เปิด ความในใจ ปชช. ทั้งผู้เสนอ และผู้คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ ฯ


โดย Suthee Rattanamongkolgul ณ วันที่ 8 มีนาคม 2011 เวลา 3:3

 วันที่ 2 มีนาคม  2554  "สารี อ๋องสมหวัง"  ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 

ได้ส่งบทความเรื่อง  ความในใจกลุ่มประชาชนผู้เสนอร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการ สาธารณสุข‏ ถึงสื่อมวลชน     บทความดังกล่าว  มีสาระสำคัญ ดังนี้ 

 

 

หลาย คนคงได้ทราบข่าว ของคุณปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา 

ที่ถูกให้ออกจาก พื้นที่หน้ารัฐสภา หลังจากไปประท้วงด้วยการนอนค้างคืน 

ร่วมกับเพื่อน ผู้เสียหายหน้ารัฐสภา 

เพื่อผลักดันให้รัฐบาลพิจารณากฎหมายคุ้มครอง ผู้เสียหายทางการแพทย์ภายใน 

เดือนกุมภาพันธ์นี้ 

 

 กฎหมาย ฉบับนี้ เริ่มต้นเหมือนกับกระบวนการออกกฎหมายฉบับอื่น ๆ ของประเทศไทย

อาจ จะพิเศษหน่อยตรงที่มีหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน 

อาทิ เช่น การตั้งคณะทำงานจากเพื่อยกร่างกฎหมาย 

และการเสนอกฎหมาย โดยกระทรวงสาธารณสุขผ่านคณะรัฐมนตรี 

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการไป จัดทำรายละเอียดปรับปรุงกฎหมายในชั้นสำนักงาน 

คณะกรรมการกฤษฎีกา 

(ซึ่ง มีทุกฝ่ายและแน่นอนตัวแทนแพทยสภาเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง) 

มีการรับ ฟังความคิดเห็นจากกลุ่มวิชาชีพประมาณ 300 คน ในสมัยรัฐมนตรีวิทยา 

แก้ว ภารดัย แต่เมื่อกฎหมายกำลังจะถูกพิจารณารับหลักการในชั้นสภา ผู้แทนราษฎร 

ได้ ถูกคัดค้านจากแพทย์จำนวนหนึ่ง 

 

กลุ่มผู้ที่คัดค้านกฎหมายฉบับ นี้ หยิบยกประเด็นค้านไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ 

จะทำให้มีการฟ้องคดีอาญา แพทย์มากขึ้น แต่เมื่อมีการอธิบายว่า 

สาระที่เขียนไว้ในกฎหมายเป็น ประโยชน์กับแพทย์ในคดีอาญา 

ก็ยกประเด็นการไม่มีส่วนร่วมของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่ง 

น่าเสียดายที่ไม่มีใครเปิดเผยรายชื่อแพทยสภา หรือแพทย์จากส่วนต่าง ๆ 

ที่เข้าร่วมประชุมในการทำกฎหมายฉบับนี้เป็น ใครในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา (อาทิ 

นพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยะกุล, นพ.เมธี วงศ์ศิริวรรณ ) 

 

 และสุดท้ายประเด็นที่ “ขายได้” ในสังคมไทย คือ การปล่อยข่าวว่า 

มีผู้เสนอกฎหมายจ้องหาผลประโยชน์ใน การบริหารกองทุน 

ทั้งที่กองทุนนี้อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข  และ 

กรรมการ เป็นเพียงกรรมการตามกฎหมายเหมือนกฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่ผ่านมา 

ซึ่ง ต่างจากข้อเสนอของกลุ่มประชาชนผู้เสนอกฎหมายที่ต้องการให้มีการบริหารกองทุ นเป็นอิสระดีกว่าอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข 

เพราะกระทรวงเป็นเจ้าของโรง พยาบาลจำนวนมาก 

จึงอาจจะทำให้ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ได้รับผล กระทบและผู้เสียหาย 

 

ข้อกล่าวหาเรื่องประชาชนผู้เสนอกฎหมายมี ผลประโยชน์นอกจากจะไม่มีมูลแล้ว 

หากติดตามการทำงานจะเห็นผลงานของ กลุ่มนี้ที่ช่วยตรวจสอบการทุจริตในสังคมมากมาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม 

หรือ แม้แต่การเทียบประวัติการทำงานของแต่ละฝ่ายกับเรื่องการหาผลประโยชน์ 

ไม่ แน่ใจว่า ผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหากันแน่ที่ควรถูกตั้งข้อสงสัย 

บาง คนเป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขแต่มีชื่อไปปรากฏทำงานในโรงพยาบาลเอกชนในเว ลาราชการ 

 

เมื่อมีความเห็นต่างในกฎหมาย 

ภาคประชาชน ทุกฝ่ายซึ่งเดินหน้าเต็มที่เรื่องนี้ก็เห็นว่า 

ก็ควรให้เวลาทำความ เข้าใจกฎหมาย กระบวนการทำความเข้าใจ 

มีหลายทางทั้งทางสาธารณะซึ่ง เกิดขึ้นมาก ผ่านคณะทำงาน ไม่ยอมรับคณะทำงาน 

ตั้งคณะทำงานใหม่ สุดท้ายได้ข้อสรุป 12 ประเด็นที่เห็นร่วมกัน 

ทำให้แพทย์และกลุ่ม วิชาชีพที่เกี่ยวข้องจำนวนมากหรือส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกฎหมาย ฉบับนี้ 

ซึ่ง เห็นได้จากการคัดเลือกกรรมการแพทยสภา 

ที่กลุ่มแกนนำคัดค้านอย่างหัว ชนฝาไม่ได้รับการเลือกตั้ง 

 

อย่างไรก็ตาม 

น่าเสียดาย ที่เราไม่เห็นความกล้าหาญของผู้ประกอบวิชาชีพสายสาธารณสุขมากพอในการ ออกมาสนับสนุนทั้งที่เห็นประโยชน์ 

ยกเว้นผู้คัดค้านซึ่งไม่ฟังเหตุ ฟังผลอย่างคงเส้นคงวา 

ไม่มีใครกล้าออกมาบอกว่าเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับ นี้  เพราะ 

หากใครออกมาบอกว่าเห็นด้วยก็จะโดนเล่นงานทั้งทางตรงทาง อ้อมในที่ลับและในที่แจ้ ง

ไม่เว้นแม้แต่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ถูก เล่นงานเรื่องส่วนตัว 

 

ถึงแม้กลยุทธการถ่วงเวลากฎหมายของ แพทย์กลุ่มหนึ่งจะประสบความสำเร็จในช่วงแรก 

แต่ คิดว่า ปัจจุบันสังคมน่าจะได้เห็นถึงประโยชน์ของกฎหมายฉบับนี้ 

ที่มี เหตุการณ์เกิดขึ้นอยู่เนือง ๆ หรือทั้งระบบประกันสังคม 

และสวัสดิการ ข้าราการ ที่ไม่มีระบบช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อมีความเสียหาย 

กฎหมาย ฉบับนี้จึงจะทำหน้าที่เป็นระบบที่ช่วยรองรับผู้ได้รับผลกระทบ 

หรือ ความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น 

 

 ต้องขอบคุณนายก รัฐมนตรี ที่ยืนยันว่าอย่างไร พรรคประชาธิปัตย์ 

ไม่ถอนและเดินหน้า กฎหมายฉบับนี้แน่นอน คงถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล 

และสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรทั้งหลายต้องตัดสินใจสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ 

เพราะทางกลุ่มคัด ค้านมีกฎหมายเข้าชื่อ 10,000 

รายชื่อในการเสนอกฎหมายฉบับนี้เช่น เดียวกัน 

ซึ่งรับประกันการมีส่วนร่วมในการทำกฎหมายที่เท่าเทียมกับ ภาคประชาชน 

 

 ในฐานะกลุ่มภาคประชาชนที่เสนอกฎหมายฉบับนี้ ขอเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎร 

ตัดสินใจกฎหมายฉบับนี้ ว่าจะดำเนินการไปข้างหน้าหรือถอยหลัง 

เพื่อบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ให้ลูกหลานไทยในอนาคตที่อาจตกเป็นผู้ได้รับผลกระ ทบหรือเสียหายจากการบริการสาธารณสุข 

แล้วจนถึงขณะนั้นยังไม่มีระบบ เยียวยาใดๆ 

หรือแม้แต่ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความตั้งใจในการทำงานแต่ ไม่มีระบบใดมาช่วยปกป้ องพวกเขาจากความผิดพลาดซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299387121 

 ----------------------------------- ----------------------------------- ----------------------------------- -----------------------------------

 

 

“ความ ในใจประชาชน(เช่นกัน)ผู้คัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ สาธารณสุข” 

 

วันที่ 06 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:54:38 น. 

 

http://www.facebook.com/sharer.php?u=http%3A%2F%2F

 

 

 

 โดย นพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล 

 

 อนุสนธิว่าด้วยบทความ “ความในใจประชาชนผู้เสนอร่าง 

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุข” ที่ลงในมติชนออนไลน์ 

เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยคุณ สารี อ๋องสมหวัง 

ทำนองต่อว่าผู้ที่คัดค้านร่างพรบ.ดังกล่าว 

ใน ทำนองเสียหายหรือมีเจตนาแอบแฝงเพื่อไม่ให้มีการออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือ บุคคล ที่คุณสารีกล่าวอ้างว่าเป็น 

“ผู้เสียหาย”  หลังจากอ่านบทความจนจบแล้ว 

ทำให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมรากลึกที่หยั่ง อยู่ในมโนของคุณสารีดีขึ้นดังนี้ 

 

คุณสารีชอบเรียกตัวเองว่า ภาคประชาชน ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ก็จะนำทัพด้วยคำว่า 

“ภาคประชาชน” หรือ “ผู้บริโภค” ซึ่งทำให้อดวิตกไม่ได้ว่า 

คุณสารีมีทัศนะส่วนตน ว่า 

“คนอื่นที่มีความคิดเห็นต่างกับคุณสารีนั้นหาใช่ประชาชนไม่”  จริงหรือไม่ 

และหากมิใช่คนที่สนับสนุนแนวคิดของคุณสารี เขาจะต้องเป็นคนบาปหรือไม่ 

ความจริงทุกคนที่เกิดมาเพราะยังไม่ สมบูรณ์จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดมาพบเจอกันอี ก 

ผู้เขียนหรือแม้แต่ คุณสารีก็มิใช่ไม่มีข้อบกพร่อง 

 

ท่านพุทธทาสถึงได้สอนว่าอย่า ไปเที่ยวจับผิดหรือวิจารณ์ข้อบกพร่องของผู้อื่น 

เพราะทุกครั้งที่ชี้ นิ้วไปที่คนอื่น อีกสี่นิ้วชี้เข้าที่ตนเองเสมอ 

พร้อมกันนี้ทำให้ผู้ เขียนอดนึกถึงภาพการ์ตูนที่มีคุณหมอท่านหนึ่งวาดบรรยายความ รู้สึกที่มีต่อกลุ่มบุคคลที่กระทำต่อบุคลากรทางสาธารณสุข 

ในทำนองที่ มองเห็นบุคลากรเป็น “ข้าทาสรับใช้”ที่ต้องถูกบังคับให้ทำงาน 

ห้ามต่อ ล้อต่อเถียง มิฉะนั้นจะถูกแส้โบยหลัง  หรือออกข่าวให้เสียหายไว้ก่อน 

 

โดย ไม่สนใจเหตุผลหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา แม้เมื่อทราบความจริงทั้งหมดแล้ว 

ก็ไม่เคยออกมายอมรับว่าตนเองด่วน ตัดสินคนอื่นเพราะความไม่รู้ 

ความใจร้อนหรืออคติก็ไม่ทราบได้ ทำไม่ถูกใจ เอะอะก็กล่าวหาว่าบุคลากรไปเที่ยว 

“ก่อความเสียหาย” คงไม่ทันนึกว่า 

“การทำงานหรือหาประโยชน์จากการจับผิดคนอื่นง่ายกว่า การส่องกระจกดูตนเอง” 

 

 ที่ผ่านมาวิธีการทำงานโดยใช้วิธีจับ ผิดและหาข้อบกพร่องของคนอื่นนั้นได้ผลเสมอ 

ๆ 

ในการเคลื่อนไหว เพื่อสนับสนุนแนวคิดสุดโต่งแบบนี้มาตลอดยกเว้นแต่กับร่างกม.นี้ 

สิ่ง ที่เกิดขึ้นกับร่างกฎหมายฉบับนี้คงทำให้เก้าอี้ประจำตำแหน่งสะท้านไปไม่น้อ ย 

อยากให้เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในความคิดของตนเอง 

และคนที่เห็นต่างมิใช่ศัตรู 

การ ถกเถียงโต้แย้งในห้องประชุมเป็นเพียงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 

 

 เมื่อ ออกนอกห้องประชุม ทุกคนคือเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมกรรมร่วมโลก 

ต่างคน ต่างเกิดมาใช้กรรมของตน 

ต้องตั้งสติและเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าบุคลากร การแพทย์ก็เป็นประชาชนคนไทยเต็มร้อ ยไม่น้อยกว่ากลุ่มที่อ้างตนว่าเป็นภาคประชาชน 

อย่าจดลิขสิทธิ์คำว่า “ภาคประชาชน” หรือ “ผู้บริโภค” 

ไว้เฉพาะเพื่อนพ้องที่อยู่ใต้อาณัติ เท่านั้น 

เขาเหล่านี้ก็เป็นประชาชน 

จะต่างกันก็ตรงที่เขา เหล่านี้ไม่เคยรับรู้หรือเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรเครือข่า ยที่ตั้งชื่อให้ดูศักดิ์สิทธิ์ 

ไม่เคยยกมือโหวตจัดสรรตำแหน่งให้ 

เขา เหล่านั้นก็มีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นประชาชนเช่นเดียวกัน 

หลายคนทำ งานแบบปิดทองหลังพระ 

 

 แต่ทุกวันนี้คนปิดทองหลังพระเหล่านี้ 

ไม่ เคยคาดหวังแปรเปลี่ยนผลการกระทำของตนเองเป็นผลประโยชน์ทางการเมืองแต่อย่างใ ด 

ไม่เคยต้องการไปเป็น สส. หรือสว. ด้วยการทับถมจับผิดให้ร้ายผู้อื่น 

กลัวแต่ว่าเมื่อไรที่เกิดความพลาด พลั้งหรือเข้าใจผิดในการสื่อความหมาย 

จะทำให้ตนเองถูกใส่ร้ายวาดภาพ ให้เป็นฆาตกรโรคจิตในชุดขาวอย่างที่เสกสรรปั้นแต่ งในfacebook 

 

คน ที่ผลักดันกม.นี้เริ่มแรกก็กล่าวอ้างว่า 

เห็นอกเห็นใจบุคลากรสาธารณ สุขจึงผลักดันกม.นี้มาให้ 

ต่อเมื่อบุคลากรปฏิเสธก็เปลี่ยนแนวทาง เพื่อหาเสียงสนันสนุนใหม่ว่า 

หากใครไม่เห็นด้วยกับร่างกม.นี้แสดงว่า ใจดำไม่เห็นใจผู้ป่วยเหมือนกลุ่มผู้ผลัก ดัน 

พยายามผลักผู้คัดค้าน ให้กลายเป็นศัตรูกับคนไทยทั้งประเทศ 

 

ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้ที่โดนกล่าวหาว่า “ใจดำ ไม่มีหัวใจมนุษย์ 

ไม่มีจิต อาสา” สุดแท้จะสรรหาคำพูดสะเทือนใจมาบรรยาย 

คือคนที่กำลังทำหน้าที่ ช่วยชีวิตคนไทยรวมทั้งญาติ พี่น้อง 

เพื่อนฝูงของกลุ่มผู้ผลักดันเช่น กัน 

แม้แต่เวลาที่ผู้อ่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่ 

เขาเหล่า นั้นก็กำลังก้มหน้าก้มตาช่วยชีวิตผู้ป่วยอยู่ไม่ว่าจะในสถานพยาบาลแห่ง ใดก็ตาม 

ไม่มีเวลามาโต้เถียงด้วย 

ซึ่งอานิสงส์ผลบุญนี้น่าจะ ส่งต่อไปถึงญาติพี่น้องของผู้ป่วยเหล่านั้นอีกหลายล้ านคน 

ผลบุญ เหล่านี้น่าจะลบล้างคำว่าใจดำได้บ้างไม่มากก็น้อย 

 

การกล่าว อ้างว่าบุคลากรเกือบทั้งหมดเห็นด้วยกับร่างกม.นี้และเห็นว่ากม.นี้คือย าวิเศษที่จะช่วยลดความพิการความตายของผู้ป่วยได้ 

การพิสูจน์เรื่อง นี้ทำไม่ยากเลย 

แค่คุณสารีเดินเข้าร่วมรายการสดเวทีประชาพิจารณ์ของ บุคลากรสาธารณสุข 

และตอบคำถามทุกรายมาตราอย่างเปิดเผยไม่เบี่ยง ประเด็น ไม่นอกเรื่อง 

ก็จะได้คำตอบโดนใจเป็นแน่นอน 

 

ประเด็น กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกฎหมายนี้มาแต่ต้นแล้วทำไมจึงมาคัดค้านเอาตอนนี้ 

คุณ สารีก็ใช้เทคนิคเดิม ๆ คือ พูดความจริงแต่เสี้ยวที่ให้ประโยชน์กับตน 

การ มีส่วนร่วมนั้นหมายความได้ทั้ง ให้ความเห็น วิจารณ์ สนับสนุน หรือคัดค้าน 

หลาย ประเด็นก็เห็นด้วยกับกฎหมายนี้โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องเยียวยาผู้ที่ได้รับผล กระทบจากระบบสาธารณสุขที่เต็มไปด้วยความไม่พร้อม 

หนักกว่านั้นคือยัง คัดค้านว่าต้องนำคนผิดที่กระทำไม่ดีต่อผู้ป่วยมาลงโทษ 

มิใช่ไม่ พิสูจน์อะไรเลย ปล่อยให้ไปกระทำผิดเรื่อย ๆ 

การมีส่วนร่วมยังรวมถึง การคัดค้านมาตราที่เห็นว่าจะส่งผลเสียหายต่อชีวิตผู้ป่ว ย 

ดังกล่าว 

 

 แต่ สุดท้ายก็ไม่อาจทัดทานกำลังภายในของคุณสารีที่ไปล็อบบี้สารพัดนักการเมืองภา ยใต้นามมูลนิธิ 

ภายใต้คำว่า “ภาคประชาชน” “ผู้บริโภค” 

รวม ทั้งการสรุปกฎหมายภายใต้การทุบโต๊ะของกฤษฎีกาในขณะนั้น 

ความจริง กฤษฎีกาก็ไม่ได้เห็นด้วยกับคุณสารีในทุกเรื่องโดยเฉพาะวันที่ประธานต้อ งสั่งให้เงียบเพราะคุณสารียืนยันว่าให้ตั้งกองทุนจ่ายเงินมาง่าย 

ๆ มาก ๆ เร็ว ๆ ไม่ต้องมีการพูดคุยไมต้องประนีประนอมไม่ต้องไกล่เกลี่ย 

คุณ สารียังจำได้หรือไม่ วันนั้นทำเอาบรรยากาศมืดทะมึนทันที 

 

ใน ทางศาสนาพุทธเรื่องบางเรื่องเป็น “ปัจจัตตัง” 

ดังนั้นการพิสูจน์ว่า กม.นี้ดีหนักหนาเป็นยาวิเศษหรือไม่ 

การพิสูจน์ความเห็นอกเห็นใจจริง ต่อบุคลากรทำได้ง่ายมาก 

เพียงคุณสารีถอดหัวโขนตำแหน่งในมูลนิธิและ สารพัดองค์กรที่นั่งอยู่และกลับมาสวม ชุดพยาบาลอันศักดิ์สิทธิ์ 

เพื่อ มาช่วยเพื่อนพ้องพยาบาลที่เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของคุณสารี(?)ซึ่งตรากตรำ ทำงานในโรงพยาบาลทั่วประเทศโดยไม่เคยได้โอกาสออกสื่อหรือมีชื่อเสียงแบบที่ คุณส ารีมี 

 

ทั้ง ๆ ที่เพื่อน ๆ คุณสารีสร้างข่าวดีอยู่ตลอด ๓๖๕ 

วันโดยการช่วยชีวิตคนนับหมื่นนับแสนนับล้าน แต่ไม่มีโอกาสได้เป็นข่าวดัง ๆ ดี ๆ 

(ยกเว้นข่าวร้าย ๆ 

ที่จะ ได้กลิ่นเร็วเป็นพิเศษและพร้อมใจกันขยายความให้เหมือนไฟลามทุ่งโดยปราศจาก การตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอ) 

เชื่อแน่ว่ามีหลายแห่งยินดีต้อน รับเพราะเสียดายในความรู้พยาบาลอันสามารถของคุณ สารีอย่างมาก 

 

ลอง ดูสักสองสามปีในห้องฉุกเฉินที่ไหนก็ได้ 

แล้วค่อยตอบตนเองว่าร่างก ม.นี้ดีจริงหรือ แก้ปัญหาที่กล่าวอ้างมาได้จริงหรือไม่ 

หากดีจริงก็ อยู่เป็นพยาบาลต่อเพื่อช่วยเหลือ “ผู้เสียหาย” 

ที่คุณสารีรยกมาใช้ กล่าวอ้างเสมอ ๆ 

น่าจะได้บุญมากกว่าการทำงานในสายอื่นที่คุณสารี เลือกเดินอยู่ และอย่าลืมผลักดัน 

“ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการ กระทำขององค์กร....” 

 

โดยให้มีเนื้อหาแบบเดียวกับร่างกม.นี้ เช่น 

กำหนดนิยามให้ผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวหรือการกระทำของ..... เป็น 

“ความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก” 

ตั้งกองทุนที่ อนุญาตให้นำเงินหลักหมื่นล้านบาทต่อปีไปบริหารกันเอง ๑๐% 

เงินเหลือ ซึ่งเป็นภาษีประชาชนไม่ต้องส่งคืนคลัง 

แต่ให้กรรมการกอดเก็บไว้กับ ตัวเพื่อยกยอดไปใช้บริหารกันต่อในปีถัดไปทุกปี 

 

ใครอยากได้ เงินก็อ้างว่า 

“เกิดความเสียหาย”เพื่อจะได้ไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูกแล้ว มีโอกาสได้เงินหลักล้านโด ยไม่คำนึงว่านี่คือเงินภาษีของคนส่วนน้อยของประเทศที่เขาจ่ายมาให้รัฐเพื่อ พัฒน าประเทศ 

พัฒนาระบบสาธารณสุข ซื้อเครื่องมือดี ๆ ยามีคุณภาพ มารักษาเขาและญาติ 

มิใช่มาไล่แจกแบบquick cash 

กรรมการที่ ตัดสินให้เงินก็ไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่ตัดสินเพราะใช้อารมณ์ควา มเห็นอกเห็นใจเป็นหลัก 

หากจ่ายเงินล่าช้าให้ปรับ ๒๔%ต่อปี 

 

พร้อม ยึดทรัพย์องค์กรหรือบุคคลได้  จ่ายสินไหมแล้วฟ้องแพ่งต่อได้ 

ฟ้อง แล้วไม่มีจ่ายก็ยึดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องฟ้องศาลล้มละลายกลาง 

อายุความ ฟ้องแพ่งก็ขยายแบบสมานฉันท์ไม่มีกำหนดอายุความทางอ้อมโดยใช้คำว่า 

“ทันที ที่รู้ตัวว่าเสียหาย”ประนีประนอมทำสัญญาเสร็จก็เปลี่ยนใจฟ้องใหม่ได้เรื่ อย 

ๆ  ฟ้องแพ่งไม่พอก็ฟ้องอาญาโทษฐานพยายามช่วยผู้อื่นแล้วล้มเหลว(ประมาท)ต่อ ได้ 

ฟ้องแพ่งแล้วแพ้ในชั้นศาลก็กลับมาขอรับเงินจากกองทุนนี้ได้อีก 

 

หาก ไม่อยากโดนโทษอาญาก็รีบจ่ายเงินฟ้องแพ่ง(โดยที่ผู้จ่ายก็ไม่รู้ว่าตนทำผิดหร ือไม่ 

เพราะไม่พิสูจน์ผิดถูก)ก่อนที่ศาลจะพิพากษาอาญา 

(ซึ่ง ไม่ต่างอะไรจากการเรียกเก็บเงินค่าคุ้มครองของพวกมาเฟีย) 

รับเงินไป แล้วเป็นสิบปีก็หวนมารับใหม่ได้อีกในมูลเหตุเดิมโดยอ้างว่าเพิ่งรู้ว่ าเกิดความเสียหาย 

(และหากพิสูจน์ไม่ได้เพราะมันนานมากแล้ว 

ก็ ยกประโยชน์ว่าเป็นผู้เสียหายและให้จ่ายเงินได้อีก) 

 

กรรมการ สรรหาชั่วคราวก็ล็อกสเปคโดยตั้งคนจากองค์กรเฉพาะกลุ่มถึง ๖ ใน ๑๑ 

มา สรรหากรรมการถาวร 

อ่านไปอ่านมายิ่งสัปสนว่ากม.นี้กำลังจะออกในประเทศ ประชาธิปไตยหรือประเทศในโซนแ ดงกันแน่ 

 

ถึงตอนนี้คุณสารีคง รู้แล้วว่าร่างกม.นี้ก็ไม่ต่างกับร่างกม.ที่ส่งเสริมค่านิยม เงินเป็นใหญ่และสนับสนุนให้อกตัญญูต่อบุคลากรที่พยายามช่วยชีวิตคนทางอ้อม นั่นเ อง 

ยิ่งหากออกเพราะการผลักดันของพรรคการเมืองใด 

พรรค การเมืองนั้นคงได้ตราบาปไปชั่วลูกชั่วหลานของพรรคนั้น 

อันเป็นแรงส่ง จากผลบาปของการส่งเสริมค่านิยมอกตัญญูและการทำร้ายชีวิตคนทางอ้อม

 

คุณ สารีเน้นย้ำให้สภาผู้แทนราษฎรตัดสินใจเดินหน้าเกี่ยวกับกฎหมาย 

ปาณา ติปาตาและอกตัญญู ฉบับนี้(เพราะนายกรัฐมนตรีบอกใบ้ให้ทราบ) ที่ผ่านมา สส. 

สว. นักกฎหมาย ทนายความ หรืออาจารย์ทางกฎหมายบางท่าน 

ที่ยอมสละเวลามา นั่งอ่านกฎหมายก่อนให้ความเห็น(มิใช่ให้ความเห็นก่อนอ่าน) 

อ่านแบบ ทั้งฉบับ และ หลาย ๆ รอบ อ่านจนสามารถผนวกมาตราทุกมาตราเข้าด้วยกัน 

จะ เกิดดวงตาเห็นธรรม ว่าขืนผลักดันกม.ที่มีหน้าตาแบบนี้ต่อไป 

คงต้องไป ลงนรกอเวจีฐาน “ปาณาติปาตา เวระมณี” แน่นอน 

 

 เพราะร่างก ม.ฉบับนี้เป็นร่างที่บังคับให้ บุคลากรสาธารณสุขทั้งประเทศ 

ทอดทิ้ง ผู้ป่วย 

เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะหยุดก่อความเสียหายตามความเข้าใจแบบ มิจฉาทิฐิของผู้ผลั กดัน

ร่างกม.นี้จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ 

ปล่อย ให้ผู้ป่วยตายไปต่อหน้าต่อตาหรือผลักให้ผู้ป่วยไปตายบนรถส่งต่อหรือโรงพยา บาลอื่นจะได้ไม่เกิดความเสียหายที่ตนเองเป็นมีสิทธิถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ ก่อ 

 

อย่าลืมว่า“ผู้ไม่เคยผิดพลาดคือผู้ไม่เคยทำอะไรเลย” 

คน ป่วยจำนวนมากจะตายด้วยกฎหมายนี้เพราะบุคลากรกลัวว่า 

ตนจะเป็นผู้ก่อ การร้ายที่เที่ยวไปก่อความเสียหายตามนัยของกฎหมายนี้ 

แถมยังมีศาล เตี้ยที่เต็มไปด้วยบุคคลที่ทำงานด้วยปากในการรักษาผู้ป่วย 

พร้อมกับ บุคคลที่ในชีวิตเคยเป็นแต่ผู้ป่วยแต่ไม่เคยรักษาคน 

มานั่งลับมีดรอ เชือดโดยอาศัยเสียงข้างมากลากไป ไม่สนใจผิดถูก ไม่ต้องมีคำว่า 

“มาตรฐาน ทางการแพทย์” 

 

อย่าลืมว่า การผลักดันกม.นี้ยิ่งกว่าการผิดศีลข้อ ๑ 

เพราะเพียงแค่ปีแรกที่ กม.นี้มีผลบังคับใช้จะมีหลายแสนชีวิตที่ตายไปจากมิจฉาทิฐ ิของการผลักดันกม.นี้แบบหน้ามืดตามัว 

โดยอาศัยเงินเป็นตัวล่อ 

บาป กรรมจะไปตกอยู่ที่ผู้ผลักดันและผู้ยกมือสนับสนุนร่างกม.นี้ 

หนักบ้าง น้อยบ้าง ก็แล้วแต่ว่าจะรู้เท่าถึงการณ์ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 

 

ถึง ตอนนี้บรรดาสส. สว.ที่ต้องยกมือโหวต 

เพื่อให้กม.นี้เข้าสภาไปแก้กัน ต่อ(แต่อย่าหวังว่าจะแก้เนื้อหาอันตรายทั้งหมดนั ้นได้ 

เพราะการแก้ ทั้งหมดเพื่อมิให้ไปตกอยู่ในอบายภูมิคือการคว่ำกฎหมายนี้นี่เอง) 

หาก ได้อ่านแล้วก็ต้องเรียกว่ารู้เท่าถึงการณ์ 

และรอดูว่าเขาเหล่านั้น พร้อมใจจะไปอยู่ในอบายภูมิตามคำเชิญชวนหรือไม่ 

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แล้ว ความในใจของ ปชช. ผู้เป็นเจ้าของสังคมนี้ คนอื่น ๆ ละ ครับ

หลาย ครั้งการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านกลายเป็นสงครามหลังสงคราม ไม่จบสิ้น กลายเป็นบาดแผลของผู้ต่อสู้

ด้วย การใช้คำพูดแรง ๆ  การฟ้องร้องแจ้งความที่ไม่สมเหตุสมผล ทำเหมือนพวกนักการเมือง

 

ตกลง ชาวบ้านเขาไม่รู้จริง ๆ ว่า ทำไมต้องสนับสนุน ทำไมหมอถึงไม่เอาด้วย

ส่วน นักการเมืองคงตอบว่าไม่รู้ไม่ได้ว่าทำไมถึงไม่ บรรจุ พรบ. เข้าสภา ฯ

แล้วจะ มีกระบวนการอะไรเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันหรือไม่

หรือ จะปล่อยให้เกิดสงครามระหว่างหมอกับคนไข้ไปเรื่อย ๆ 

เหมือน ในลิเบียที่เอาฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านมาชนกันเอง

 

ถ้า อย่างนี้ไม่ต้องมี สส. ก็ได้

คำสำคัญ (Tags): #ข่าว
หมายเลขบันทึก: 430145เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2011 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท