 80 % ของรายจ่ายสามารถทำได้เอง ใช้กระบวนการร่วมกันคิด ร่วมกันเรียนรู้ แยกกันไปทำ เป็นทั้งตลาดและผู้ผลิต มีการจัดตั้งกลุ่ม กลุ่มเลี้ยงไก่ กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ทำให้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง มีการจัดบริการการแพทย์แผนไทย เป็นการแพทย์คู่ขนาน ทำให้เกิดพลังแห่งการพัฒนา สู่ชุมชนแห่งการพึ่งตนเอง ในวิถีแห่งความพอเพียง คนในชุมชนมีการปรับตัวไม่ฝากชีวิตไว้กับการทำสวนยางพาราเพียงอย่างเดียว มีการทำธุรกิจส่วนตัว ทำให้พึ่งตัวเองได้มากขึ้น ในอดีตคนในชุมชนอยู่แบบตัวใครตัวมัน ทำงานหนักตัวเป็นเกลียว มีการซื้อหวย เล่นแชร์ มีการลักขโมย เดี๋ยวนี้ไม่มีการลักขโมย เกิดความสุขของคนในชุมชน ความวุ่นวายลดลง มีเวลาคิดพัฒนา หัวใจทั้งหมดอยู่ที่การเรียนรู้ มีโรงเรียนมังคุดอินทรีย์ โดยเจ้าของสวนมังคุด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรียนรู้การเกษตรแบบยั่งยืน สู่มาตรฐานการส่งออก เรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการตลาด เปิดตลาดให้พ่อค้าส่งออกแข่งกันประมูล

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง ทุกคนต้องรู้ในสิ่งที่ต้องรู้ และรู้ในสิ่งที่ต้องทำ บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ งอกเงยเป็นสติปัญญา งอกงามเป็นสุขภาะทางสังคม มองไปข้างหน้า มองหาเป้าหมาย   ท้าทายอนาคต เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การนำแผนไปปฏิบัติเกิดจากความร่วมมือ ความเข้าใจร่วมกัน เรียนรู้มาตั้งแต่ตอนต้น จึงจะรู้เท่าเทียมกัน ร่วมมือกันทำ ประสิทธิภาพเกิดขึ้นได้แน่นอน     เกิดการเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ควรมีการเริ่มต้นด้วยการพูดคุย การสำรวจ เพราะการพูดคุยกันที่ดีทำให้เกิดพลัง (Sustained criticism) ฟังอย่างลึก ทั้งสิ่งที่เขาพูดและไม่พูด (Bolm Dialogue)

เมื่อเกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว จะเกิดความร่วมมือ สร้างทำนบกั้นเงิน สร้างงาน นำบางสิ่งที่ไม่มีคุณค่ามาทำให้มีคุณค่า แบ่งงานกันทำ (division of labour) การทำงานแต่ละครั้งเรียนรู้ว่าได้ทำอะไรเพื่อชุมชนบ้าง ความหลากหลายคือความยั่งยืน ค่อยคิด ค่อยทำ บางครั้งผลงานที่เกิดขึ้นดีกว่าที่ส่วนราชการทำ เนื่องจากแผนที่เกิดตามความพร้อมของคนที่จะรับมือ ทำให้เกิดความยั่งยืน และการนำมาปฏิบัติไม่ได้เริ่มที่แผนแต่เริ่ม           จากปัญหาจริงในพื้นที่ และเกิดความยั่งยืนเพราะชุมชนทำเองและได้ประโยชน์ ได้ทั้งเงินและความสุข         มีความพอเพียง (ทั้งข้าวและยางพารา) ไม่ฝากชีวิตไว้กับอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

เมื่อเกิดปัญหาวิกฤติจะเกิดผู้นำ เมื่อมีผู้นำที่ดีจะมีคนอื่นทำตาม การได้พูดคุยกันถึงปัญหาแล้ววิเคราะห์จะทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นปัญหา จุดเด่นของชุมชนคือสามารถเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส กระตุ้นให้     ทุกคนมองเห็นคุณค่าของตนเอง เกิดการเรียนรู้สิ่งที่ตัวเองอยากรู้ (KM) มีการกระจายให้ทุกตรอบครัวได้รับรู้และแก้ไข คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ใช้ Fact มีการสำรวจ การสังเคราะห์ (เช่น บัญชีรายรับ รายจ่าย) มีการร่วมคิด ร่วมทำ เช่น ทำอาหาร ทำน้ำยาล้างจาน เกิดการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีการขยายการต่อยอด (Evolution) เกิดการพัฒนาเครือข่าย

 

 

 

 

 

 

 

Logical framework

ประเทศเยอรมันเป็นต้นคิดของ Logical framework คำว่า logical เป็นการทำให้เชื่อมโยงกัน

ตัวอย่างรูปแบบ Logical framework

 

 

KPI

Prove Verify

แหล่งข้อมูล

Assumption

Goal ระยะยาว

 

 

 

 

Purpose ระยะกลาง

 

 

 

 

Objective ระยะสั้น

 

 

 

 

Output ผลงาน

 

 

 

 

Process

 

 

 

 

Input

 

 

 

 

 

Balanced score card

Concept ของ Balanced score card คือ learning & Growth ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน เป็นการประยุกต์แนวคิด Input-Process-Output ว่าในมิติของ Output/Outcome มองให้ครบทั้งมิติการเงิน ผู้บริโภค

Output                                   Finance                                 ชุมชนไม้เรียง

Outcome                               Outcome                               มองที่คุณภาพชีวิต (QOL)

 

Process                                  Internal process                  การหาศักยภาพ

                                                                                                การผลิตทดแทน

                                                                                                หาจุดแข็งมาใช้            มีการเรียนรู้สูงมาก

Input                                      Learning & growth                        เป็นอนาคตขององค์กร

 

ไม่ควรมองที่ผลลัพธ์สุดท้าย ให้มองทั้งระบบว่าดี การ Balance คือมองให้ครบทุกด้าน เพราะ Balance score card ให้คนในองค์กรคิดให้ครอบคลุม เชื่อมโยงให้เป็น diagram ให้ได้ out put/outcome         มีหลายมิติ จนเกิดเป็นภาพรวมของทั้งองค์กร ถ้าองค์กรใหญ่มาก อาจมีจุดโหว่ ต้องมีกระบวนการถ่ายทอดแผน ถ่ายทอดยุทธศาสตร์หลายๆ วิธี

คุณภาพของคนในองค์กร

Goal เพื่อเป็นแรงขับ (drive) ของคนในองค์กร

การสังเคราะห์กลยุทธ์

 

จุดแข็ง

จุดอ่อน

 

 

 

โอกาส

SO

WO

 

เชิงรุก

พลิกสถานการณ์

อุปสรรค

ST

WT

 

แตกตัว

ป้องกันตัว

 

   การจัดกลุ่มกลยุทธ์และการปรับปรุงกลยุทธ์

  • เสริมข้อมูล
  • คิดข้างทาง
  • มองต่างมุม
  • สวมหมวก 6 สี (six hat thinking โดย Edward De Bono) (ไม่ยึดติดกับความคิดที่คิดออกมาทันทีทันใด ให้ไตร่ตรองก่อน) ผู้นำควรคิดได้ 6 แบบ คิดโดยใช้อารมณ์  คิดโดยใช้ความรู้สึก

หมวกขาว : Information

หมวกแดง : Feeling

หมวกเขียว : Creativity

หมวกดำ : Judgment

หมวกเหลือง : Benefits

หมวกน้ำเงิน : Thinking about thinking

มีการใช้พิธีกรรม เช่น พิธีมอบวิสัยทัศน์ เพื่อก่อให้เกิด Commitment

คำสำคัญ (Tags): #balanced score card#strategic planning
หมายเลขบันทึก: 430453เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2011 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท